จริยธรรมในการเผยแพร่ผลงานและถ้อยแถลงว่าด้วยความประพฤติมิชอบ
(แนวทางเหล่านี้ยึดตามแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่ของ Committee on Publication Ethics - COPE)
ความรับผิดชอบของบรรณาธิการ
การตัดสินใจตีพิมพ์ บรรณาธิการ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย มีหน้าที่ในการตัดสินใจว่าบทความใดที่สมควรได้รับการตีพิมพ์ โดยบรรณาธิการอาจถือปฏิบัติตามนโยบายของกองบรรณาธิการวารสารและอยู่ภายใต้ข้อบังคับทางกฎหมาย หากมีการกระทำผิดข้อบังคับ เช่น การหมิ่นประมาท การละเมิดลิขสิทธิ์ และการลอกเลียนข้อความผู้อื่น เป็นต้น บรรณาธิการอาจปรึกษากับสมาชิกกองบรรณาธิการท่านอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินใจต่อไป
ความยุติธรรม บรรณาธิการจะประเมินต้นฉบับเฉพาะเนื้อหาทางวิชาการ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศสภาพ เพศวิถี ลัทธิความเชื่อ ชาติภูมิ ความเป็นพลเมือง หรือความเห็นทางการเมืองของผู้ประพันธ์
การรักษาความลับ บรรณาธิการและสมาชิกกองบรรณาธิการจะไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับต้นฉบับที่ส่งมายังวารสารกับผู้หนึ่งผู้ใดนอกจากผู้ประสานงานบทความ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ที่อาจเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ และผู้พิมพ์เผยแพร่ ตามความเหมาะสม
การเปิดเผยข้อมูลและผลประโยชน์ทับซ้อน เนื้อหาส่วนที่ไม่ได้ตีพิมพ์ซึ่งปรากฏในต้นฉบับที่ถูกส่งมาจะไม่ถูกใช้ในงานวิจัยของบรรณาธิการโดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรของผู้ประพันธ์
ความรับผิดชอบของผู้ทรงคุณวุฒิ
ส่วนร่วมในการตัดสินใจของกองบรรณาธิการ พิชญ์พิจารณ์ (Peer Review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีหน้าที่ช่วยบรรณาธิการในการตัดสินใจ (ว่าควรตีพิมพ์บทความหรือไม่) และช่วยในการสื่อสารของสมาชิกกองบรรณาธิการกับผู้ประพันธ์ อีกทั้งช่วยผู้ประพันธ์ในการพัฒนาคุณภาพบทความ
การประเมินบทความตามกำหนดเวลา ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการคัดเลือกและรู้สึกว่าตนขาดคุณสมบัติในการประเมินงานวิจัยตามที่ปรากฏในต้นฉบับ หรือรู้ว่าไม่สามารถประเมินได้ตามกำหนดเวลา ควรแจ้งบรรณาธิการให้ทราบและขอถอนตัวออกจากกระบวนการประเมิน
การรักษาความลับ ต้นฉบับที่ได้รับเพื่อการประเมินจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นเอกสารลับ ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ควรแสดงบทความหรืออภิปรายพูดคุยเกี่ยวบทความที่ได้ประเมินกับผู้อื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการ
มาตรฐานความเที่ยงธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิควรประเมินบทความด้วยความเที่ยงธรรม การวิพากษ์วิจารณ์โดยพึงพอใจส่วนตัวถือว่าไม่เหมาะสม ผู้ประเมินควรแสดงความเห็นของตนอย่างชัดเจนโดยอธิบายและให้เหตุผลสนับสนุนว่าทำไมตนจึงเห็นเช่นนั้น
