แนวทางการอนุรักษ์และสร้างสรรค์เนื้อร้องและท่ารำการรำโทนนกพิทิด เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน

Main Article Content

เมธาวี จำเนียร
กรกฎ จำเนียร
ทองพูล มุขรักษ์
ศศิพัชร บุญขวัญ
ยงยุทธ ปาณะศรี
วรรณา เทพณรงค์

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวและชุมชนเกี่ยวกับการแสดงรำโทนนกพิทิด และ 2) ค้นหาแนวทางอนุรักษ์และสร้างสรรค์เนื้อร้องและท่ารำการรำโทนนกพิทิดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกนักท่องเที่ยวที่ค้างคืนในพื้นที่ โดยสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 22 คน การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่รับชมรำโทนนกพิทิด และการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งมาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 10 คน มาจาก 3 กลุ่ม คือ แกนนำชุมชน วิสาหกิจชุมชนด้านการท่องเที่ยว และปราชญ์ชาวบ้านรำโทนนกพิทิด ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการแสดง ทั้งเนื้อร้อง ท่ารำ จังหวะ การแต่งกาย รวมถึงระยะเวลาในการแสดงมีความเหมาะสม แต่อาจมีเพิ่มเติมกลุ่มวัยกลางคนและเยาวชนเข้ามาร่วมแสดง เพื่อความน่าสนใจและการสืบทอดต่อไป นอกจากนี้ ควรมีการเพิ่มเติมเนื้อเพลงที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของรำโทนนกพิทิด ความเป็นธรรมชาติและวิถีชุมชนในพื้นที่ และสถานที่ท่องเที่ยว และสำหรับการอนุรักษ์และสร้างสรรค์เนื้อร้องและท่ารำการรำโทนนกพิทิดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมชนเห็นควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการอนุรักษ์และสร้างสรรค์การรำโทนนก   พิทิดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ทำให้ได้การอนุรักษ์เพลงดั้งเดิม 5 เพลง และทำ เพลงใหม่ 3 เพลง ได้แก่ เพลงประวัติรำโทนนกพิทิด เพลงป่าประ และเพลงมาเที่ยวกรุงชิง

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กาญจนา แก้วเทพ, และพีรญา ศรีเพชราวุธ. (2551). บทบาทของการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อดำรงรักษาความเป็นชุมชนเข้มแข็ง บ้านน้ำเกี๊ยน กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. วารสารนิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 26(2), 115-119.

กุลวรา สุวรรณพิมล. (2556). หลักการมัคคุเทศก์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

คนึงนิตย์ สุขขาว. สนทนากลุ่ม 22 เมษายน 2562.

ดลนิยา วรภักดี. สัมภาษณ์ 4 เมษายน 2562.

ธนิก เลิศชาญฤทธ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

นภัสรัตน์ จันทร์ทิพย์. สัมภาษณ์ 4 เมษายน 2562.

บุญเรือน หนูฤทธิ์. สัมภาษณ์ 4 เมษายน 2562.

ประเคียง โชคบัณฑิต. สัมภาษณ์ 13 เมษายน 2562.

ประมาณ เทพสงเคราะห์. (2561). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

พรรณี บุญรอดชู. สัมภาษณ์ 4 เมษายน 2562.

ภรณ์ บุญประเสริฐยิ่ง. สัมภาษณ์ 4 เมษายน 2562.

ภริตพร สุขโกศล. (2547). กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของวิทยุชุมชน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มรภ.สงขลา ดึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นทำวิจัย ‘จิตภาพโนราคลองแดน’ ถ่ายทอดท่ารำสู่ นร.ราชประชานุเคราะห์ 11 แสดงตลาดริมน้ำฯ. (2560, 9 พฤศจิกายน). สมิหลาไทมส์. สืบค้น 1 มีนาคม 2562, จาก http://www.samilatimes.co.th/?p=22987

เมธาวี แก้วสนิท, และกรกฎ จำเนียร. (2558). แนวทางการสร้างการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมอนุรักษ์รำโทนนกพิทิดของเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้เทคโนโลยีสื่อวีดิทัศน์และสื่อออนไลน์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.).

ละออง สุวรรณพัฒน์. สัมภาษณ์ 4 เมษายน 2562.

วิมล จิโรจพันธ์, ประชิด สกุณะพัฒน์, และกนิษฐา เชยกีวงศ์. (2551). มรดกทางวัฒนธรรมภาคใต้. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

สมหมาย แก้วละเอียด. สัมภาษณ์ 4 เมษายน 2562.

สรินญา สามนตราช. สัมภาษณ์ 13 เมษายน 2562.

สุชาดา ธโนภานุวัฒน์. (2560). การส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สุนีย์ ผลส่ง. สัมภาษณ์ 4 เมษายน 2562.

หีด ชุมช่วย. สัมภาษณ์ 4 เมษายน 2562.

องค์การบริหารส่วนตำบลกรุงชิง. (2561). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2558– 2560) ตำบลกรุงชิง. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2562, จาก https://www.krungching.go.th/index.php

อาจารี รุ่งเจริญ. (2557). การใช้เอกลักษณ์จากศิลปะการแสดงพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 16(1), 47-56.