องค์ประกอบและลักษณะของทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย ที่มีภาวะออทิสติก

ผู้แต่ง

  • ชลธิดา ศรภักดี หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อัจศรา ประเสริฐสิน สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นริสรา พึ่งโพธิ์สภ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2023.4

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดเชิงบริหาร, เด็กปฐมวัย, ภาวะออทิสติก

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะออทิสติก กระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประกอบด้วย 1) ศึกษาองค์ประกอบของทักษะการคิดเชิงบริหารจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะการคิดเชิงบริหาร และสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง พิจารณาคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลโดยเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 ท่าน ที่มีความรู้ความเข้าใจ และมีประสบการณ์ในด้านการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กออทิสติก 2) ศึกษาลักษณะของทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะออทิสติกที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสโนว์บอล และเก็บข้อมูลจากนักวิชาชีพผู้สอนและใกล้ชิดกับเด็ก ผลการวิจัยพบว่าทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะออทิสติกประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1) การยับยั้งควบคุม 2) ความจำขณะทำงาน 3) การยืดหยุ่นทางความคิด 4) การควบคุมอารมณ์ และ 5) การวางแผนจัดการอย่างเป็นระบบ โดยเด็กปฐมวัยที่มีภาวะออทิสติกมีทักษะการคิดเชิงบริหารในระดับต่ำ เนื่องจากเด็กที่มีภาวะออทิสติกมีความบกพร่องทางอารมณ์สังคม ความบกพร่องทางภาษาการสื่อสาร และความบกพร่องทางพฤติกรรมซ้ำๆ ส่งผลให้มีทักษะการคิดเชิงบริหารบกพร่องไปด้วย

References

ฉันทิดา สนิทนราทร เวชมงคลกร. (2561). การพัฒนาโปรแกรมการเล่นบำบัดเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะสมาธิสั้นในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฐาปณีย์ แสงสว่าง. (2559). ความสามารถคิดบริหารจัดการตน: แบบวัดและแนวทางการพัฒนาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณิชา ทัศน์ชาญชัย และ จริยา จุฑาภิสิทธิ์. (2559). กิจกรรมตามวัยเพื่อส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการและการควบคุมตนเอง. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลรามาธิบดี.

ดุษฎี อุปการ. (2560). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเช็กคิวที่ฟฟังก์ชั่นของเด็กอนุบาล. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล. (2545). พัฒนาการบำบัดสำหรับเด็กออทิสติกตามแนวทางป้าหมอเพ็ญแข. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2548). คู่มือออทิสติก สำหรับผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2557). สมองของเด็กพิเศษ: แนวคิดใหม่ในการกระตุ้นกลไกการฟื้นตัวตามธรรมชาติของสมอง. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล, ปนัดา ธนเศรษฐกร และ อรพินท์ เลิศอาวัสดาตระกูล. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2561). การส่งเสริม Executive Function (EF) ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ. สืบค้นจาก www.scbfoundation.com/stocks/75/file/1537246944rvu1x75pdf/เอกสารถอดความการส่งเสริม_EF_ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ.pdf.

เพ็ญแข ลิ่มศิลา. (2541). การวินิจฉัยโรคออทิสซึม. สมุทรปราการ: ช.แสงงามการพิมพ์.

เพ็ญแข ลิ่มศิลา. (2545). เด็กออทิสติกคือใคร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันราชานุกูล. (2557). เด็กออทิสติก คู่มือสำหรับครู. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุภาวดี หาญเมธี. (2558). EF ภูมิคุ้มกันชีวิตและป้องกันยาเสพติด: คู่มือสำหรับครูอนุบาล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊คส์.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2550). ช่วยลูกออทิสติก คู่มือสำหรับพ่อแม่ผู้ไม่ยอมแพ้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ซันต้าการพิมพ์.

Anderson, K., Weimer, M., & Fuhs, M. (2020). Teacher Fidelity to Conscious Discipline and Children’s Executive Function Skills. Early Childhood Research Quarterly, 51, 14-25.

