สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS <p><em>วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา</em> (e-ISSN: 2730-3616) เป็นวารสารซึ่งจัดพิมพ์ในภาษาไทย โดยสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อเป็นพื้นที่ในการเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย รวมถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดความเห็น ตลอดจนเป็นแหล่งค้นคว้าระดับบัณฑิตศึกษาในระดับนานาชาติ ที่น่าเชื่อถือและมีความเป็นปัจจุบัน ในเชิงสหวิทยาการ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งมีรูปแบบการกลั่นกรองบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ท่าน ก่อนลงตีพิมพ์ แบบผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ มีกำหนดปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</p> บริษัท ที่ปรึกษากฎหมาย ธุรกิจ และการวิจัย ไวท์ ไทเกอร์ จำกัด th-TH สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย 2286-7252 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ของบุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/276347 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ของบุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจดังกล่าวจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรุงเทพมหานคร จำนวน 74 คน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรุงเทพมหานคร มีระดับความรู้ความเข้าใจที่มีต่อพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่มี อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และระยะการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดที่แตกต่างกัน จึงมีข้อเสนอแนะให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ควรมีการสร้างและจัดทำสื่อ การจัดอบรมเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประมวลกฎหมายให้กับบุคคลากรในสำนักงานอย่างสม่ำเสมอ โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สามารถนำผลการศึกษานี้ มาจัดทำเป็นสื่อทางวิชาการ ตามเรื่องที่บุคคลากรยังมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่เพียงพอได้</p> สุทธินัย หยกอุบล ศรีรัฐ โกวงศ์ Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-05-31 2024-05-31 13 2 1 11 10.14456/tisr.2024.18 แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการชำระภาษี ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/276482 <p>สถานการณ์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการทำการค้าซื้อขายบนโลกออนไลน์อยู่เป็นจำนวนมากและมีมูลค่าทางการตลาดสูงตามไปด้วย การเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนี้ก่อเกิดปัญหาที่ผู้ประกอบการไม่ได้เข้ามาอยู่ในระบบการเสียภาษีของกรมสรรพากร และการจัดเก็บภาษีของภาครัฐไม่ได้ตามเป้าหมายทั้งยังพบปัญหาในชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ว่ามีการยื่นแบบซับซ้อนก่อให้เกิดความล่าช้า ทั้งผู้ประกอบการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบยื่นแบบและขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายภาษี และแรงจูงใจในการชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งความไม่พร้อมของคุณภาพระบบการชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลต่อความตั้งใจชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์และการยื่นชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นเพื่อลดปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว จึงได้ออกแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้ามาสนับสนุนระบบการทำงานให้ดียิ่งขึ้นไม่เพียงแต่อำนวยความสะดวกกับบุคลากรในองค์กรเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนทุกคนและผู้ประกอบการทุกภาคส่วนเพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจทำธุรกรรมภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจรพร้อมทั้งสามารถเตรียมความพร้อมและรองรับระบบ e-Tax ของกรมสรรพากรได้เต็มรูปแบบนำไปสู่การตรวจสอบข้อมูลภาษีผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วยตนเอง ยังทำให้ระบบการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรเกิดประสิทธิภาพ มีความถูกต้องครบถ้วนอีกด้วย</p> ดวงกมล ดุจดารา กัลยาภรณ์ ปานมะเริง Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-01 2024-06-01 13 2 12 20 10.14456/tisr.2024.19 