Announcements

แนวทางการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในบทความวิจัย

ตามที่ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ได้จัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ขึ้นเพื่อรับพิจารณารับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ให้กับโครงการวิจัยของนักวิจัยภายในสมาคมและนักวิจัยภายนอก ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป บทความวิจัยทั้งหมดที่จะส่งเข้ามารับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารของสมาคม จึงจะต้องให้ความสำคัญ และดำเนินการวิจัยให้เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ อย่างเคร่งครัด

บทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกชิ้น ควรได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ บทความเหล่านั้นจะต้องระบุรายละเอียดของการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ได้แก่ ชื่อของหน่วยงานและคณะกรรมการที่ให้การรับรอง และหมายเลขใบรับรอง สำหรับบทความวิจัยที่ไม่ได้ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาก่อน ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขของการยกเว้นให้ไม่ต้องขอรับการรับรอง และวิธีปฏิบัติที่ผู้วิจัยได้ใช้เพื่อให้การวิจัยนั้นเป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์ ให้ชัดเจนด้วย รายละเอียดทั้งหมดเหล่านี้ ทั้งในกรณีที่ได้รับการรับรองและไม่ได้รับการรับรอง ให้ระบุไว้ในหัวข้อ วิธีการวิจัย

บรรณาธิการอาจพิจารณาและตัดสินใจปฏิเสธบทความวิจัยใดๆ ก็ตามที่ไม่ระบุรายละเอียดดังกล่าว โดยเฉพาะบทความวิจัยที่อาจไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

  • TISR 2024 Peer Review Metrics

    2024-10-16

    ตั้งแต่การส่งบทความถึงการแจ้งผลการพิจารณาครั้งแรก: ต้นฉบับได้รับการตรวจสอบโดยกองบรรณาธิการ ประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และกองบรรณาธิการส่งผลการพิจารณาครั้งแรกกลับไปยังผู้เขียน เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพตามข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) รวมถึงจัดรูปแบบตามที่วารสารกำหนด ใช้ระยะเวลาประมาณ 21.77 วัน

     

    ตั้งแต่การแจ้งผลการพิจารณาครั้งแรกถึงการตอบรับ: ผู้เขียนดำเนินการปรับปรุงคุณภาพของบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และจัดรูปแบบตามที่วารสารกำหนด จนครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานของวารสาร รวมถึงได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ ใช้ระยะเวลาประมาณ 21.73 วัน

     

    ตั้งแต่การตอบรับถึงการตีพิมพ์เผยแพร่: กระบวนการผลิตภายหลังจากที่บทความได้รับการตอบรับแล้ว จนถึงการตีพิมพ์เผยแพร่ ใช้ระยะเวลาประมาณ 12.06 วัน

     

    ประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองบรรณาธิการของ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ในรอบปี 2567 ถือว่าดีขึ้นมากจากปีก่อนหน้า จากเดิมที่เคยใช้เวลาตลอดกระบวนการ ตั้งแต่การส่งบทความถึงการตีพิมพ์เผยแพร่ นานถึง 204.29 วัน ลดลงเหลือเพียง 55.56 วัน อย่างไรก็ดี กองบรรณาธิการมุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายของกองบรรณาธิการเช่นนี้ (ตั้งแต่การส่งบทความถึงการตอบรับ ใช้เวลาไม่เกินกว่า 45 วัน) รวมถึงค่อยๆ ลดระยะเวลาลง โดยเริ่มจากขั้นตอนการพิจารณาบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เหลือเพียงไม่เกิน 14 วันในปี 2570

    Read more about TISR 2024 Peer Review Metrics
  • เปลี่ยนรูปแบบการเรียงลำดับบทความ จาก “เลขหน้าของบทความ” เป็น “เลขที่ของบทความ”

