คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
ข้อกำหนดของบทความ
1. เป็นบทความวิชาการ หรือบทความวิจัย ในเชิงสหวิทยาการ ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศไทย รวมถึงการเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ตลอดจนมีจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับความยั่งยืนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ยังไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณา ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการอื่นใด (ยกเว้นการรวบรวมผลงานที่นำเสนอในการประชุมทางวิชาการ)
2. จัดพิมพ์อยู่ในรูปแบบภาษาไทย ตลอดบทความ (ตั้งแต่ พ.ศ.2569 เป็นต้นไป ชื่อและข้อมูลในตารางและภาพต่างๆ รวมถึงเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยทั้งหมด จะต้องถูกแปลไปเป็นภาษาอังกฤษ)
3. มีความยาวของต้นฉบับระหว่าง 5,000-8,000 คำ (ประมาณ 10-15 หน้ากระดาษ A4)
4. รูปแบบของบทความวิชาการ ประกอบด้วย ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อและรายละเอียดการติดต่อของผู้แต่งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ เนื้อหา (สามารถเปลี่ยนแปลงชื่อหัวข้อของเนื้อหาส่วนนี้ได้ตามความเหมาะสม) บทสรุป กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และ เอกสารและสิ่งอ้างอิง
5. รูปแบบของบทความวิจัย ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อและรายละเอียดการติดต่อของผู้แต่งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ การทบทวนวรรณกรรม วิธีการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผลการวิจัย กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และ เอกสารอ้างอิง
6. การอ้างอิง รูปแบบการอ้างอิงภายในเนื้อความ ใช้ระบบการอ้างอิงแบบ นาม-ปี (Author-Date) ส่วนการอ้างอิงท้ายบทความ ใช้ระบบการอ้างอิงแบบ สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association-APA) พิมพ์ครั้งที่ 7 (ตั้งแต่ พ.ศ.2569 เป็นต้นไป เอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยทั้งหมด จะต้องถูกแปลเป็นไปภาษาอังกฤษ) ทั้งนี้ เอกสารอ้างอิงที่ใช้ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 12 รายการขึ้นไป โดยเน้นการอ้างอิงบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเป็นหลัก และหลีกเลี่ยงการอ้างอิงการค้นคว้าอิสระ/ภาคนิพนธ์ และแหล่งข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่มิได้มีการรับรองหรือตรวจสอบคุณภาพและความน่าเชื่อถืออย่างเหมาะสม
• APA Style – Reference Examples
• APA Style – 7th Edition Common Reference Examples Guide
8. การจัดพิมพ์ ใช้แบบอักษร Browallia New โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
รายการ |
ลักษณะตัวอักษร |
รูปแบบการพิมพ์ |
ขนาดตัวอักษร |
ชื่อบทความ |
เน้น |
ชิดซ้าย |
20 |
หัวข้อใหญ่ |
เน้น |
ชิดซ้าย |
16 |
หัวข้อย่อย |
เน้น |
ชิดซ้าย |
14 |
เนื้อความ |
ปกติ |
ชิดซ้าย |
14 |
นโยบายการอ้างอิง
ผู้เขียนควรมั่นใจว่าเมื่อต้องใช้เนื้อหาจากแหล่งอื่น (รวมถึงงานเขียนที่เผยแพร่แล้วของตนเอง) แหล่งที่มาต้องได้รับการอ้างอิงอย่างชัดเจนและสมควรได้รับการอนุญาตอย่างเหมาะ
ผู้เขียนไม่ควรมีการอ้างอิงผลงานของตนในปริมาณที่มากเกินไป
ผู้เขียนไม่ควรคัดลอกเอกสารอ้างอิงจากการเผยแพร่ที่อื่นหากพวกเขาไม่ได้อ่านงานที่อ้างถึง
ผู้เขียนไม่ควรอ้างอิงผลงานของตนเองหรือสิ่งพิมพ์ของเพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือสถาบันในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม
ผู้เขียนไม่ควรอ้างอิงโฆษณาหรือเนื้อหาที่มีลักษณะโฆษณา
ตามแนวทางของ COPE เราคาดหวังว่า “เนื้อหาต้นฉบับที่ถูกนำมาโดยตรงจากบทความของนักวิจัยคนอื่นจะต้องอยู่ในเครื่องหมายคำพูดพร้อมกับการอ้างอิงที่เหมาะสม” ข้อกำหนดนี้ยังใช้กับงานของผู้เขียนเองด้วย ทั้งนี้ COPE ได้จัดทำเอกสารหารือเกี่ยวกับ การควบคุมการอ้างอิง พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดไว้ด้วยแล้ว
กระบวนการการส่งบทความ
1. การส่งบทความ ผู้แต่งสามารถส่งบทความเพื่อรับการพิจารณาลงตีพิมพ์ใน สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ได้ทางเว็บไซต์ของวารสาร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS เท่านั้น ทั้งนี้ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมได้ทางอีเมล jirgs.psaku@gmail.com
2. กระบวนการการพิจารณา นับตั้งแต่กองบรรณาธิการได้รับบทความ กระทั่งแจ้งผลการพิจารณา รวมถึงส่งหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ไปยังผู้แต่ง ใช้ระยะเวลารวมประมาณ 45 วัน โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