การแจ้งแหล่งที่มา ผู้ทรงคุณวุฒิควรระบุในความเห็นถึงงานตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งบทความไม่ได้กล่าวถึง ข้อความใดๆ ที่กล่าวถึง มีเค้าโครง หรือโต้แย้งงานที่ตีพิมพ์แล้วนั้นควรบอกถึงแหล่งที่มาด้วย ผู้ประเมินควรแจ้งต่อบรรณาธิการหากพิจารณาพบส่วนที่คล้ายคลึงอย่างมีนัยยะสำคัญหรือทับซ้อนกับบทความที่อยู่ในการพิจารณาและงานตีพิมพ์อื่นใดซึ่งได้รับทราบโดยส่วนตน
การเปิดเผยข้อมูลและผลประโยชน์ทับซ้อน ข้อมูลพิเศษหรือข้อคิดเห็นที่ได้รับจากการพิชญ์พิจารณ์จะถูกเก็บเป็นความลับและจะไม่ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ควรประเมินต้นฉบับซึ่งตนมีผลประโยชน์ทับซ้อนทั้งจากการแข่งขัน ความร่วมมือ หรือความสัมพันธ์อื่นใด หรือความเชื่อมโยงกับผู้ประพันธ์ บริษัท หรือสถาบันใดๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับชิ้นงานนั้นๆ
ความรับผิดชอบของผู้ประพันธ์
มาตรฐานการรายงาน ผู้ประพันธ์บทความจากงานวิจัยควรนำเสนอเนื้อหาที่ถูกต้องของงานที่ทำ รวมทั้งการอภิปรายผลอย่างเป็นกลางเกี่ยวกับความสำคัญของการวิจัย ข้อมูลพื้นฐานควรถูกนำเสนออย่างถูกต้องในรายงาน รายงานควรมีรายละเอียดและการอ้างอิงมากพอให้ผู้อื่นสามารถทำวิจัยซ้ำได้ การเผยแพร่ข้อมูลเท็จหรือข้อมูลที่หยั่งรู้ได้ว่าไม่ถูกต้องเป็นพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรมและยอมรับไม่ได้
การเข้าถึงข้อมูลและการเก็บรักษาข้อมูล วารสารอาจขอให้ผู้เขียนส่งมอบข้อมูลดิบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความเพื่อใช้ในการตรวจสอบของสมาชิกกองบรรณาธิการ และผู้ประพันธ์ควรเตรียมพร้อมที่จะอนุญาตการเข้าถึงจากสาธารณะ หากทำได้ และควรเตรียมพร้อมในการเก็บข้อมูลของการวิจัยดังกล่าวไว้ชั่วระยะเวลาตามสมควรหลังจากตีพิมพ์บทความแล้ว
การเป็นผลงานต้นฉบับและการลอกเลียนผลงาน ผู้ประพันธ์ควนตรวจสอบให้แน่ใจว่าตนได้เขียนงานต้นฉบับทั้งหมด และหากผู้ประพันธ์ได้ใช้ผลงานและ/หรือคำพูดของผู้อื่นท่ี่ได้มีการอ้างอิงหรือยกมาอย่างเหมาะสม
การตีพิมพ์ผลงานในหลายวารสาร ตีพิพม์ซ้ำซ้อน หรือตีพิมพ์พร้อมกัน โดยทั่วไป ผู้ประพันธ์ไม่ควรตีพิมพ์หลายต้นฉบับซึ่งบรรยายงานวิจัยเดียวกันมากกว่าในหนึ่งวารสารหรือหนึ่งสิ่งพิมพ์หลัก การยื่นต้นฉบับเดียวกันให้มากกว่าหนึ่งวารสารพร้อมกันเป็นพฤติกรรมการตีพิมพ์ที่ผิดจริยธรรมและยอมรับไม่ได้
การแจ้งแหล่งที่มา ผู้ประพันธ์ต้องแสดงการยอมรับอย่างเหมาะสมในเนื้องานของผู้อื่นเสมอ ผู้ประพันธ์ควรอ้างอิงสิ่งพิมพ์ที่มีผลต่อการกำหนดทิศทางของงานที่รายงาน
บทบาทผู้ประพันธ์ของบทความ รายชื่อผู้ประพันธ์ควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญในการคิดหัวข้อวิจัย ออกแบบ ดำเนินการ หรือแปลผลการวิจัย ทุกคนซึ่งมีส่วนร่วมอย่างสำคัญควรได้รับการระบุชื่อว่าเป็นผู้ประพันธ์ร่วม เมื่อมีบุคคลอื่นซึ่งมีส่วนร่วมในแง่มุมที่มีนัยยะสำคัญของโครงการวิจัย บุคคลเหล่านั้นควรได้รับการยอมรับและได้รับการระบุชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนร่วม ผู้ประพันธ์บรรณกิจควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ประพันธ์ร่วมที่เหมาะสมทุกท่านมีชื่อปรากฏในบทความและไม่ปรากฏชื่อบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง และผู้ประพันธ์ร่วมทุกท่านได้อ่านและรับรองบทความฉบับสุดท้ายและยินยอมให้มีการส่งบทความมาเพื่อตีพิมพ์
อันตรายและการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ หากงานวิจัยเกี่ยวข้องกับสารเคมี ขั้นตอน หรืออุปกรณ์ที่มีอันตรายผิดปกติจากการใช้งาน ผู้ประพันธ์ต้องระบุสิ่งเหล่านี้อย่างชัดเจนในต้นฉบับ
การเปิดเผยข้อมูลและผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้ประพันธ์ทุกท่านต้องเปิดเผยผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเงินหรือทางอื่นใดซึ่งอาจมีผลต่อผลการวิจัยหรือการแปลผลการวิจัย แหล่งที่มาของการสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการวิจัยต้องถูกเปิดเผย
การพบข้อผิดพลาดที่สำคัญในงานตีพิมพ์ เมื่อผู้ประพันธ์พบความผิดพลาดที่มีความสำคัญหรือพบความไม่ถูกต้องในงานที่ตีพิมพ์ไปแล้ว ผู้ประพันธ์มีหน้าที่แจ้งต่อบรรณาธิการวารสารหรือผู้ตีพิมพ์และร่วมมือกับบรรณาธิการเพื่อให้ปรับแก้หรือแก้ไขบทความ
แนวทางคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์และสัตว์
การคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์ การวิจัยที่เกี่ยวกับมนุษย์ต้องดำเนินการตามคำประกาศเฮลซิงกิ ของแพทยสมาคมโลก บทความต้นฉบับทั้งหมดต้องระบุหมายเลขอนุมัติของคณะกรรมการพิจารณาของสถาบัน ระบุวิธีการวิจัยที่เกี่ยวข้อง และระบุชื่อเต็มของคณะกรรมพิจารณาของสถาบัน ในกรณีรายกรณีหรือชุดกรณี ความยินยอมในการใช้ข้อมูลผู้ป่วยหรือรูปภาพ ต้องแสดงอย่างชัดเจนในความยินยอมที่ได้รับสำหรับตัวแทนที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
การเลี้ยงและการใช้สัตว์ในการวิจัย งานวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมที่ทำการศึกษา ต้นฉบับที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดโดยไม่จำเป็น ความทุกข์ ความทรมาน หรืออันตรายถาวรต่อสัตว์ บรรณาธิการมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธต้นฉบับบนพื้นฐานของจริยธรรมหรือสวัสดิภาพที่เกี่ยวข้อง
ตั้งแต่ปี 2562 การทดลองทางคลินิกทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงสุขภาวะในการวิจัยในมนุษย์ ที่ส่งมายังวารสาร ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับหนึ่งในผู้รับจดทะเบียนหลักในเครือข่ายการขึ้นทะเบียนขององค์การอนามัยโลก (http://www.who.int/ictrp/network/primary/en) หรือใน ClinicalTrials.gov ก่อนการเข้าร่วมของผู้ป่วยคนแรก การลงทะเบียนต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนของการลงทะเบียนทดลองขั้นต่ำ 20 รายการ (https://prsinfo.clinicaltrials.gov/trainTrainer/WHO-ICMJE-ClinTrialsgov-Cross-Ref.pdf)
เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ (AI) และความเป็นผู้เขียน
คำชี้แจงจุดยืนของสมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ร่วมกับองค์กรต่างๆ เช่น COPE, World Association of Medical Editors (WAME) และ Journal of the American Medical Association (JAMA) Network เป็นต้น เพื่อระบุว่าเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไม่สามารถระบุเป็นผู้เขียนบทความได้
