สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS <p><em>วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา</em> (e-ISSN: 2730-3616) เป็นวารสารซึ่งจัดพิมพ์ในภาษาไทย โดยสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อเป็นพื้นที่ในการเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย รวมถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดความเห็น ตลอดจนเป็นแหล่งค้นคว้าระดับบัณฑิตศึกษาในระดับนานาชาติ ที่น่าเชื่อถือและมีความเป็นปัจจุบัน ในเชิงสหวิทยาการ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งมีรูปแบบการกลั่นกรองบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ท่าน ก่อนลงตีพิมพ์ แบบผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ มีกำหนดปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</p> th-TH [email protected] (ธนพล วิภาภรณ์) [email protected] (กองบรรณาธิการ) Tue, 09 Jan 2024 20:21:26 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกรับชมคอนเสิร์ตในรูปแบบออนไลน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/270041 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการตัดสินใจบริโภคคอนเสิร์ตในรูปแบบออนไลน์ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ประกอบการในการพัฒนาการให้บริการ และเพิ่มโอกาสในการเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ประเภทดนตรี โดยผู้จัดทำเก็บแบบสอบถาม และสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตาตามระดับรายได้และประเภทคอนเสิร์ตที่รับชม จำนวน 396 ชุด ซึ่งจากการวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกแบบทวิ พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกรับชมคอนเสิร์ตในรูปแบบออนไลน์ ได้แก่ ความเหมาะสมหรือคุ้มค่าของราคาบัตร การมีส่วนร่วมกับศิลปิน ความถี่ในการรับชมคอนเสิร์ตรูปแบบกายภาพ และความเข้าใจในขั้นตอนการบริโภคคอนเสิร์ตออนไลน์</p> เบญญาภา เกษมธนกิตติ, ปาณิศา วิชุพงษ์ Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/270041 Tue, 09 Jan 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างองค์กรแห่งความเป็นเลิศ ของบุคลากรโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/273389 <p>บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำเร็จในการสร้างองค์กรแห่งความเป็นเลิศ 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านแรงจูงใจและทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21 และ 3) ศึกษาปัจจัยและสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ทีผลต่อความสำเร็จในการสร้างองค์กรแห่งความเป็นเลิศ ของบุคลากรโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างองค์กรแห่งความเป็นเลิศของบุคลากรโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ปัจจัยด้านด้านแรงจูงใจในการทำงาน ได้แก่ ความสำเร็จในการทำงาน (X<sub>1</sub>) ด้านลักษณะงาน (X<sub>2</sub>) การยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน (X<sub>3</sub>) ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (X<sub>4</sub>) และความรับผิดชอบ (X<sub>6</sub>) โดยทั้ง 5 ปัจจัยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 73.10 (Adjusted R<sup>2</sup> = .731) และสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ Y = 0.471 + 0.224(X<sub>1</sub>) + 0.194(X<sub>2</sub>) + 0.200(X<sub>3</sub>) + 0.096(X<sub>4</sub>) + 0.171(X<sub>6</sub>) และปัจจัยด้านทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ความฉลาดทางสังคม (X<sub>3</sub>) และความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง (X<sub>4</sub>) โดยทั้ง 2 ปัจจัยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 56.80 (Adjusted R<sup>2</sup> = .568) และสร้างสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้ Y = 1.596 + 0.045(X<sub>3</sub>) + 0.564(X<sub>4</sub>)</p> ศิริภา วิทยาพรพิพัฒน์, ยุบุญ พฤหัสไพลิน Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/273389 Sat, 20 Jan 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการรับรู้ความสามารถการใช้เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด ของนักศึกษาพยาบาล https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/273399 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการใช้สถานการณ์จำลองการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดต่อการรับรู้ความสามารถในการใช้เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาล และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถในการใช้เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี จำนวน 52 ราย ผลการวิจัย