Anderson, V., Anderson, P., Northam, E., Jacobs, R., & Mikiewicz, O. (2002). Relationships between Cognitive and Behavioral Measures of Executive Function in Children with Brain Disease. Child Neuropsychology, 8(4), 231-240.

Baltruschat, L., Hasselhorn, M., Tarbox, J., Dixon, D., Najdowski, A., Mullins, R., & Gould, E. (2011). Addressing Working Memory in Children with Autism Through Behavioral Intervention. Research in Autism Spectrum Disorders, 5(1), 267-276.

Barkley, R. (1997). Behavioral Inhibition, Sustained Attention, and Executive Functions: Constructing a Unifying Theory of ADHD. Psychological Bulletin, 121(1), 65-94.

Berenguer, C., Roselló, B., Colomer, C., Baixauli, I., & Miranda, A. (2018). Children with Autism and Attention Deficit Hyperactivity Disorder: Relationships between Symptoms and Executive Function, Theory of Mind, and Behavioral Problems. Research in Developmental Disabilities, 83, 260-269.

Center on the Developing Child at Harvard University. (2011). Building the Brain’s “Air Traffic Control” System: How Early Experiences Shape the Development of Executive Function. Massachusetts: Harvard University.

Diamond, A., Barnett, W., Thomas, J., & Munro, S. (2007). Preschool Program Improves Cognitive Control. Science, 318(5855), 1387-1388.

Gioia, G., Isquith, P., Retzlaff, P., & Espy, K. (2002). Confirmatory Factor Analysis of The Behavior Rating Inventory of Executive Function (BRIEF) in a Clinical Sample. Child Neuropsychology, 8(4), 249-257.

Goldstein, S., & Naglieri, J. (eds.). (2014). Handbook of Executive Functioning. New York: Springer.

Golshan, F., Soltani, A., & Afarinesh, M. (2019). The Study of Executive Function Domains in Children with High-Functioning Autism. Learning and Motivation, 67, 101578.

Griffin, J., Freund, L., McCardle, P., DelCarmen-Wiggins, R., & Haydon, A. (2016). Introduction to Executive Function in Preschool-Age Children. In J. Griffin, P. McCardle, & L. Freund. (eds.). Executive function in preschool-age children: Integrating measurement, neurodevelopment, and translational research (pp. 3-7). Massachusetts: American Psychological Association.

Isquith, P., Gioia, G., & Espy, K. (2004). Executive Function in Preschool Children: Examination Through Everyday Behavior. Developmental Neuropsychology, 26(1), 403-422.

Kouklari, E., Tsermentseli, S., & Auyeung, B. (2018). Executive Function Predicts Theory of Mind but not Social Verbal Communication in School-Aged Children with Autism Spectrum Disorder. Research in Developmental Disabilities, 76, 12-24.

Robinson, S., Goddard, L., Dritschel, B., Wisley, M., & Howlin, P. (2009). Executive Functions in Children with Autism Spectrum Disorders. Brain and Cognition, 71(3), 362-368.

Tsermentseli, S., Tabares, J., & Kouklari, E. (2018). The Role of Every-Day Executive Function in Social Impairment and Adaptive Skills in Autism Spectrum Disorder with Intellectual Disability. Research in Autism Spectrum Disorders, 53, 1-6.

Yi, L., Fan, Y., Joseph, L., Huang, D., Wang, X., Li, J., & Zou, X. (2014). Event-Based Prospective Memory in Children with Autism Spectrum Disorder: The Role of Executive Function. Research in Autism Spectrum Disorders, 8(6), 654-660.

Zingerevich, C., & LaVesser, P. (2009). The Contribution of Executive Functions to Participation in School Activities of Children with High Functioning Autism Spectrum Disorder. Research in Autism Spectrum Disorders, 3(2), 429-437.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-09

How to Cite

sonphakdee, chonthida, Prasertsin, U., & Peungposopa, N. (2023). องค์ประกอบและลักษณะของทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย ที่มีภาวะออทิสติก. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(2), 37–48. https://doi.org/10.14456/tisr.2023.4