    2024-10-12

    เพื่อรองรับกับปริมาณบทความที่เพิ่มขึ้นของวารสารภายใต้ความรับผิดชอบของ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ สมาคมฯ จึงตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการเรียงลำดับบทความของวารสารทุกรายการ (AISR, ACSR, APSR, AAMR, AELR และ TISR) จาก “เลขหน้าของบทความ” เป็น “เลขที่ของบทความ” เช่นเดียวกับที่ใช้ในกรณีของ Procedia of Multidisciplinary Research (PMR) โดยเริ่มตั้งแต่ ฉบับที่ 1 ของปี 2568 เป็นต้นไป

     

    ทั้งนี้ วิธีการเขียนข้อมูลการอ้างอิงบทความตามรูปแบบของ สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association-APA) พิมพ์ครั้งที่ 7 เป็นดังนี้

    ข้อมูลการอ้างอิง: ปิยะดา มณีนิล และ สัสดี กำแพงดี. (2568). การวิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปในสามจังหวัดชายแดนใต้. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 14(1), บทความที่ 1. https://doi.org/10.14456/tisr.2025.1

    Citation Information: Maneenin, P., & Kamphaengdee, S. (2025). Factor Analysis of Community Enterprises Producing Processed Agricultural Products in the Three Southern Border Provinces. Thai Interdisciplinary and Sustainability Review, 14(1), Article 1. https://doi.org/10.14456/tisr.2025.1

    การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาหรือแบบในวงเล็บ (Parenthetical Citation): (ปิยะดา มณีนิล และ สัสดี กำแพงดี, 2568) / (Maneenin & Kamphaengdee, 2025)

    การอ้างอิงแบบเชิงบรรยาย (Narrative Citation): ปิยะดา มณีนิล และ สัสดี กำแพงดี (2568) / Maneenin & Kamphaengdee (2025)

     

    ที่มา: APA Style - Journal Article References (https://apastyle.apa.org/style-grammar-guidelines/references/examples/journal-article-references#2)

    Read more about เปลี่ยนรูปแบบการเรียงลำดับบทความ จาก “เลขหน้าของบทความ” เป็น “เลขที่ของบทความ”
  • ประกาศรางวัลบทความดีเด่น (Best Paper Award) ประจำปี 2567

    2024-10-08

    กองบรรณาธิการ มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศ รางวัลบทความดีเด่น (Best Paper Award) ประจำปี 2567 ของ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย แก่ ชัยณัฐ สุรพิชญ์พงศ์, ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา และ ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ สำหรับบทความ เรื่อง “การพัฒนากลยุทธ์เชิงบวกในการจัดการตนเองเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทางสุขภาวะตามแนวชีวิตวิถีใหม่ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน” ซึ่งลงตีพิมพ์ในปีที่ 13 ฉบับที่ 1

    Read more about ประกาศรางวัลบทความดีเด่น (Best Paper Award) ประจำปี 2567
  • บรรณาธิการชวนอ่าน สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (ก.ย. - ธ.ค. 2567)

    2024-10-08

    กองบรรณาธิการมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศว่า บทความต่อไปนี้ได้รับการคัดเลือกให้เป็น บรรณาธิการชวนอ่าน ประจำฉบับ

    ชื่อบทความ: อะไรคือสิ่งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอยากรู้เกี่ยวกับตัวผู้ที่จะเข้ามาบริหารเมืองหลวงและมีผลในการตัดสินใจของพวกเขา: บทเรียนจากประเทศไทย

    ผู้เขียน:​ นวพร วงษ์สุวรรณ, กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ, วิทยาธร ท่อแก้ว และ กานต์ บุญศิริ

    เข้าถึงได้ที่:​ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/280429

    Read more about บรรณาธิการชวนอ่าน สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (ก.ย. - ธ.ค. 2567)
  • TISR Scopus CiteScore / TCI Impact Factor 2566 (Q3)

