https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/issue/feed
สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย
2024-12-19T14:59:20+07:00
รองศาสตราจารย์ ดร.ธนพร ศรียากูล
ALPS.Journals@gmail.com
Open Journal Systems
<p><em>วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา</em> (e-ISSN: 2730-3616) เป็นวารสารซึ่งจัดพิมพ์ในภาษาไทย โดยสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อเป็นพื้นที่ในการเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย รวมถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดความเห็น ตลอดจนเป็นแหล่งค้นคว้าระดับบัณฑิตศึกษาในระดับนานาชาติ ที่น่าเชื่อถือและมีความเป็นปัจจุบัน ในเชิงสหวิทยาการ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งมีรูปแบบการกลั่นกรองบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ท่าน ก่อนลงตีพิมพ์ แบบผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ มีกำหนดปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</p>
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/281412
การวิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการธุรกิจของวิสาหกิจชุมชน ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปในสามจังหวัดชายแดนใต้
2024-09-12T13:37:02+07:00
ปิยะดา มณีนิล
piyada.m@yru.ac.th
สัสดี กำแพงดี
satsadi.k@yru.ac.th
<p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปในสามจังหวัดชายแดนใต้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจากประธานวิสาหกิจชุมชนผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปในสามจังหวัดชายแดนใต้ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนให้ความสำคัญกับองค์ประกอบการจัดการธุรกิจในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.14 และจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่าการจัดการธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปในสามจังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดการทรัพยากรมนุษย์วิสาหกิจชุมชน การจัดการการตลาดวิสาหกิจชุมชน การจัดการการผลิตวิสาหกิจชุมชน และการจัดการการเงินวิสาหกิจชุมชน ดังนั้นวิสาหกิจชุมชนจึงต้องให้ความสำคัญกับองค์ประกอบข้างต้น และนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจต่อไป</p>
2024-10-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/281873
มานุภาพทางศิลปะ: กรณีศึกษาผลงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา
2024-10-15T11:24:47+07:00
ธภัทร บริรักษ์กิจดำรง
chetsada@tsu.ac.th
เจษฎา นกน้อย
Chetsada_NOK@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อม และกำหนดกลยุทธ์ สำหรับงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา 2) ศึกษาวิธีการสร้างผลงานศิลปะในเชิงพาณิชย์ของศิลปินในจังหวัดสงขลา และ 3) ศึกษาแนวทางในการสร้างมานุภาพทางศิลปะให้กับงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ศิลปินผู้สร้างผลงานศิลปะในจังหวัดสงขลา โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลคือ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะและมีโอกาสได้จำหน่ายผลงานให้กับบุคคลที่สนใจในงานศิลปะ จำนวน 12 คน โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้เครื่องมือ SWOT Analysis และ TOWS Matrix โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมสำหรับงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา มีจุดแข็ง 4 ประการ จุดอ่อน 4 ประการ โอกาส 4 ประการ และอุปสรรค 4 ประการ โดยมีกลยุทธ์สำหรับงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย กลยุทธ์เชิงรุก 3 ประการ กลยุทธ์เชิงป้องกัน 2 ประการ กลยุทธ์เชิงแก้ไข 2 ประการ และกลยุทธ์เชิงรับ 2 ประการ การสร้างผลงานศิลปะในเชิงพาณิชย์ของศิลปินในจังหวัดสงขลาศิลปินจะต้องมีการปรับตัวกับยุคสมัยโดยอาศัยความต้องการของตลาด การพัฒนาเอกลักษณ์เฉพาะตัว การใช้ช่องทางสื่อ การสร้างความร่วมมือ และการใส่ใจในคุณภาพและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับแนวทางในการสร้างมานุภาพทางศิลปะให้กับงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา จากการศึกษาพบว่า ผลงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา ยังคงขาดความสามารถในการทำการตลาด นอกจากนี้ศิลปินรุ่นใหม่ยังคงขาดโอกาสในการนำเสนอผลงาน ซึ่งสามารถอธิบายแนวทางในการสร้างมานุภาพทางศิลปะให้กับผลงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลาได้ออกเป็น 5 มิติ ดังนี้ 1) มิติด้านการสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม 2) มิติด้านการส่งเสริมการทูตเชิงวัฒนธรรม 3) มิติด้านการใช้สื่อสังคมและเทคโนโลยี 4) มิติการสร้างประสบการณ์ และ 5) มิติการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ</p>
2024-11-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/280015
ประโยชน์ที่รับรู้เทียบกับต้นทุนที่รับรู้: ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญในการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายออร์แกนิกในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2024-09-12T13:57:34+07:00
เอกภูศิษฐ์ บุญศิริยศฐากุล
aekphusit.boo@rmutr.ac.th
สร้อยบุปผา สาตร์มูล
soibuppha@rmutr.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายแบบออร์แกนิกในหมู่ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ด้วยความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ ความตระหนักด้านรูปลักษณ์ ทัศนคติต่อการซื้อ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ความเชื่อมั่น และประสบการณ์ในอดีต การทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคในกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจและผู้กำหนดนโยบาย การศึกษานี้ใช้วิธีการสำรวจเชิงปริมาณ โดยรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผลการศึกษาเผยให้เห็นว่า ความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ ความตระหนักด้านรูปลักษณ์ ทัศนคติต่อการซื้อ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ความเชื่อมั่น และประสบการณ์ในอดีตมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายแบบออร์แกนิกในหมู่ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ในขณะที่ ทัศนคติต่อการซื้อ ความเชื่อมั่น และประสบการณ์ในอดีต มีบทบาทสำคัญในฐานะตัวแปรส่งผ่านในการสร้างการรับรู้ของผู้บริโภคและผลักดันให้เกิดพฤติกรรมการซื้อ</p>
2024-11-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/280458
การวิจัยเพื่อพัฒนาและทดสอบความตรงของแบบวัด ความตั้งใจดูแลผู้สูงวัยอย่างเอื้ออาทร
2024-09-02T13:21:52+07:00
ปุณญรัสธิ์ ต่อไพบูลย์
punyarat.torph@stu.nida.ac.th
ดวงเดือน พันธุมนาวิน
duangduen.bha@nida.ac.th
ดุจเดือน พันธุมนาวิน
nidaphd2024@gmail.com
<p>ในปัจจุบันมีประชากรสูงวัยที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลมีเพิ่มมากขึ้น ความตั้งใจที่จะดูแลอย่างเอื้ออาทรจึงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของผู้ดูแลผู้สูงวัย เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงวัย การวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดความตั้งใจที่จะดูแลผู้สูงอายุอย่างเอื้ออาทร โดยมีการวิจัยทั้งหมด 4 ขั้นตอน โดยในขั้นการหาคุณภาพของเครื่องมือวัด และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล รวมจำนวน 420 คน ผลปรากฏว่า โมเดลการวัดความตั้งใจที่จะดูแลผู้สูงอายุอย่างเอื้ออาทร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ จำนวน 12 ข้อ และอธิบายความแปรปรวนได้ 59.484% ในขั้นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล กลุ่มใหม่ จำนวน 384 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า โมเดลการวัดมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แบบวัดมีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ 0.82 เมื่อทำการทดสอบความตรงในกลุ่มตัวอย่างผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุจำนวน 171 คน พบว่า แบบวัดที่สร้างใหม่นี้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับจิตพลังจริยธรรม การประเมินแก่นแห่งตน และพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทร แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับจริยธรรมหลุด จึงได้เสนอแนะการใช้แบบวัดเพื่อการปฏิบัติและการวิจัยต่อไป</p>
