เกี่ยวกับวารสาร
สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย (ชื่อเดิม วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา; e-ISSN: 2730-3616) เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจัดพิมพ์ในภาษาไทยปีละ 2 ฉบับ โดยสมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ และ บริษัท ที่ปรึกษากฎหมาย ธุรกิจ และการวิจัย ไวท์ ไทเกอร์ จำกัด ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด เพื่อเป็นพื้นที่ในการเผยแพร่ข้อเสนอทางวิชาการ และข้อค้นพบใหม่ทางการวิจัย ที่มีความเข้มแข็งและเป็นปัจจุบัน ในเชิงสหวิทยาการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศไทย รวมถึงการเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ตลอดจนมีจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับความยั่งยืนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเปิดรับทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการ และมีรูปแบบการกลั่นกรองแบบเปิด โดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน ก่อนลงตีพิมพ์
ขอบเขตของวารสาร
สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย เป็นวารสารในกลุ่ม “สหวิทยาการ” เปิดรับบทความจากทุกสาขาวิชา ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศไทย รวมถึงการเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหัวข้อ “ความยั่งยืน” และ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ครอบคลุมแต่ไม่จำกัดเพียงสิ่งต่อไปนี้ดังนี้
1) ไทยศึกษา ครอบคลุมบริบทต่างๆ ทั้งภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม รวมถึงวัฒนธรรมประเพณี ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและชาติพันธุ์ไต ในเชิงสหวิทยาการ
2) ความท้าทายต่างๆ ของความยั่งยืน เช่น ผลกระทบของโลกาภิวัฒน์, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การกลายเป็นเมือง, วิกฤตเศรษฐกิจ และโควิด-19
3) แนวทางในเชิงสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น การกำหนดนโยบายของรัฐเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน, การจัดการองค์การเพื่อความยั่งยืน, การพัฒนาและการประยุกต์ใช้นวัตกรรม, การศึกษาและการสร้างความตระหนักด้านความยั่งยืน และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
4) ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การนิยามความหมายของความยั่งยืน, การวัดและเฝ้าระวังด้านความยั่งยืน, เครื่องมือของความยั่งยืน, การประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องความยั่งยืน และศาสตร์ว่าด้วยความยั่งยืน
ประเภทของบทความ
สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย เปิดรับบทความเข้ารับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ 2 ประเภท ได้แก่ บทความวิจัย (Research Article) และ บทความปริทรรศน์ (Review Article)
ความถี่ในการตีพิมพ์
สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย มีความถี่ในการตีพิมพ์ ปีละ 2 ฉบับ ฉบับละ 6 เดือน ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม
ลิขสิทธิ์
สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย เป็นวารสารการเข้าถึงแบบเปิดโดยสมบูรณ์ ตามคำจำกัดความนี้ ผู้ถือลิขสิทธิ์ทั้งหมดของผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ใน สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ให้สิทธิ์การใช้งานแก่ผู้อื่นโดยใช้ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC- ND 4.0) ใบอนุญาตแบบเปิดที่อนุญาตให้เข้าถึงงานได้ฟรีทันที และอนุญาตให้ผู้ใช้อ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ใช้เนื้อหาใดๆ ของ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย จะต้องให้เครดิตที่เหมาะสม ระบุลิงก์ไปยังผลงาน และระบุว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ด้วย (ถ้ามี)
ความเป็นมาของวารสาร
ปีที่ |
พ.ศ. |
เหตุการณ์ |
1 |
2555 |
จัดพิมพ์ฉบับแรก ภายใต้ชื่อ “วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา” และ ISSN: 2286-7252 โดย สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ (ชื่อเดิม: สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ใช้รูปแบบการกลั่นกรองบทความแบบ Double-Blind Peer Review โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ท่าน |
2 |
2556 |