    2024-10-04

    สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ให้ความสำคัญกับการชี้วัดคุณภาพของวารสารผ่านการให้ความยอมรับ และนำบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้วในวารสารไปอ้างอิง เพื่อต่อยอดองค์ความรู้โดยแวดวงวิชาการ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย จึงเฝ้าติดตามจำนวนครั้งที่บทความของมันถูกนำไปอ้างอิงโดยบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารซึ่งดัชนีในฐานข้อมูลทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

    ในรอบปี 2563-2566 บทความที่ตีพิมพ์ใน สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ถูกนำไปอ้างอิงในวารสารซึ่งดัชนีใน Scopus รวม 17 ครั้ง ขณะที่ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ตีพิมพ์บทความในห้วงเวลาเดียวกันรวม 104 บทความ CiteScore ของมันประจำปี 2566 จึงเท่ากับ 0.16 ทั้งนี้ ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 ตัวติดตาม CiteScore ประจำปี 2567 (ไตรมาสที่ 3) มีแนวโน้มลดลงเป็น 0.15

    ในรอบปี 2565-2566 บทความที่ตีพิมพ์ใน สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ถูกนำไปอ้างอิงในวารสารซึ่งดัชนีใน TCI รวม 144 ครั้ง ขณะที่ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ตีพิมพ์บทความในห้วงเวลาเดียวกันรวม 84 บทความ IF ของมันประจำปี 2566 จึงเท่ากับ 1.71 ทั้งนี้ ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 ตัวติดตาม IF ประจำปี 2567 (ไตรมาสที่ 3) มีแนวโน้มลดลงเป็น 1.31

    Read more about TISR Scopus CiteScore / TCI Impact Factor 2566 (Q3)
  • TISR Scopus CiteScore / TCI Impact Factor 2566

    2024-07-01

    สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ให้ความสำคัญกับการชี้วัดคุณภาพของวารสารผ่านการให้ความยอมรับ และนำบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้วในวารสารไปอ้างอิง เพื่อต่อยอดองค์ความรู้โดยแวดวงวิชาการ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย จึงเฝ้าติดตามจำนวนครั้งที่บทความของมันถูกนำไปอ้างอิงโดยบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารซึ่งดัชนีในฐานข้อมูลทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

    ในรอบปี 2563-2566 บทความที่ตีพิมพ์ใน สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ถูกนำไปอ้างอิงในวารสารซึ่งดัชนีใน Scopus รวม 17 ครั้ง ขณะที่ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ตีพิมพ์บทความในห้วงเวลาเดียวกันรวม 104 บทความ CiteScore ของมันประจำปี 2566 จึงเท่ากับ 0.16 ทั้งนี้ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ตัวติดตาม CiteScore ประจำปี 2567 มีแนวโน้มลดลงเป็น 0.13

    ในรอบปี 2565-2566 บทความที่ตีพิมพ์ใน สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ถูกนำไปอ้างอิงในวารสารซึ่งดัชนีใน TCI รวม 61 ครั้ง ขณะที่ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ตีพิมพ์บทความในห้วงเวลาเดียวกันรวม 84 บทความ IF ของมันประจำปี 2566 จึงเท่ากับ 0.73 ทั้งนี้ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ตัวติดตาม IF ประจำปี 2567 มีแนวโน้มลดลงเป็น 0.41

    Read more about TISR Scopus CiteScore / TCI Impact Factor 2566
  • บรรณาธิการชวนอ่าน สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มิ.ย. 2567)

    2024-06-06

    กองบรรณาธิการมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศว่า บทความต่อไปนี้ได้รับการคัดเลือกให้เป็น บรรณาธิการชวนอ่าน ประจำฉบับ

    ชื่อบทความ: การพัฒนากลยุทธ์เชิงบวกในการจัดการตนเองเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทางสุขภาวะตามแนวชีวิตวิถีใหม่ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

    ผู้เขียน:​ ชัยณัฐ สุรพิชญ์พงศ์, ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา และ ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์