2024-11-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/281766
รูปแบบการส่งเสริมการใช้เขม่าดำทดแทนจากขยะยางล้อ ในอุตสาหกรรมยางโดยใช้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
2024-09-23T10:59:14+07:00
สมพิศ วัฒนเลี้ยงใจ
somphit.cmc@gmail.com
ธันนิกานต์ สูญสิ้นภัย
somphit.cmc@gmail.com
ชลวิทย์ เจียรจิตต์
somphit.cmc@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เขม่าดำทดแทนจากขยะยางล้อ (RCB) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ และวิเคราะห์ความเหมาะสมของรูปแบบดังกล่าว การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นแรกใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าส่วนใหญ่มีนโยบายใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ RCB มีประโยชน์ในการลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังมีข้อจำกัดด้านคุณภาพเมื่อเทียบกับเขม่าดำดั้งเดิม ขั้นที่สองใช้วิจัยเชิงปริมาณ พบว่าปัจจัยด้านการจัดการขยะและระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมีอิทธิพลสำคัญต่อการส่งเสริมการใช้ RCB จึงนำมาพัฒนา Business Model Canvas ขั้นสุดท้ายประเมินความเหมาะสมโดยการสำรวจ ผลปรากฏว่าทุกองค์ประกอบได้รับการประเมินในระดับสูงมาก โดยเฉพาะด้านการนำเสนอคุณค่า การสร้างรายได้ ทรัพยากรหลัก กิจกรรมหลัก และพันธมิตรหลัก ผลการวิจัยสรุปได้ว่า RCB มีศักยภาพสูงในการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมยาง จากผลการวิจัยนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอ SHIFT Model เป็นกรอบแนวคิดในการส่งเสริมการใช้ RCB ประกอบด้วย ผสานพลัง, ปรับให้สอดคล้อง, สร้างนวัตกรรม, ส่งเสริม และเปลี่ยนแปลง</p>
2024-11-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/281764
พัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณด้านเศรษฐกิจ ของบุคลากรและผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม: กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร
2024-10-15T11:24:57+07:00
ชวนัส แสงยิ่งยงวัฒนา
chawanus1974@gmail.com
ธันนิกานต์ สูญสิ้นภัย
chawanus1974@gmail.com
ชลวิทย์ เจียรจิตต์
chawanus1974@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา พัฒนารูปแบบ และศึกษาความเหมาะสมของการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณด้านเศรษฐกิจ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ และได้พัฒนารูปแบบ BMC ซึ่งได้รับการประเมินความเหมาะสมในระดับมาก โดยเฉพาะในด้านการนำเสนอคุณค่า การสร้างรายได้ และทรัพยากรสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีพื้นที่สำหรับการปรับปรุงในด้านการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมมากที่สุดคือปัจจัยทางเศรษฐกิจ รองลงมาคือเพศและความพึงพอใจในการทำงาน นอกจากนี้ ปัจจัยด้านสุขภาพและระดับการศึกษาก็มีผลเชิงบวกต่อการเตรียมความพร้อม ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนานโยบายและแผนการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณที่ครอบคลุมและเป็นระบบ โดยเน้นการให้ความรู้ด้านการวางแผนการเงิน การสร้างความตระหนัก และการสนับสนุนจากทั้งองค์กรและภาครัฐ ผู้วิจัยได้นำเสนอโมเดล IFACE ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดแบบบูรณาการ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การบูรณาการ การวางแผนทางการเงิน การสร้างความตระหนัก ความร่วมมือ และการศึกษา</p>
2024-11-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/281132
การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวตามรอยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2024-10-31T10:52:29+07:00
โฆษิตสุทธสร บงค์บุตร
65160244@up.ac.th
เสรี วงษ์มณฑา
seri.wo@up.ac.th
ชุษณะ เตชคณา
jusana.t@fba.kmutnb.ac.th
ณัฐรินทร์ ปริวงศ์กุลธร
nuttharin.pa@up.ac.th
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวตามรอยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้วิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวตามรอยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 20 ท่าน ผลการวิจัยพบว่าแหล่งท่องเที่ยวตามรอยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีศักยภาพที่หลากหลายและมีความสำคัญต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ จากการสัมภาษณ์และการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่าแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการยอมรับว่ามีศักยภาพสูง ได้แก่ สถานที่ประวัติศาสตร์สำคัญและแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการจัดทำแผนการตลาดและการประชาสัมพันธ์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว</p>
2024-11-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/282798
การพัฒนาโมเดลการจัดการธุรกิจและผลิตภัณฑ์แก้วมังกรผ่านการสื่อสาร การตลาดดิจิทัล ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
2024-10-30T10:28:51+07:00
ปฤฐฏาง จันทร์บุญเรือง
pantawan.but@gmail.com
พรรณธวรรณ บุตรดีสุวรรณ
pantawan.but@gmail.com
กิติยา คีรีวงก์
Pantawan.but@gmail.com
วรกร พิมพาคุณ
Pantawan.but@gmail.com
<p>การวิจัยแบบผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการจัดการธุรกิจและผลิตภัณฑ์แก้วมังกรผ่านการสื่อสาร การตลาดดิจิทัล ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างสำหรับวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ตัวแทนสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่แก้วมังกร กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชนในตำบลร่องจิก ผู้บริโภค ชุมชน สื่อมวลชน ผู้นำชุมชน ร้านค้า ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การใช้ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์และตัวแทนสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดินปลูกแก้วมังกรนาวป้อม 479 ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาโมเดลการจัดการธุรกิจและผลิตภัณฑ์แก้วมังกรผ่านการสื่อสารการตลาดดิจิทัล อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย โดยใช้ Business Model Canvas 9 ช่อง มาเป็นต้นแบบ เมื่อมีการทดลองใช้และยืนยันโมเดล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และหลังการใช้และยืนยันโมเดล มีการปรับการใช้โมเดลต้นแบบจาก BMC 9 ช่อง ไปเป็น โมเดล POLC ตามความต้องการของกลุ่ม</p>
2024-11-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/282747
การเชื่อมโยงความที่ปรากฏในบทเพลงธรรมะ
2024-11-12T11:27:12+07:00
ชวัลภา พรหมาซุย
chawanlapa.p@ku.th
บุญเลิศ วิวรรณ์
boonlert.w@ku.th
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ
wilaisak.k@ku.th
<p>บทเพลงธรรมะในสื่อออนไลน์ปัจจุบัน มีลักษณะของการใช้การเชื่อมโยงความ เพื่อการสื่อสารสู่ผู้ฟังที่มีลักษณะเฉพาะ โดยมีเจตนาเพื่อสร้างความสุนทรียะ สร้างความสงบทางจิตใจ สร้างจิตสำนึกให้ฝักใฝ่ในคุณงามความดีตามหลักธรรมชาติ และตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการเชื่อมโยงความที่ปรากฏในบทเพลงธรรมะ โดยศึกษาข้อมูลจากบทเพลงธรรมะที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ยูทูบ จำนวน 500 เพลง ผลการศึกษาพบการเชื่อมโยงความ 4 ประเภท ประเภทที่พบมากที่สุด คือ การเชื่อมโยงความประเภทการอ้างถึง รองลงมาพบการเชื่อมโยงความประเภทการใช้คำเชื่อม รองลงมาพบการเชื่อมโยงความประเภทการซ้ำ และพบการเชื่อมโยงความประเภทการละน้อยที่สุด ซึ่งการเชื่อมโยงความในบทเพลงธรรมะนี้มีจุดเด่นในเรื่องการอ้างถึง พบว่ามีการอ้างถึงบุรุษสรรพนามเป็นคำศัพท์ทางธรรมที่ใช้อ้างถึงเฉพาะในบทเพลงธรรมะเท่านั้นโดยไม่ปรากฏการใช้คำศัพท์ทางธรรมนี้ในบทเพลงประเภทอื่น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความโดดเด่นทางด้านการใช้คำศัพท์ในบทเพลงธรรมะเป็นอย่างมาก และการเชื่อมโยงความทุกประเภทที่พบในบทเพลงธรรมะยังทำให้สามารถร้อยเรียงเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทำให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆ ผ่านการถ่ายทอดจากบทเพลงธรรมะได้เป็นอย่างดี</p>