พบว่าภายหลังการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถในการใช้เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดสูงกว่าคะแนนก่อนการเตรียมความพร้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 การวิจัยนี้สนับสนุนให้ผู้สอน นำการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองมาใช้ เพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการใช้เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาลอันจะนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพต่อไป</p> บุปผา ใจมั่น, วิจิตรา จิตรักษ์, โปรยทิพย์ สันตะพันธุ์, อนงค์ลักษณ์ วงศ์ตรี Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/273399 Mon, 22 Jan 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับกิจกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของผู้ประกอบการรายย่อยในเขตสัมพันธวงศ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/273758 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สําหรับกิจกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของผู้ประกอบการรายย่อยในเขตสัมพันธวงศ์ และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคที่มาซื้อสินค้าในเขตสัมพันธวงศ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับกิจกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของผู้ประกอบการรายย่อยในเขตสัมพันธวงศ์ประกอบไปด้วยการเพิ่มช่องทางกระจายสินค้าจากออฟไลน์สู่ออนไลน์และมีการบูรณาการร่วมกันรวมทั้งมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ 2) ปัจจัยส่วนบุคคลมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตสัมพันธวงศ์ ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา รายได้ และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตสัมพันธวงศ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย บรรจุภัณฑ์ พนักงาน การประชาสัมพันธ์</p> ณัฐปภัสร์ ฤทธิ์วัฒนวาณิช, จิระวดี เตียประพงษ์, พรพิมล ขำเพชร Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/273758 Sun, 04 Feb 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/267788 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา และแนวทางในการบริการจัดการ ประชากร คือ วิสาหกิจชุมชนทั้ง 32 อำเภอ ในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการประเมินระดับดี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านลักษณะกลุ่ม ด้านลักษณะสภาพแวดล้อม ด้านลักษณะของสมาชิกกลุ่ม และด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติงาน สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชม โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 55.9 (R2 = 0.559) ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา ร้อยละ 55.9 และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์เชิงเส้นตรง ดังนี้ Y = 0.241 (ด้านลักษณะกลุ่ม) + 0.164 (ด้านลักษณะสภาพแวดล้อมของกลุ่ม) + 0.259 (ด้านลักษณะของสมาชิกกลุ่ม) + 0.225 (ด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติงาน)</p> พวงพรภัสสร์ วิริยะ, สุภาพร ลักษมีธนสาร Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/267788 Sun, 04 Feb 2024 00:00:00 +0700 การทำนายความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของนักศึกษาปริญญาตรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/274595 <p>การท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ แต่การท่องเที่ยวก็นำไปสู่ผลกระทบทางลบในสังคมได้ อันเนื่องมาจากการรับรู้ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในประชาชนรุ่นใหม่ การวิจัยนี้จึงทำการศึกษาปัจจัยเชิงเหตุทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในนักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 653 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า ตัวทำนายที่สำคัญของความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ปทัสฐานทางสังคม การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับนักท่องเที่ยว โดยนักศึกษาที่มีลักษณะเหล่านี้มาก เป็นผู้ที่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนน้อย โดยมีปริมาณการทำนายในกลุ่มรวมเท่ากับ 44.23% ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นนักศึกษากลุ่มเสี่ยงและปัจจัยปกป้องที่อาจลดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในนักศึกษาเหล่านี้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความพร้อมในอนาคตที่นักศึกษาเหล่านี้จะเข้าสู่อาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่จะนำการพัฒนาประเทศเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม</p> เกรียงศักดิ์ จารุโรจนพล, ดวงเดือน พันธุมนาวิน, ดุจเดือน พันธุมนาวิน Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/274595 Fri, 16 Feb 2024 00:00:00 +0700 องค์ประกอบของหลักจริยธรรมวารสารศาสตร์ของนักข่าวพลเมือง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/275218 <p>การวิจัยนี้มุ่งศึกษาองค์ประกอบของหลักจริยธรรมวารสารศาสตร์และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเชิงจริยธรรมวารสารศาสตร์ของนักข่าวพลเมือง ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของหลักจริยธรรมวารสารศาสตร์ของนักข่าวพลเมืองมี 9 องค์ประกอบ เรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากไปน้อย ได้แก่ 1) หลักผลประโยชน์ทางธุรกิจหรือการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน 2) หลักการปกป้องคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง 3) หลักการให้ความสำคัญกับนโยบาย เหตุการณ์สาธารณะและภัยพิบัติ 4) หลักสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิส่วนบุคคล 5) หลักแห่งวัฒนธรรมและศีลธรรมของสังคม 6) หลักการเคารพในลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา 7) หลักประโยชน์สาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม 8) หลักความสมดุลเป็นธรรม เสมอภาค รอบด้าน หลากหลายความคิดเห็น และ 9) หลักความถูกต้อง เที่ยงตรงของข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเชิงจริยธรรมวารสารศาสตร์ของนักข่าวพลเมือง ได้แก่ 1) การเปิดเผยชื่อสกุลหรืออัตลักษณ์ของนักข่าวพลเมือง 2) ภูมิความรู้และประสบการณ์ของนักข่าวพลเมือง 3) ความใกล้ชิดกับผู้ตกเป็นข่าวหรือแหล่งข้อมูล 4) ผลประโยชน์ส่วนบุคคลของนักข่าวพลเมือง และ 5) ศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1) การแข่งขันกันของนักข่าวพลเมืองและผู้มีอิทธิพลในสื่อสังคมออนไลน์ 2) การขาดความระมัดระวังในการใช้เทคโนโลยีในการรายงานข่าว และ 3) การขาดการกำกับดูแลจากองค์กรสื่อมวลชนหรือสมาคมวิชาชีพ</p> ณฐมน แก้วพิทูล, เสริมศิริ นิลดำ, จิราพร ขุนศรี, กรกนก นิลดำ Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/275218 Sat, 02 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/274719 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นของปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุด และ 2) ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน 255 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นของปัจจัยวัฒนธรรมองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ส่วนปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ และองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุดในภาพรวม อยู่ในระดับเห็นด้วย 2) ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ ได้แก่ ด้านใฝ่รู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านความร่วมมือร่วมใจ ด้านมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ และด้านการมีคุณธรรม ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ด้านกระตุ้นทางปัญญา ปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีการจัดเก็บ และด้านเทคโนโลยีสนับสนุน การทำงานร่วมกัน มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานอัยการสูงสุด ผลการศึกษานี้ผู้บริหารสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป</p> ธวัลรัตน์ สภาภักดิ์, ลัดดาวัลย์ สำราญ Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/274719 Fri, 15 Mar 2024 00:00:00 +0700 โปรแกรมพัฒนา การรู้ดิจิทัลสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/274907 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดการรู้ดิจิทัล 2) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการรู้ดิจิทัล 3) พัฒนาโปรแกรมการรู้ดิจิทัล และ 4) นำโปรแกรมไปสร้างสมรรถนะครูด้านการรู้ดิจิทัล ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการรู้ดิจิทัลของครู ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการค้นหาเนื้อหาทางดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารโดยใช้ดิจิทัล และความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล ทั้งนี้ การรู้ดิจิทัล มี 10 ตัวบ่งชี้ 2) สภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูในการรู้ดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 3) การนำโปรแกรมเสริมสมรรถนะครูไปใช้ พบว่า ครูมีพฤติกรรมตามตัวบ่งชี้อยู่ในระดับสมบูรณ์ครบ 19 ข้อ และมีพฤติกรรมตามตัวบ่งชี้อยู่ในระดับปานกลาง/พอใช้ 8 ข้อ ผลการประเมินก่อนพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ในตะวัน กำหอม Copyright (c) 2024 Authors http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/274907 Fri, 15 Mar 2024 00:00:00 +0700