ดัชนีในฐานข้อมูล Index Copernicus |
ดัชนีในฐานข้อมูล Google Scholar |
||
5 |
2559 |
ดัชนีในฐานข้อมูล Social Science Research Network (มีสถานะเป็น วารสารระดับนานาชาติ ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2556) |
8 |
2562 |
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เข้าเป็นผู้จัดพิมพ์ร่วม |
9 |
2563 |
เปลี่ยนรูปแบบการจัดพิมพ์มาเป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ บนระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) e-ISSN: 2730-3616 DOI: 10.14456/jirgs.ปี(ค.ศ.)ที่เผยแพร่.เลขที่บทความ และใช้รูปแบบการการเข้าถึงแบบเปิด |
11 |
2565 |
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เข้าเป็นผู้จัดพิมพ์ร่วม |
ดัชนีในฐานข้อมูล TCI ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน กลุ่มที่ 1 (มีสถานะเป็น วารสารระดับชาติ ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสําหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2562) |
||
เพิ่มจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าทำหน้าที่พิจารณาบทความ จาก 2 ท่าน เป็น 3 ท่าน (ตามเงื่อนไขของ ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2564) |
||
เปลี่ยนรูปแบบการกลั่นกรองบทความ จากแบบ Double-Blind Peer Review มาเป็นแบบ Open Peer Review |
||
12 |
2566 |
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ออกจากการเป็นผู้จัดพิมพ์ร่วม |
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ออกจากการเป็นผู้จัดพิมพ์ร่วม |
||
บริษัท ที่ปรึกษากฎหมาย ธุรกิจ และการวิจัย ไวท์ ไทเกอร์ จำกัด เข้าเป็นเจ้าของร่วม |
||
เปลี่ยนชื่อเป็น “สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย”, e-ISSN: 2985-2684 และ DOI: 10.14456/tisr.ปี(ค.ศ.)ที่เผยแพร่.เลขที่บทความ |
||
14 |
2568 |
ผ่านการพิจารณาให้เข้าสู่ฐานข้อมูล TCI และรับรองให้อยู่ในกลุ่มที่ 1 ในการประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 5 (รับรองผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 - 31 ธันวาคม 2572) |
|
|
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด เข้าเป็นผู้จัดพิมพ์ร่วม |
ความเป็นเจ้าของและการจัดการ
สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย เป็นของ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ และ บริษัท ที่ปรึกษากฎหมาย ธุรกิจ และการวิจัย ไวท์ ไทเกอร์ จำกัด ถูกจัดพิมพ์ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการกับ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด โดยที่ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ รับผิดชอบการดำเนินงานด้านวิชาการเป็นหลัก ในขณะที่ บริษัท ที่ปรึกษากฎหมาย ธุรกิจ และการวิจัย ไวท์ ไทเกอร์ จำกัด รับผิดชอบด้านการจัดการและการเงินเป็นหลัก ส่วน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด มีหน้าที่หลักในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านวิชาการ เช่น การทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงคุณภาพของวารสาร
แหล่งที่มาของรายได้ การโฆษณา และนโยบายการตลาดทางตรง
สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ดำเนินการโดยไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานใดๆ ทั้งจากภาครัฐหรือภาคเอกชน สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ และ บริษัท ที่ปรึกษากฎหมาย ธุรกิจ และการวิจัย ไวท์ ไทเกอร์ จำกัด ร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดพิมพ์วารสารมาโดยตลอด จนกระทั่งวารสารสามารถหารายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ได้เพียงพอกับรายจ่าย นั่นหมายความว่า แหล่งที่มาของรายได้ในปัจจุบันของ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย คือค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้เขียนที่ส่งบทความเข้ามาเผยแพร่เป็นหลัก
สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ไม่มีนโยบายรับโฆษณาจากบุคคลภายนอก ทั้งนี้ ในการประชาสัมพันธ์วารสารและบทความสู่สาธารณะ สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย พยายามหลีกเลี่ยงการกระทำที่สร้างความเสียหายต่อบุคคลอื่น (เช่น การแพร่กระจายสแปม) และเพื่อหลีกเลี่ยงข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดระหว่างผู้เขียนและผู้จัดพิมพ์