    เข้าถึงได้ที่:​ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/275691

    Read more about บรรณาธิการชวนอ่าน สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มิ.ย. 2567)
  • อัตราการตอบรับ/ปฏิเสธบทความ ประจำปี 2566

    2024-03-25

    ด้วยเหตุที่อัตราการตอบรับ/การปฏิเสธบทความเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่ได้รับความนิยมนำมาประกอบการพิจารณาคุณภาพของวารสาร กองบรรณาธิการของ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย (TISR) ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญของความโปร่งใสในการดำเนินการจัดพิมพ์วารสาร จึงรวบรวม วิเคราะห์ และเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป ในรอบปี 2566 มีบทความส่งเข้ามารับการพิจารณาทั้งสิ้น 43 บทความ บทความที่ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์มีจำนวน 37 บทความ บทความที่ถูกปฏิเสธจำนวน 6 บทความ ดังนั้น อัตราการตอบรับบทความของ TISR ประจำปี 2566 จึงเท่ากับ ร้อยละ 86.05

    Read more about อัตราการตอบรับ/ปฏิเสธบทความ ประจำปี 2566
  • แนวทางการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในบทความวิจัย

    2024-02-17

    ตามที่ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ได้จัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ขึ้นเพื่อรับพิจารณารับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ให้กับโครงการวิจัยของนักวิจัยภายในสมาคมและนักวิจัยภายนอก ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป บทความวิจัยทั้งหมดที่จะส่งเข้ามารับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารของสมาคม จึงจะต้องให้ความสำคัญ และดำเนินการวิจัยให้เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ อย่างเคร่งครัด

    บทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกชิ้น ควรได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ บทความเหล่านั้นจะต้องระบุรายละเอียดของการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ได้แก่ ชื่อของหน่วยงานและคณะกรรมการที่ให้การรับรอง และหมายเลขใบรับรอง สำหรับบทความวิจัยที่ไม่ได้ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาก่อน ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขของการยกเว้นให้ไม่ต้องขอรับการรับรอง และวิธีปฏิบัติที่ผู้วิจัยได้ใช้เพื่อให้การวิจัยนั้นเป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์ ให้ชัดเจนด้วย รายละเอียดทั้งหมดเหล่านี้ ทั้งในกรณีที่ได้รับการรับรองและไม่ได้รับการรับรอง ให้ระบุไว้ในหัวข้อ วิธีการวิจัย

    บรรณาธิการอาจพิจารณาและตัดสินใจปฏิเสธบทความวิจัยใดๆ ก็ตามที่ไม่ระบุรายละเอียดดังกล่าว โดยเฉพาะบทความวิจัยที่อาจไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

    Read more about แนวทางการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในบทความวิจัย
  • ประกาศรางวัลบทความดีเด่น (Best Paper Award) ประจำปี 2566

    2024-02-01

    กองบรรณาธิการ มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศ รางวัลบทความดีเด่น (Best Paper Award) ประจำปี 2566 ของ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย แก่ ธีรพล วินิจวัฒนโกมล และ สุวรรณี แสงมหาชัย สำหรับบทความ เรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการจัดการนวัตกรรม ในองค์การภาครัฐไทย” ซึ่งลงตีพิมพ์ในปีที่ 12 ฉบับที่ 1

    Read more about ประกาศรางวัลบทความดีเด่น (Best Paper Award) ประจำปี 2566
  • TISR 2023 Peer Review Metrics

    2024-01-25

    ตั้งแต่การส่งบทความถึงการแจ้งผลการพิจารณาครั้งแรก: ต้นฉบับได้รับการตรวจสอบโดยกองบรรณาธิการ ประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และกองบรรณาธิการส่งผลการพิจารณาครั้งแรกกลับไปยังผู้เขียน เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพตามข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) รวมถึงจัดรูปแบบตามที่วารสารกำหนด ใช้ระยะเวลาประมาณ 37.94 วัน