2024-12-15T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/283209
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสื่อเสมือนจริงแบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตำบลปากน้ำประแส จังหวัดระยอง
2024-11-12T11:25:41+07:00
ยศกร วรรณวิจิตร
warit_wa@rmutto.ac.th
พงช์ศนัญ ชาญชัยชิณวรฒ์
kittiya_ka@rmutto.ac.th
กิตติยา ก้วสะเทือน
kittiya_ka@rmutto.ac.th
วาริท วสยางกูร
warit_wa@rmutto.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษานโยบายการท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสื่อเสมือนจริงแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตำบลปากน้ำประแส จังหวัดระยอง 2) เพื่อพัฒนาสื่อเสมือนจริงแบบปฏิสัมพันธ์ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมกับชุมชนและความพึงพอใจต่อการใช้สื่อ ผลการศึกษาพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนปากน้ำประแสอยู่ในทิศทางที่ดี มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในชุมชน มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน และมีข้อเสนอแนะว่าชุมชนสามารถนำเทคโนโลยีมายกระดับการท่องเที่ยวของชุมชนได้ 2) ความเหมาะสมของสื่อเสมือนจริงแบบปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) การมีส่วนร่วมของชุมชนมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับความพึงพอใจต่อการใช้สื่อของทั้งชุมชนและนักท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2024-12-15T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/282289
แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะฟื้นฟูสุขภาพเท้า ด้วยการซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
2024-10-15T11:24:25+07:00
ธนาคม รัชตโรจน์
S64584917037@ssru.ac.th
ทวี แจ่มจำรัส
tawee.ja@ssru.ac.th
ไปรพร แสงจันทร์
praiporn.sa@ssru.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถของผู้ประกอบการร้านค้า มาตรฐานการผลิตสินค้า กลยุทธ์การตลาด มาตรฐานการให้บริการ และการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะฟื้นฟูสุขภาพเท้า 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของมาตรฐานการผลิตสินค้า ความสามารถของผู้ประกอบการร้านค้า กลยุทธ์การตลาด และมาตรฐานการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะฟื้นฟูสุขภาพเท้า 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะฟื้นฟูสุขภาพเท้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถของผู้ประกอบการร้านค้า กลยุทธ์การตลาด และการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะในระดับมากที่สุด ส่วนมาตรฐานการผลิตสินค้าและมาตรฐานการให้บริการอยู่ในระดับมาก 2) กลยุทธ์การตลาดมีอิทิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความสามารถของผู้ประกอบการ มาตรฐานการให้บริการและมาตรฐานการผลิตสินค้า ตามลำดับ 3) ได้แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะฟื้นฟูสุขภาพเท้า เป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย กลยุทธ์การตลาดที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีความสามารถของผู้ประกอบการและมาตรฐานการให้บริการอยู่ตรงกลาง ส่วนมาตรฐานการผลิตสินค้าช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อหน่วยราชการ ใช้ในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแล และเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเพื่อผู้บริโภคใช้งานได้อย่างคุ้มค่าตลอดไป</p>