เครื่องมือ AI ไม่สามารถตอบสนองข้อกำหนดสำหรับความเป็นผู้เขียนได้ เนื่องจากไม่สามารถรับผิดชอบต่อผลงานที่ส่งมาได้ เนื่องจากไม่ใช่บุคคล/นิติบุคคล จึงไม่สามารถยืนยันถึงการมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของผลประโยชน์ทับซ้อน หรือจัดการข้อตกลงลิขสิทธิ์และใบอนุญาตได้
ผู้เขียนที่ใช้เครื่องมือ AI ในการเขียนต้นฉบับ การผลิตภาพหรือองค์ประกอบกราฟิกของบทความ หรือในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จะต้องมีความโปร่งใสในการเปิดเผยในหัวข้อ วิธีการวิจัย (หรือหัวข้อที่คล้ายคลึงกัน) ของบทความ ว่ามีการใช้เครื่องมือ AI อย่างไรและใช้เครื่องมือใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบเนื้อหาในต้นฉบับของตนเองโดยสมบูรณ์ แม้แต่ส่วนที่ผลิตโดยเครื่องมือ AI และด้วยเหตุนี้จึงต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ใดๆ
หลักการสำคัญในการใช้ปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ (Generative AI) การเขียนบทความส่วนใดส่วนหนึ่งโดยใช้เครื่องมือ Generative AI / โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) จะไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงการสร้างบทคัดย่อหรือการทบทวนวรรณกรรม เนื่องจากตามเกณฑ์การประพันธ์ของวารสาร ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อผลงานและต้องรับผิดชอบต่อความถูกต้อง ความสมบูรณ์ และความเที่ยงตรงของผลงาน อย่างไรก็ตาม สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติทางวิชาการมาตรฐาน วารสารอนุญาตให้ใช้ตัวอย่างของ Generative AI เพื่อวัตถุประสงค์ในการอธิบายประกอบเป็นส่วนหนึ่งของการวิจารณ์และการอภิปรายทางวิชาการ ยกเว้นรูปภาพที่สร้างโดยเครื่องมือ AI หรือโมเดล Generative ขนาดใหญ่ ตัวอย่างเหล่านี้จะต้องทำเครื่องหมายไว้ในข้อความอย่างเหมาะสม และต้องอ้างอิงอย่างสมบูรณ์ตามข้อกำหนดการจัดรูปแบบ
การสร้างหรือรายงานผลลัพธ์โดยใช้เครื่องมือ Generative AI / LLM ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากตามเกณฑ์การประพันธ์ของวารสาร ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อการสร้างและตีความผลงานของตน และต้องรับผิดชอบต่อความถูกต้อง ความสมบูรณ์ และความเที่ยงตรงของผลงาน
การรายงานสถิติในเนื้อหาโดยใช้เครื่องมือ Generative AI / LLM ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากข้อกังวลเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ และความเที่ยงตรงของข้อมูลที่สร้างขึ้น ถึงแม้ว่าการใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อช่วยในการวิเคราะห์งานจะได้รับอนุญาตก็ตาม
การแก้ไขต้นฉบับบทความโดยใช้เครื่องมือ Generative AI / LLM เพื่อปรับปรุงภาษาจะได้รับอนุญาต เนื่องจากการทำเช่นนี้จะสะท้อนถึงเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้อยู่แล้วในการปรับปรุงการสะกดคำและไวยากรณ์ และใช้เนื้อหาที่มีอยู่แล้วที่ผู้เขียนสร้างขึ้น แทนที่จะสร้างเนื้อหาใหม่ทั้งหมด ในขณะที่ผู้เขียนยังคงรับผิดชอบต่องานต้นฉบับ
ไม่อนุญาตให้ส่งและเผยแพร่รูปภาพที่สร้างโดยเครื่องมือ Generative AI หรือ LLM