    ตั้งแต่การแจ้งผลการพิจารณาครั้งแรกถึงการตอบรับ: ผู้เขียนดำเนินการปรับปรุงคุณภาพของบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และจัดรูปแบบตามที่วารสารกำหนด จนครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานของวารสาร รวมถึงได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ ใช้ระยะเวลาประมาณ 99.88 วัน

    ตั้งแต่การตอบรับถึงการตีพิมพ์เผยแพร่: กระบวนการผลิตภายหลังจากที่บทความได้รับการตอบรับแล้ว จนถึงการตีพิมพ์เผยแพร่ ใช้ระยะเวลาประมาณ 66.5 วัน

    ประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองบรรณาธิการของ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ในรอบปี 2566 ถือว่าตกลงไปจากปีก่อนหน้าค่อนข้างมาก จากเดิมที่เคยใช้เวลาตลอดกระบวนการ ตั้งแต่การส่งบทความถึงการตีพิมพ์เผยแพร่ เพียง 99.49 วัน เพิ่มขึ้นเป็น 204.29 วัน กองบรรณาธิการจึงกำหนดเป้าหมายที่จะลดระยะเวลาในขั้นตอนที่สอง คือตั้งแต่การแจ้งผลการพิจารณาครั้งแรกถึงการตอบรับ ให้ลดลงเหลือภายใน 30 วันเท่านั้น

    Read more about TISR 2023 Peer Review Metrics
  • บรรณาธิการชวนอ่าน สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (ก.ค. - ธ.ค. 2566)

    2023-12-07

    กองบรรณาธิการมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศว่า บทความต่อไปนี้ได้รับการคัดเลือกให้เป็น บรรณาธิการชวนอ่าน ประจำฉบับ

    ชื่อบทความ: องค์ประกอบและลักษณะของทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย ที่มีภาวะออทิสติก

    ผู้เขียน:​ ชลธิดา ศรภักดี, อัจศรา ประเสริฐสิน และ นริสรา พึ่งโพธิ์สภ

    เข้าถึงได้ที่:​ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/267650

    Read more about บรรณาธิการชวนอ่าน สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (ก.ค. - ธ.ค. 2566)
  • TISR 2022 Peer Review Metrics

    2023-11-24

    ตั้งแต่การส่งบทความถึงการแจ้งผลการพิจารณาครั้งแรก: ต้นฉบับได้รับการตรวจสอบโดยกองบรรณาธิการ ประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และกองบรรณาธิการส่งผลการพิจารณาครั้งแรกกลับไปยังผู้เขียน เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพตามข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) รวมถึงจัดรูปแบบตามที่วารสารกำหนด ใช้ระยะเวลาประมาณ 23.26 วัน

    ตั้งแต่การแจ้งผลการพิจารณาครั้งแรกถึงการตอบรับ: ผู้เขียนดำเนินการปรับปรุงคุณภาพของบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และจัดรูปแบบตามที่วารสารกำหนด จนครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานของวารสาร รวมถึงได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ ใช้ระยะเวลาประมาณ 42.34 วัน

    ตั้งแต่การตอบรับถึงการตีพิมพ์เผยแพร่: กระบวนการผลิตภายหลังจากที่บทความได้รับการตอบรับแล้ว จนถึงการตีพิมพ์เผยแพร่ ใช้ระยะเวลาประมาณ 33.86 วัน

    สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงกระบวนการการทำงานในอนาคตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยตั้งใจที่จะทำให้ระยะเวลาตั้งแต่การส่งบทความถึงการตอบรับ ลดลงจากประมาณ 65.60 วัน ในปี 2565 เหลือภายใน 50 วัน ให้ใกล้เคียงกับนโยบายของกองบรรณาธิการที่พยายามจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเพียง 45 วัน โดยจะพยายามเร่งรัดการปรับปรุงแก้ไขบทความโดยผู้เขียน ให้เหลือไม่เกิน 20 วัน และกระบวนการผลิต ให้เหลือไม่เกิน 30 วัน