2024-12-15T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/283128
การสื่อสารอัตลักษณ์ข้าวซอย ในฐานะภูมิปัญญาอาหารพหุวัฒนธรรมล้านนา เพื่อส่งเสริมการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารของไทย
2024-11-03T21:08:37+07:00
ฐิติวรฎา ใยสำลี
anong_jai@dusit.ac.th
เสาวลักษณ์ กันจินะ
anong_jai@dusit.ac.th
พรรณี สวนเพลง
pannee_sua@dusit.ac.th
อานง ใจแน่น
anong_jai@dusit.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของข้าวซอยภูมิปัญญาอาหารพหุวัฒนธรรมล้านนา ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมการสื่อสารอัตลักษณ์ข้าวซอย การพัฒนาแนวทางการสื่อสารอัตลักษณ์ข้าวซอย และ การส่งเสริมการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารไทย ผลการวิจัยพบว่า ข้าวซอยเป็นอาหารที่มีรากฐานมาจากพหุวัฒนธรรมล้านนาที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาการผสมผสานทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสะท้อนถึงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไทย จีน พม่า อินเดีย ผ่านการแลกเปลี่ยนทางการค้าและการเดินทางในภูมิภาคนี้ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมการสื่อสารอัตลักษณ์ข้าวซอยประกอบด้วย ประวัติศาสตร์ความเป็นมา วัตถุดิบส่วนผสม รสชาติ วิธีการปรุงที่เป็นเอกลักษณ์ของข้าวซอย รูปแบบการนำเสนอของข้าวซอย และการเชื่อมโยงของข้าวซอยกับสถานที่และวัฒนธรรม การพัฒนาแนวทางการสื่อสารอัตลักษณ์ข้าวซอยและการส่งเสริมการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารไทย ในทิศทางที่สอดคล้องกับเทรนด์สมัยใหม่และยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมล้านนาของไทยจะช่วยส่งเสริม<br />ข้าวซอยให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในระดับสากล การใช้ข้าวซอยเป็นเครื่องมือในการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ของไทย โดยเน้นการนำเสนอเรื่องราวของข้าวซอย เน้นคุณค่าทางประวัติศาสต์และวัฒนธรรม การใช้สื่อดิจิทัลและโซเชียลมีเดีย การสร้างความร่วมมือกับฟลูเอนเซอร์ การจัดงานเทศกาลอาหารนานาชาติ การใช้ข้าวซอยเป็นสัญลักษณ์ความเป็นไทยในสื่อภาพยนตร์ที่แสดงถึงเสน่ห์ของวัฒนธรรมอาหารล้านนาของไทยผ่านข้าวซอยในสื่อการตลาด การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวซอยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับนานาชาติ</p>
2024-12-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/283382
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์กองทุนประกันชีวิต ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570)
2024-12-19T14:59:20+07:00
สุพัตรา แผนวิชิต
thailawresearch@gmail.com
ฐิติวดี ชัยวัฒน์
thailawresearch@gmail.com
ธีระพล เมฆอธิคม
thailawresearch@gmail.com
กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย
thailawresearch@gmail.com
ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ
thailawresearch@gmail.com
<p>กองทุนประกันชีวิตมีบทบาทในการคุ้มครองเจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับการชำระหนี้จากการประกันภัยเมื่อบริษัทประกันชีวิตถูกเพิกถอนใบอนุญาต และมุ่งพัฒนาความมั่นคงและเสถียรภาพธุรกิจประกันชีวิต เพื่อให้การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์มีประสิทธิผล กองทุนจำเป็นต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (2566-2570) ที่เชื่อมโยงกับแผนแม่บทต่างๆ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 4 ผ่านการวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก แผนนี้ประกอบด้วยวิสัยทัศน์และพันธกิจ รวมถึง 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) พัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้มั่นคงและสร้างความเชื่อมั่น 2) ยกระดับทรัพยากรและศักยภาพบุคลากร 3) ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล และ 4) สร้างระบบนิเวศที่เอื้อประโยชน์ร่วมกันผ่านเครือข่ายความร่วมมือ นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดกลยุทธ์ ผลผลิต ผลลัพธ์ ตัวชี้วัด และเป้าหมายในการดำเนินการในระยะ 3 ปี และ 5 ปี รวมถึงตัวอย่างโครงการเพื่อรองรับการดำเนินงาน</p>
