ท่านสมาชิกและผู้อ่านที่เคารพทุกท่าน

วารสารฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายของปีที่ 19 ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ปีที่ 20 การดำเนินงานของวารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรยังคงตระหนักถึงคุณภาพตามเกณฑ์ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.2564 ที่กำหนดให้วารสารต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความจำนวน 3 ท่าน เนื่องด้วยบทความที่ได้รับการตอบรับตีพิมพ์ล่วงหน้าของวารสารฯ ต่อเนื่องจนถึงฉบับที่ 3 ของปีที่ 21 ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานของวารสารฯ สอดคล้องกับประกาศ ก.พ.อ. บทความที่จะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านจะเริ่มที่ฉบับที่ 1 ของปีที่ 22 จึงขอเรียนแจ้งท่านผู้อ่านมา ณ โอกาสนี้

บทความในวารสารฯ ฉบับนี้ ประกอบไปด้วยบทความทางวิชาการหลากหลายสาขาวิชา ได้แก่ ภาษาและภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา ดนตรี และศิลปะการแสดง

บทความด้านภาษาและภาษาศาสตร์ ได้แก่ 1. มโนทัศน์ทางวัฒนธรรมจีนในแบบเรียนวิชาภาษาจีนชุดภาษาจีนวันละนิด 2. กันตรึมโควิด: บทบาทของเพลงเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาของชาวเขมรถิ่นไทย 3. การศึกษาการตั้งชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษและภาษาไทยตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน และ 4. กลวิธีการแปลบทบรรยายใต้ภาพยนตร์ ด้านคติชนวิทยา ได้แก่ การทดสอบของพระโพธิสัตว์ในฐานะอำมาตย์และปุโรหิต ด้านดนตรี ได้แก่ 1. เทคนิคการดีดซึงล้านนา และ 2. แนวคิดการผูกกลอนระนาดเอกในเพลงเชิดของครูสำราญ เกิดผล ศิลปินแห่งชาติ และด้านศิลปะการแสดง ได้แก่ 1. นาฏยลักษณ์สมัยกรุงศรีอยุธยาสู่การสร้างสรรค์การแสดงชุด “ระบำศรีอโยธยา” 2. แนวทางอนุรักษ์และสร้างสรรค์การรำโทนนกพิทิดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ท้ายนี้คณะผู้จัดทำวารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ยินดีรับข้อเสนอแนะหรือข้อติชมในการดำเนินงานจากท่านผู้อ่าน โดยสามารถติดต่อวารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ทางระบบ ThaiJo หรือที่อีเมล humanjournal@hotmail.com

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์
บรรณาธิการ

เผยแพร่แล้ว: 2022-12-29

มโนทัศน์ทางวัฒนธรรมจีนในแบบเรียนวิชาภาษาจีนชุดภาษาจีนวันละนิด

อรณิศา อุรพีพัฒนพงศ์, สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์, วุฒิพงษ์ ประพันธมิตร

28-44

แนวทางการอนุรักษ์และสร้างสรรค์เนื้อร้องและท่ารำการรำโทนนกพิทิด เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน

เมธาวี จำเนียร, กรกฎ จำเนียร, ทองพูล มุขรักษ์, ศศิพัชร บุญขวัญ, ยงยุทธ ปาณะศรี, วรรณา เทพณรงค์

62-72

กลวิธีการแปลบทบรรยายใต้ภาพยนตร์

โชติกา เศรษฐธัญการ, อัญชลี วงศ์วัฒนา

91-107

เทคนิคการดีดซึงล้านนา

ขรรค์เพชร คำสัตย์, คมกริช การินทร์

108-122