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา ปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ ในกรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/277605 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภูมิหลังกับคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจในกรุงเทพมหานคร จำนวน 228 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้เครื่องมือวัดแบบมาตรประเมินรวมค่าตัวแปร จำนวน 7 ชุด แบบวัดทั้งหมดมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าระหว่าง 0.74-0.82 ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการอยู่ระหว่าง 0.317 ถึง 0.829 และ 2) ชุดทำนายคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการสามารถทำนายกลุ่มรวมได้ร้อยละ 60.34 โดยพบตัวทำนายสำคัญตามลำดับ ได้แก่ ความต้องการประสบความสำเร็จ ความมั่นใจในตนเอง ความอดทนต่อความไม่ชัดเจน การกล้าเสี่ยง การควบคุมตน ในส่วนท้ายผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรีเพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับใช้ต่อไป</p> ชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา บุณย์ญาพร บุญเมฆ หทัยรัตน์ เลิศจรรยากิจ อังคณา ผิวละออ Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-01 2024-06-01 13 2 21 31 10.14456/tisr.2024.20 ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถภาพการวิจัยของอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ของกองทัพ: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/277666 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถภาพการวิจัยของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของกองทัพ โดยประยุกต์ใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ตัวอย่างของการวิจัย คือ อาจารย์ประจำในสถาบันการศึกษาของกองทัพ ได้แก่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนเสนาธิการทหารบก วิทยาลัยการทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัดสมรรถภาพการวิจัย และปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถภาพการวิจัย สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเบ้ ค่าโด่ง และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า สมรรถภาพการวิจัยของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของกองทัพได้รับอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากความเป็นนักวิจัยมากที่สุด เมื่อพิจารณาอิทธิพลทางอ้อม พบว่าคุณลักษณะสถาบันที่เอื้อต่อการทำวิจัยมีอิทธิพลทางอ้อมต่อสมรรถภาพการวิจัยผ่านทางความเป็นนักวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนคุณลักษณะสถาบันที่เอื้อต่อการทำวิจัยมีอิทธิพลทางตรงต่อความเป็นนักวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> ศมานันทน์ รัตนศิริวิไล Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-01 2024-06-01 13 2 32 45 10.14456/tisr.2024.21 บทบาทของคณะกรรมการตรวจสอบกับผลการดำเนินงานของกิจการ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/277732 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความรู้จากการทบทวนวรรณกรรมบทบาทของคณะกรรมการตรวจสอบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่ออธิบายถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเฉพาะในโลกธุรกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คณะกรรมการตรวจสอบมีบทบาทสำคัญต่อการผลการดำเนินงานขององค์กร การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานขององค์กรเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้ข้อมูลทางการเงิน เสริมสร้างระบบการควบคุมภายใน ส่งเสริมธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ตรวจสอบการทำงานของผู้สอบบัญชี และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทและผู้มีส่วนได้เสีย ดังนั้นคุณลักษณะของคณะกรรมการตรวจสอบจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยกรรมการในการตัดสินใจในการจัดโครงสร้างคณะกรรมการตรวจสอบในลักษณะที่จะพัฒนาประสิทธิผลและส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานโดยรวม</p> นงลักษณ์ ผุดเผือก สุรีย์ โบษกรนัฏ Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-06 2024-06-06 13 2 46 54 10.14456/tisr.2024.22 แนวทางการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ: การกู้เงินออนไลน์นอกระบบ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/277789 