    Read more about TISR 2022 Peer Review Metrics
  • วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา จะเปลี่ยนชื่อเป็น สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ตั้งแต่ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2566)

    2023-10-11

    เพื่อปรับปรุงขอบข่ายของ วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นตามนโยบายของฐานข้อมูลต่างๆ สอดคล้องกับความสนใจของแวดวงวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านมากที่สุด กองบรรณาธิการจึงตัดสินใจที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย (Thai Interdisciplinary and Sustainability Review) ตั้งแต่ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2566)

    ภายใต้ชื่อใหม่นี้ วารสารจะให้ความสนใจกับบทความวิจัยและบทความปริทรรศน์ในเชิงสหวิทยาการ ซึ่งเกี่ยวกับประเทศไทย รวมถึงการเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ตลอดจนมีจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับความยั่งยืนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    Read more about วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา จะเปลี่ยนชื่อเป็น สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ตั้งแต่ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2566)
  • บรรณาธิการชวนอ่าน วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มิ.ย. 2566)

    2023-09-09

    กองบรรณาธิการมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศว่า บทความต่อไปนี้ได้รับการคัดเลือกให้เป็น บรรณาธิการชวนอ่าน ประจำฉบับ

    ชื่อบทความ: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการจัดการนวัตกรรมในองค์การภาครัฐไทย

    ผู้เขียน:​ ธีรพล วินิจวัฒนโกมล และ สุวรรณี แสงมหาชัย

    เข้าถึงได้ที่:​ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/266478

    JIRGS.jpeg

    Read more about บรรณาธิการชวนอ่าน วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มิ.ย. 2566)
  • ประกาศ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย เรื่อง "การประเมินด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI พ.ศ.2566"

    2023-07-25

    ตามที่ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ออกประกาศเรื่อง "การประเมินด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI พ.ศ. 2566" กองบรรณาธิการของ วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา จึงขอประกาศให้ทุกท่านทราบดังนี้

    1) การดำเนินงานของกองบรรณาธิการของ วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา ให้ความสำคัญและเป็นไปตามกรอบของประกาศฉบับนี้อยู่แล้วแทบทุกประการ

    2) เพื่อให้เป็นไปตามตามกรอบดังกล่าวโดยสมบูรณ์ วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา ตัดสินใจยกเลิกบริการ การพิจารณาแบบเร่งด่วน โดยทันที

    เอกสารดาวน์โหลด: https://tci-thailand.org/?p=10478

    Read more about ประกาศ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย เรื่อง "การประเมินด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI พ.ศ.2566"
  • บริษัท ที่ปรึกษากฎหมาย ธุรกิจ และการวิจัย ไวท์ ไทเกอร์ จำกัด จะเข้ามาเป็นหน่วยงานจัดพิมพ์ร่วมของ วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา

    2023-05-18

    เพื่อรองรับการขยายตัวของจำนวนบทความที่ส่งเข้ามารับการพิจารณาเผยแพร่ใน วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา และสร้างความเข้มแข็งให้กับวารสารสำหรับการประเมินเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูลต่างๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ บริษัท ที่ปรึกษากฎหมาย ธุรกิจ และการวิจัย ไวท์ ไทเกอร์ จำกัด จึงจะเข้ามาเป็นหน่วยงานจัดพิมพ์ร่วม (Co-publisher) ของ วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป

    Read more about บริษัท ที่ปรึกษากฎหมาย ธุรกิจ และการวิจัย ไวท์ ไทเกอร์ จำกัด จะเข้ามาเป็นหน่วยงานจัดพิมพ์ร่วมของ วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา
  • บรรณาธิการชวนอ่าน วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (ก.ค. - ธ.ค. 2565)

    2023-03-31

    กองบรรณาธิการมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศว่า บทความต่อไปนี้ได้รับการคัดเลือกให้เป็น บรรณาธิการชวนอ่าน ประจำฉบับ