กระบวนการการพิจารณา |
ระยะเวลา |
กองบรรณาธิการพิจารณาบทความในเบื้องต้น และแจ้งผลการพิจารณากลับไปยังผู้แต่ง พร้อมกับส่งบทความไปยังผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน |
3 วัน |
ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความและส่งผลการพิจารณากลับมายังกองบรรณาธิการ |
28 วัน |
กองบรรณาธิการส่งผลการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิกลับไปยังผู้แต่งเพื่อดำเนินการแก้ไขครั้งสุดท้าย (ถ้ามี) และส่งบทความ (ฉบับแก้ไข) กลับมายังกองบรรณาธิการ |
7 วัน |
กองบรรณาธิการพิจารณาบทความขั้นสุดท้าย และแจ้งผลการพิจารณา รวมส่งถึงหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ไปยังผู้แต่ง |
7 วัน |
รวม |
45 วัน |
3. สำหรับบทความที่ได้รับการพิจารณาไม่ให้ตีพิมพ์ กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาชี้ขาดปัญหาใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น และให้ถือผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด
ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย เป็นวารสารซึ่งไม่ได้รับทุนจากสถาบัน/รัฐบาลใดๆ ดังนั้น วารสารจึงดำเนินการผ่านค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ที่เราได้รับจากผู้เขียนและหน่วยงาน/ผู้สนับสนุนทางวิชาการเท่านั้น ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะถูกนำไปเพื่อใช้จ่ายเป็นค่าบริการฐานข้อมูล การค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิและเจ้าหน้าที่ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากเป็นวารสารออนไลน์ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลบทความฉบับเต็มได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ไม่เรียกเก็บค่าสมัครสมาชิกจากผู้อ่านที่สามารถเข้าถึงบทความออนไลน์ได้ฟรี ผู้เขียนจึงต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ที่เป็นธรรมสำหรับการจัดการกับบทความของตน
รายการ |
ราคา (บาท) |
|
กระบวนการพิจารณาแบบปกติ |
บุคคลทั่วไป |
10,000 |
สมาชิก / หน่วยงานที่มีความร่วมมือ (MoU) |
9,000 |
|
ค่าหน้าเกิน (จำกัดความยาวไม่เกิน 10 หน้า) |
1,000 |
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของวารสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล วารสารจึงแบ่งการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ดังกล่าว จากผู้เขียนเป็น 2 งวด ดังนี้
- เมื่อส่งผลงานแล้ว ผู้เขียนต้องชำระเงิน ร้อยละ 50 (5,000 บาท สำหรับกระบวนการพิจารณาแบบปกติ) เพื่อเริ่มกระบวนการพิจารณาโดยกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าธรรมเนียมส่วนนี้ไม่สามารถขอคืนได้
- เมื่อบทความผ่านกระบวนการพิจารณาและได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์แล้ว ผู้เขียนต้องชำระเงินส่วนที่เหลือ อีกร้อยละ 50 (5,000 บาท สำหรับกระบวนการพิจารณาแบบปกติ) รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นๆ (ถ้ามี เช่น ค่าหน้าเกิน เป็นต้น) เพื่อเริ่มกระบวนการเรียงพิมพ์และตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป
หมายเหตุ: ในการดำเนินการจัดทำวารสารออนไลน์บนระบบ OJS และเป็นพันธมิตรในการเผยแพร่บทความกับ Social Science Research Network (Elsevier-SSRN) วารสารมีค่าใช้จ่ายในแต่ละรอบปีปฏิทินประมาณ 70,000 บาท วารสารต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับเลขานุการของวารสาร เฉลี่ยเดือนละ 4,000 บาท นอกจากนั้น วารสารยังจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่ประเมินบทความ อีกบทความละ 3,000 บาท นั่นหมายความว่า หากพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของจำนวนบทความซึ่งตีพิมพ์ในวารสารของ บริษัท ที่ปรึกษากฎหมาย ธุรกิจ และการวิจัย ไวท์ ไทเกอร์ จำกัด ในรอบปี 2564-2565 ที่วารสารละ 15 บทความ ต้นทุนของวารสารในการจัดพิมพ์แต่ละบทความจะเท่ากับ 10,867 บาท ทั้งนี้ วารสารยังมีนโยบายยกเว้นค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ให้กับกองบรรณาธิการและผู้เขียนจากประเทศยากจนด้วย การเรียกเก็บค่าตีพิมพ์ข้างต้นจึงมิได้เป็นไปเพื่อการแสวงหากำไร แต่เป็นไปเพื่อหารายได้สำหรับการดำเนินการวารสารให้มีประสิทธิภาพ และเผยแพร่บทความไปยังฐานข้อมูลสากล
ช่องทางการชำระเงิน
ธนาคาร: ธนาคารไทยพาณิชย์
สาขา: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อบัญชี: บริษัท ที่ปรึกษากฎหมาย ธุรกิจ และการวิจัย ไวท์ ไทเกอร์ จำกัด
เลขที่บัญชี: 235-299780-8