2025-01-02T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/283383
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์กองทุนประกันวินาศภัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570)
2024-11-29T13:57:40+07:00
สุพัตรา แผนวิชิต
thailawresearch@gmail.com
ฐิติวดี ชัยวัฒน์
thailawresearch@gmail.com
ธีระพล เมฆอธิคม
thailawresearch@gmail.com
สำเรียง เมฆเกรียงไกร
thailawresearch@gmail.com
วรรณวิภา เมืองถ้ำ
thailawresearch@gmail.com
<p>กองทุนประกันวินาศภัยเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องเจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับการชำระหนี้จากการประกันภัยในกรณีที่บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาต และเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพในธุรกิจประกันวินาศภัย ดังนั้น การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของกองทุนจึงจำเป็นต้องมีทิศทางที่ชัดเจน ผ่านการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (2566-2570) ที่เชื่อมโยงกับแผนแม่บทต่างๆ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 4 โดยมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก แผนยุทธศาสตร์ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมหลัก และ 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) เร่งรัดการชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามสัญญาเพื่อสร้างเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในระบบ 2) พัฒนาศักยภาพบุคลากร 3) ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล และ 4) สร้างระบบนิเวศที่เอื้อประโยชน์ร่วมกัน ผ่านความร่วมมือ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดกลยุทธ์ ผลผลิต ผลลัพธ์ ตัวชี้วัด และเป้าหมายสำหรับระยะ 3 ปีและ 5 ปี รวมถึงตัวอย่างโครงการที่สนับสนุนการดำเนินงาน</p>
2025-01-02T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/283690
นักสื่อสารการตลาดชุมชน: การพัฒนาทักษะการสื่อสารการตลาดของเกษตรกรเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลานิลในจังหวัดเชียงราย
2024-12-05T11:38:11+07:00
เสริมศิริ นิลดำ
aj_sermsiri@yahoo.com
กษิดิศ ใจผาวัง
aj_sermsiri@yahoo.com
นิเวศ จีนะบุญเรือง
aj_sermsiri@yahoo.com
ศิริพรรณ จีนะบุญเรือง
aj_sermsiri@yahoo.com
กรกนก นิลดำ
aj_sermsiri@yahoo.com
กฤศ โตธนายานนท์
aj_sermsiri@yahoo.com
จิรพัฒน์ อุปถัมภ์
aj_sermsiri@yahoo.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเด็นปัญหาของเกษตรกรในการสื่อสารการตลาด 2) เพื่อพัฒนาเกษตรกรให้เป็นนักสื่อสารการตลาดชุมชนในการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลานิลจังหวัดเชียงราย และ 3) เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาเกษตรกรให้เป็นนักสื่อสารการตลาดชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ด้วยการสำรวจ การสนทนากลุ่ม และการสังเกต ดำเนินการศึกษาในกลุ่มเกษตรกรจำนวน 32 คน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีการพัฒนาการด้านทักษะการสื่อสารการตลาดดิจิทัลในทุกองค์ประกอบ ได้แก่ ทักษะการเข้าถึง การวิเคราะห์และประเมิน การสร้างสรรค์ และการโต้ตอบ มีค่าเฉลี่ยการพัฒนาทักษะเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับมากหลังการเข้าร่วมกิจกรรม เกษตรกรสามารถเป็นนักสื่อสารการตลาดชุมชนด้วยการผลิตเนื้อหาที่ดึงดูดผู้บริโภคได้ เช่น การเล่าเรื่องราวผลิตภัณฑ์ผ่านภาพและวิดีโอ การถ่ายทอดสดเพื่อจำหน่ายสินค้า และการเน้นอัตลักษณ์ท้องถิ่นของชุมชน ซึ่งช่วยเพิ่มการรับรู้ในผลิตภัณฑ์และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค</p>
2025-01-02T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Authors