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและพฤติกรรมของการกู้เงินออนไลน์นอกระบบที่ผิดกฎหมาย 2) ศึกษาถึงปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการกู้เงินออนไลน์นอกระบบที่ผิดกฎหมาย และ 3) ศึกษาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ ที่เกี่ยวข้องกับการกู้เงินออนไลน์นอกระบบที่ผิดกฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุมผู้ปล่อยเงินกู้ออนไลน์นอกระบบหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการป้องกันปราบปรามเงินกู้ออนไลน์นอกระบบ 2) ผู้ปล่อยเงินกู้ออนไลน์นออกระบบ ซึ่งถูกพิพากษาถึงทีสุดและพ้นโทษแล้ว และ 3) ผู้เสียหายจากการกู้เงินออนไลน์นอกระบบ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงรูปแบบและพฤติกรรมของการกู้เงินออนไลน์นอกระบบ 5 ประการ ดังนี้ 1) การปล่อยกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป 2) ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ไม่ชัดเจน 3) การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เหมาะสม 4) การล่อลวงและการปลอมแปลง และ 5) การไม่สนใจความสำคัญของการรับรู้ความเสี่ยง อีกทั้งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับปรุงกฎหมายและการกำกับดูแลเพื่อสร้างมาตรการที่เข้มข้นในการจัดการกับการกู้เงินออนไลน์นอกระบบ นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีในการตรวจจับและป้องกันอาชญากรรมทางเศรษฐกิจแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการเพิ่มความปลอดภัยของผู้ใช้งาน การศึกษาและการเพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงและวิธีการป้องกันตัวเองจากการถูกหลอกลวงหรือเป็นเหยื่อของการกู้ยืมที่เป็นอันตรายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูล</p> พันธุ์พิศณ์ วัชรินทร์พร อุนิษา เลิศโตมรสกุล Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-06 2024-06-06 13 2 55 65 10.14456/tisr.2024.23 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/276792 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อม จากการสำรวจความต้องการของผู้บริโภค จำนวน 100 คน พบว่า แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคต้องการ คือ ขนาดเนื้อว่านหางจระเข้ขนาด 1.5-2 เซนติเมตร บรรจุในภาชนะขนาด 5 ออนซ์ และใช้กลิ่นรสแอปเปิ้ลเขียว และพิจารณาใช้สีเขียวแอปเปิ้ลเพื่อใช้ศึกษาร่วมกับการแต่งสีและกลิ่น จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อม และนำไปวิเคราะห์ทางกายภาพ พบว่า เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อมแต่ละสูตรที่พัฒนาขึ้นไม่ส่งผลต่อค่าความสว่าง (L*) ของผลิตภัณฑ์ แต่เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของน้ำตาลสูงขึ้นส่งผลให้ค่าความเป็นสีแดง (a*) ของเนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชิ่อมเพิ่มสูงขึ้น และสูตรที่ได้รับการยอมรับสูงที่สุด คือ เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อมที่มีสัดส่วนน้ำตาล : กรดซิตริก : น้ำเปล่า คือ 60 : 0.5 : 39.5 (ชอบปานกลางถึงชอบมาก) และเมื่อศึกษาการแต่งสีและกลิ่น พบว่า การแต่งสีและกลิ่นส่งผลให้เกิดความชอบของผลิตภัณฑ์สูงยิ่งขึ้น โดยสูตรที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคสูงที่สุด คือ สีเขียวแอปเปิ้ลเจือจาง 100 เท่า ร้อยละ 2 ร่วมกับกลิ่นแอปเปิ้ลเขียวร้อยละ 0.01 (ชอบปานกลางถึงชอบมาก) มีอายุการเก็บรักษา 60 วัน โดยมีคะแนนความชอบอยู่ในระดับชอบปานกลางถึงชอบมาก</p> อรรถ ขันสี อัศพงษ์ อุประวรรณา สังวาลย์ ชมภูจา จรรยา โท๊ะนาบุตร Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-20 2024-06-20 13 2 66 78 10.14456/tisr.2024.24 มาตรวัดการรับรู้แหล่งของสาเหตุการเป็นอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/278418 <p>งานวิจัยนี้มุ่งตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรวัดการรับรู้แหล่งของสาเหตุการเป็นอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกในประเทศไทย สะท้อนแรงจูงใจทั้งภายนอกและภายในของอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก จากมุมมองของทฤษฎีกำหนดตนเอง จำแนกมิติของแรงจูงใจออกเป็น 5 ประเภท คือ ไม่มีแรงจูงใจ การกำกับจากภายนอก การกำกับจากพลังกดดัน การกำกับการตระหนักรู้ตัวตน และแรงจูงใจภายใน การสำรวจรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 214 ที่เป็นอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกในจังหวัดนนทบุรี ประยุกต์มาตรวัดการรับรู้แหล่งของแรงจูงใจสาเหตุจากงานวิจัยต่างประเทศ ผลการวิจัยสรุปว่า มาตรวัดการรับรู้แหล่งของสาเหตุการเป็นอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก มีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยมีความเชื่อมั่นขององค์ประกอบ ความเที่ยงตรงเชิงลู่เข้า ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ผ่านเล็กน้อย อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากค่าความเชื่อมั่นขององค์ประกอบ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ และความสอดคล้องเชิงทฤษฎีจึงสรุปว่า มาตรวัดมีความเที่ยงตรงเชิงลู่เข้าที่ยอมรับได้ แต่โมเดลไม่กลมกลืนกับข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ โดยตัวแปรการกำกับจากภายนอกและการกำกับจากพลังกดดัน สามารถอธิบายการรับรู้แหล่งของสาเหตุการเป็นอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกได้มากกว่าแรงจูงใจภายใน</p> สืบวงศ์ กาฬวงศ์ สาธิตา กาฬวงศ์ Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-20 2024-06-20 13 2 79 90 10.14456/tisr.2024.25 เมื่อสองนายกรัฐมนตรีของสยามวิวาทกัน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/278742 <p>“ด้วยคำโบราณว่า ท่านเสนาบดีผู้ใหญ่วิวาทกันเป็นอุบาทว์มักเกิดเหตุใหญ่ต่างๆ” คำกล่าวนี้ทำให้เชื่อได้ว่าความขัดแย้งระหว่างบุคคลสำคัญทางการเมืองอาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของราชอาณาจักรสยาม ในความเป็นจริงแล้วหากศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปก็จะพบว่าในอดีตที่ผ่านมาไม่นานช่วงทศวรรษ 1970-1990 ก็มีเรื่องราววิวาทกันของ “เสนาบดีผู้ใหญ่” ที่นำมาซึ่งความหายนะใหญ่หลวง ตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างเขมรสี่ฝ่ายในยุคที่ถูกเวียดนามยึดครอง (ค.ศ.1978-92) จนถึงกรณีนายกรัฐมนตรีฮุนเซนก่อรัฐประหารต้านนายกรัฐมนตรีรณฤทธิ์ เมื่อ ค.ศ.1997 และถ้าย้อนอดีตกลับไปอีกจนถึงต้นศตวรรษที่ 19 ยุครัชกาลที่ 2 ก็มีเหตุวิวาทกันระหว่างเจ้าพระยามหาเสนา (สมุหพระกลาโหม) กับเจ้าพระยาอภัยภูธร (สมุหนายก) แม้ว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะเกิดขึ้นจากเหตุเล็กน้อยคือขบวนของเสนาบดีผู้ใหญ่ทั้งสองแย่งกันออกประตูรัตนพิศาลลงเรือไปงานพระเมรุจนเกิดเหตุต่อยตีกันในหมู่ผู้ติดตามทั้งสองฝ่าย เหตุวิวาทดังกล่าวนั้นทำให้ทางราชสำนักต้องตั้งคณะตุลาการมาชำระความแต่ก็ดูเหมือนจะไกล่เกลี่ยกันจนเรื่องจบลงได้โดยไม่มีผลร้ายแรง แม้กระนั้นหลังจากนั้นไม่นานพระยาช้างเผือกคู่พระบารมีของรัชกาลที่ 2 ก็ล้มในเวลาไล่เลี่ยกันถึง 2 ช้าง และต่อมาในปีเดียวกันพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็เสด็จสวรรคต ส่วนเจ้าพระยามหาเสนาหนึ่งในคู่กรณีก็อสัญกรรมต่อมาอีกไม่นานในต้นรัชกาลที่ 3</p> โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-20 2024-06-20 13 2 91 106 10.14456/tisr.2024.26 เรื่องเล่าจากผ้าสไบมอญ: การยกระดับการสื่อสารผลิตภัณฑ์ชุมชนมอญคลองสามวา สำหรับผู้ประกอบการสูงวัย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/278196 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการสื่อสารผลิตภัณฑ์ชุมชนมอญคลองสามวาเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้ประกอบการสูงวัย เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คณะผู้วิจัยและนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ 9 คน กลุ่มที่ 2 นักวิจัยชุมชน 8 คน คัดเลือกโดยวิธีการบอกต่อและสมัครใจเข้าร่วม และกลุ่มที่ 3 ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ คัดเลือกโดยวิธีการพูดคุยร่วมกันระหว่างนักวิจัยชุมชน ปราชญ์ชุมชนมอญวัดแป้นทองคลองสามวา สมาชิกชมรมไทยรามัญแป้นทอง และคณะผู้วิจัย การวิจัยครั้งนี้มี “ผลิตภัณฑ์สไบมอญคลองสามวา” เป็นต้นแบบสำหรับการยกระดับการสื่อสารผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้ประกอบการสูงวัย ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยพบว่าการออกแบบเรื่องเล่าโดยเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการเน้นลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสื่อสาร ซึ่งนำไปสู่การผลิตคลิปสั้นเผยแพร่บนช่องทางออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประกอบด้วยเรื่องเล่าจำนวน 2 เรื่อง 4 คลิป เลือกเผยแพร่ผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ ได้แก่ ติ๊กต็อก เพจเฟซบุ๊กของชุมชนแป้นทองสัมพันธ์ และเพจเฟซบุ๊กเยาวชนมอญ ผลลัพธ์จากการสื่อสาร ได้แก่ การสร้างการรับรู้และความสนใจในผลิตภัณฑ์ผ้าสไบมอญ ช่วยกระตุ้นการบอกต่อผลิตภัณฑ์และข้อมูลของชุมชนซึ่งอาจส่งผลทางอ้อมต่อการท่องเที่ยวชุมชนในอนาคต</p> นิษฐา หรุ่นเกษม สิริมณฑ์ พึ่งสังวาลย์ นิศรารัตน์ วิไลลักษณ์ Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-21 2024-06-21 13 2 107 118 10.14456/tisr.2024.27 ผลของคุณภาพการบริการในการให้บริการด้านกีฬาที่มีต่อความพึงพอใจของผู้ชมฟุตบอลไทยลีก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/278912 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการบริการในการให้บริการด้านกีฬาที่มีต่อความพึงพอใจของผู้ชมฟุตบอลไทยลีก เก็บข้อมูลจากผู้ชมในสนามที่ใช้แข่งขันจำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ข้อมูลถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยเชิงพรรณนา ได้แก่ สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิงได้แก่ การถดถอยพหุคูณ ข้อค้นพบจากการวิจัยพบว่าความเป็นรูปธรรม การตอบสนองของบุคลากร ความปลอดภัย คุณภาพของเกมและความสามารถของทีมมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ชมฟุตบอลไทยลีก</p> พรชัย ศักดานุวัฒน์วงศ์ Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-07-01 2024-07-01 13 2 119 128 10.14456/tisr.2024.28 รูปแบบการปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในยุคสื่อสังคมออนไลน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/278553 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชนท้องถิ่น 2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชาชน และ 3) ศึกษารูปแบบการปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือในยุคสื่อสังคมออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชนท้องถิ่นมีการปรับตัวได้รวดเร็วโดยใช้แอปพลิเคชั่นในการนำเสนอภาพ ข้อความ และเสียง ศูนย์ข่าวเครือเนชั่นภาคอีสาน และสำนักประชาสัมพันธ์ เขต 1 ขอนแก่น นำเสนอข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างเป็นระบบและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ 2) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารจากเฟซบุ๊ก ไลน์ ยูทูบ และเว็บไซต์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ใช้เวลาประมาณ 11-30 นาทีต่อครั้ง และใช้สื่อออนไลน์ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน มีการแชร์ข้อมูลข่าวสาร 2 ครั้งต่อวัน เน้นรับรู้ข่าวสารในท้องถิ่น โดยคาดหวังว่าสื่อมวลชนจะนำเสนอข่าวอย่างถูกต้องและเป็นจริง 3) การปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำสื่อออนไลน์มาใช้ในการนำเสนอข่าวที่ปรับตามพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของประชาชน ทำให้สามารถดึงดูดความสนใจและนำเสนอข่าวได้รวดเร็วและถูกต้อง</p> พิสิษฐ์ ชาญเจริญ ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา จำเริญ คังคะศรี นิสากร ยินดีจันทร์ Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-07-01 2024-07-01 13 2 129 140 10.14456/tisr.2024.29 ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสุขภาพจิตเชิงบวกของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีที่มีความหลากหลายทางเพศในมหาวิทยาลัยภาครัฐ กรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/278935 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสุขภาพจิตเชิงบวกของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความหลากหลายทางเพศในมหาวิทยาลัยภาครัฐ กรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความหลากหลายทางเพศ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน ใช้แบบแผนการทดลองแบบแผนการทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีการติดตามผลหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาพจิตเชิงบวกสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและรายองค์ประกอบทุกด้าน และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนสุขภาพจิตเชิงบวกของกลุ่มทดลองในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยคะแนนในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของโปรแกรมในการเสริมสร้างสุขภาพจิตเชิงบวกของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความหลากหลายทางเพศ</p> ชุณิภา เปิดโลกนิมิต สุดารัตน์ ตันติวิวัทน์ ปริญญา สิริอัตตะกุล Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-07-01 2024-07-01 13 2 141 151 10.14456/tisr.2024.30