    ชื่อบทความ: ​ขีดความสามารถภาวะผู้นำที่รับผิดชอบที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสีเขียวของพนักงาน

    ผู้เขียน:​ พรชัย ศักดานุวัฒน์วงศ์

    เข้าถึงได้ที่:​ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/262254

    UzErw8.jpeg

    Read more about บรรณาธิการชวนอ่าน วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (ก.ค. - ธ.ค. 2565)
  • ประกาศรางวัลบทความดีเด่น (Best Paper Award) ประจำปี 2565

    2023-01-09

    กองบรรณาธิการ มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศ รางวัลบทความดีเด่น (Best Paper Award) ประจำปี 2565 ของ วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา แก่ วิทยา นีติธรรม, สุพัตรา แผนวิชิต, วรรณวิภา เมืองถ้ำ สำหรับบทความ เรื่อง “ข้อพิจารณาตามกรอบประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย” ซึ่งลงตีพิมพ์ในปีที่ 11 ฉบับที่ 2

    Read more about ประกาศรางวัลบทความดีเด่น (Best Paper Award) ประจำปี 2565
  • กระบวนการพิจารณาแบบเปิด คืออะไร ?

    2022-09-07

    ทุกท่านอาจทราบดีแล้วว่าวารสารทั้ง 6 ฉบับ ของสมาคมฯ ได้เปลี่ยนรูปแบบการประเมินคุณภาพบทความจาก ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-Blind Peer Review) มาเป็นแบบเปิด (Open Peer Review) ตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ระบบใหม่นี้ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางนัก โดยเฉพาะในในประเทศไทย จึงทำให้หลายคนที่ยังไม่คุ้นชินเกิดความสงสัยขึ้น ดังนั้น กองบรรณาธิการจึงขอรวบรวมบทความและวีดีโอที่สำนักพิมพ์ใหญ่ๆ ทั่วโลก ได้จัดทำและเผยแพร่ไว้แล้วมาให้ได้อ่านเพื่อทำความเข้าใจกัน

    Read more about กระบวนการพิจารณาแบบเปิด คืออะไร ?
  • วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา ได้รับการดัชนีใน TCI กลุ่มที่ 1

    2022-07-01

    วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา ได้รับผลการประเมินคุณภาพวารสารใหม่เข้าสู่ฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 ประจำปี 2565 โดย วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา ผ่านการรับรองคุณภาพ และได้รับการตอบรับให้ดัชนีในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2565 ไปจนถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2567

    กองบรรณาธิการขอขอบพระคุณบรรณาธิการบริหาร สมาชิกกองบรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เขียนบทความทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนและมีส่วนในความสำเร็จนี้ของเรา

    Read more about วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา ได้รับการดัชนีใน TCI กลุ่มที่ 1
  • ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    2022-07-01

    เพื่อให้การดำเนินการจัดพิมพ์วารสารวิชาการของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นไปอย่างยั่งยืน สมาคมฯ จึงขอประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในวารสารทั้ง 6 ฉบับของสมาคมฯ ประจำปี 2565 ดังนี้

    Read more about ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จะเข้ามาเป็นหน่วยงานจัดพิมพ์ร่วม และคณบดีจะเข้ามาเป็นบรรณาธิการร่วม ของ วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา

    2022-04-29

    เพื่อรองรับการขยายตัวของจำนวนบทความที่ส่งเข้ามารับการพิจารณาเผยแพร่ใน วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา และสร้างความเข้มแข็งให้กับวารสารสำหรับการประเมินเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูลต่างๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จึงจะเข้ามาเป็นหน่วยงานจัดพิมพ์ร่วม (Co-publisher) และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา บูรณเดชาชัย ในฐานะคณบดี จะเข้ามาเป็นบรรณาธิการร่วม (Co-editor) ของ วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป

    Read more about คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จะเข้ามาเป็นหน่วยงานจัดพิมพ์ร่วม และคณบดีจะเข้ามาเป็นบรรณาธิการร่วม ของ วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา
  • วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา จะเปลี่ยนรูปแบบการพิจารณาบทความไปเป็นแบบเปิด ตั้งแต่ กรกฎาคม 2565:

    2022-04-05

    มุมมองเกี่ยวกับกระบวนการการพิจารณาบทความ ได้เปลี่ยนจากการปิดบังชื่อระหว่างผู้เขียนบทความและผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่พิจารณาบทความ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดอคติ มาสู่ความโปร่งใส เพื่อให้สมาชิกของชุมชนทางวิชาการสามารถร่วมกันตรวจสอบกระบวนการดังกล่าวได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงพบว่าสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงในระดับโลกหลายแห่ง เช่น Springer Nature, Frontiers, MDPI และ BMJ ได้เปลี่ยนรูปแบบการพิจารณาบทความ จากแบบดั้งเดิม อาทิ ผู้ทรงคุณวุฒิทราบชื่อผู้แต่ง แต่ผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Single Blind Peer Review) หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Peer Review) มาเป็นแบบเปิด (Open Peer Review) ที่ทุกฝ่ายต่างทราบชื่อของกันและกันตลอดกระบวนการ

    ดังนั้น เพื่อให้กระบวนการประเมินคุณภาพบทความของ วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กองบรรณาธิการจึงตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการพิจารณาบทความที่จะส่งเข้ามาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของเรา เป็นแบบเปิด นับตั้งแต่ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565) เป็นต้นไป ซึ่งหมายความว่า ชื่อของบรรณาธิการผู้รับผิดชอบบทความ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แต่ง จะถูกเปิดเผยต่อกันตลอดกระบวนการ นอกจากนี้ ชื่อของบรรณาธิการผู้รับผิดชอบบทความ และผู้ทรงคุณวุฒิ จะถูกระบุไว้ในบทความเมื่อมันได้รับการตีพิมพ์แล้วด้วย

    Read more about วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา จะเปลี่ยนรูปแบบการพิจารณาบทความไปเป็นแบบเปิด ตั้งแต่ กรกฎาคม 2565:
  • JIRGS 2021 Peer Review Metrics

    2022-03-17

    ตั้งแต่การส่งบทความถึงการตอบรับ: ต้นฉบับได้รับการตรวจสอบโดยกองบรรณาธิการ ประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และได้รับการตอบรับภายหลังการปรับปรุงคุณภาพตามข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) รวมถึงจัดรูปแบบตามที่วารสารกำหนด ใช้ระยะเวลาประมาณ 57.6 วันหลังจากการส่ง

    ตั้งแต่การตอบรับถึงการเผยแพร่: การเผยแพร่จะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 8.3 วันหลังการตอบรับ

    *** วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงกระบวนการพิจารณาในปี 2565 ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยตั้งใจที่จะทำให้ระยะเวลาตั้งแต่การส่งบทความถึงการตอบรับ ลดลงเหลือภายใน 27 วัน และระยะเวลาตั้งแต่การตอบรับถึงตีพิมพ์ เหลือเพียง 3 วัน

    Read more about JIRGS 2021 Peer Review Metrics
  • ประกาศรางวัลบทความดีเด่น (Best Paper Award) ประจำปี 2564

    2022-02-21

    กองบรรณาธิการ มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศ รางวัลบทความดีเด่น (Best Paper Award) ประจำปี 2564 ของ วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา แก่ ปริญญา สิริอัตตะกุล และ นภัส ลิ่มอรุณ สำหรับบทความ เรื่อง “พฤติกรรมก้าวร้าวในวัยรุ่นตอนปลาย: การประยุกต์ใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง” ซึ่งลงตีพิมพ์ในปีที่ 10 ฉบับที่ 2

    Read more about ประกาศรางวัลบทความดีเด่น (Best Paper Award) ประจำปี 2564