การศึกษาการตั้งชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษและภาษาไทยตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน

Main Article Content

พนิตนันท์ เอี่ยมต่อม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตั้งชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษและภาษาไทยในปี พ.ศ.2562 โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างชื่อภาพยนตร์กับเรื่องย่อของภาพยนตร์ กลุ่มตัวอย่างสำหรับศึกษาวิเคราะห์ได้แก่ชื่อภาพยนตร์ต่างประเทศที่ทำรายได้สูงสุดทั่วโลก 100 อันดับแรกที่เข้าฉายในประเทศไทยปี พ.ศ.2562 โดยเป็นชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษจำนวน 100 ชื่อและชื่อภาพยนตร์ภาษาไทยจำนวน 100 ชื่อ และนำทฤษฎีอรรถศาสตร์ ปริชานมาใช้ในการวิเคราะห์และอธิบายข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัยเพื่อหาค่าความถี่คือค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษและภาษาไทยมีลักษณะเป็นชื่อที่มีความหมายโดยตรง และชื่อที่มีความหมายโดยนัย ซึ่งแบ่งเป็นชื่อความหมายเชิงนามนัย ชื่อความหมายเชิงอุปลักษณ์ และชื่อที่ผสมระหว่างความหมายเชิงนามนัยและความหมายเชิงอุปลักษณ์ สำหรับชื่อภาพยนตร์ที่มีความหมายเชิงนามนัยซึ่งเป็นลักษณะที่ปรากฏมากที่สุด พบการนำองค์ประกอบต่างๆ ของภาพยนตร์มาตั้งชื่อภาพยนตร์ ดังนี้ 1. คน 2. สิ่งที่จับต้องไม่ได้ 3. สถานที่ 4. สัตว์ 5. เหตุการณ์ย่อย 6. เวลา 7. การเคลื่อนที่ 8. สำนวน และ 9. สิ่งที่จับต้องได้ โดยพบว่า “คน” ปรากฏมากที่สุดทั้งในชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษและภาษาไทย สำหรับชื่อภาพยนตร์ที่มีความหมายเชิงอุปลักษณ์ซึ่งเป็นลักษณะที่ปรากฏรองลงมานั้น พบการนำถ้อยคำที่จัดอยู่ในแวดวงความหมายต่างๆ มาเปรียบเทียบกับลักษณะต่างๆ ในชื่อภาพยนตร์ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ดังนี้ 1. ธรรมชาติ 2. สิ่งเหนือธรรมชาติ 3. สัตว์ 4. สิ่งที่จับต้องไม่ได้ 5. คน 6. การเคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ 7. สี และ 8. สิ่งที่จับต้องได้ โดยพบชื่อที่แสดง “อุปลักษณ์ธรรมชาติ” และ “อุปลักษณ์การเคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ” มากที่สุดในชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ ส่วนชื่อภาพยนตร์ภาษาไทยพบ “อุปลักษณ์สิ่งเหนือธรรมชาติ” มากที่สุด นอกจากนี้ยังพบชื่อที่มีแวดวงความหมายมากกว่าหนึ่งแวดวงความหมายทั้งในชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษและภาษาไทยด้วย

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2556). สื่อสารมวลชนทฤษฎี และแนวทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดการพิมพ์.

โกสินทร์ ปัญญาอธิสิน. (2552). การศึกษาคำเรียกการทำอาหารในภาษาไทยถิ่นเหนือ ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จริญญา ธรรมโชโต. (2540). การศึกษาภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อเล่นของคนไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตรัง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชนกพร อังศุวิริยะ. (2557). คําเรียกชื่ออาหารในอําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 6(1), 17-30.

เชิดศักดิ์ อุดมพันธ์. (2555). อุปลักษณ์เกี่ยวกับโรคในภาษาไทยถิ่นใต้ (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นควัฒน์ สาเระ. (2550). การตั้งชื่อร้านค้าในจังหวัดปัตตานี: ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อร้านค้ากับวิถีชีวิตในชุมชน (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นลินี ศิริพรไพศาล. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบการตั้งชื่อภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์จีน. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปานทิพย์ มหาไตรภพ. (2545). นามสกุลพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว: การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พีรภาส จงตระกูล. (2562). การตั้งชื่อและการสื่อความหมายของชื่อภาพยนตร์ไทยและชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์อเมริกัน (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ภคินี แสงสว่าง. (2545). การศึกษาชื่อร้านค้าธุรกิจของคนไทยเชื้อสายจีนตามแนวภาษาศาสตร์: กรณีศึกษาเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภาคภูมิ เฉลิมวัฒน์. (ม.ป.ป). การตั้งชื่อภาพยนตร์ไทย: ภาษาที่ใช้ในสังคม (รายงานการวิจัย). ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. สืบค้น 6 สิงหาคม 2562, จาก http://human.tru.ac.th/human_culture/download/c0015.pdf

วชิรธาร บึทู และคณะ. (2559). แนวทางการตั้งชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา.

วนิดา เจริญสุข. (2532). นามสกุลของคนไทยเชื้อสายจีน: การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิธร สินถาวรกุล. (2547). วิถีการกินและความเชื่อของคนไทยที่สะท้อนจากชื่ออาหารไทยที่ใช้ในเทศกาลงานพิธีแบบดั้งเดิม (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภวรรณ ทองวัน. (2555). กลวิธีการแปลชื่อภาพยนตร์ตลกอเมริกันเป็นภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สาริสา อุ่นทานนท์. (2553). การตั้งชื่อของคนลาว: คำและความหมาย. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 27(3), 86-99.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2557). คำเรียกชื่อพืชแบบพื้นบ้านไทย: การศึกษาเชิงภาษาศาสตร์ พฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนัตตยา คอมิธิน. (2548). การศึกษาการตั้งชื่ออาหารในภาษาไทยตามแนวทฤษฎีอรรถศาสตร์ปริชาน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Fillmore, C. J. (1982). Frame semantics. In Linguistics in the Morning Calm (pp. 111-137). Seoul: Hanshin Publishing Co.

Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphors We Live By. Chicago, IL: The University of Chicago Press.

Nguyen. (2011). An investigation into linguistic features of films titles in English and Vietnamese (Master’s thesis). Da Nang, Vietnam: University of Da Nang. Retrieved September 12, 2019, from http://tailieuso. udn.vn/bitstream/TTHL_125/875/2/Summary.pdf

Zeng, H. (2019). A Cognitive-pragmatic Approach to Metaphor and Metonymy in Brand Names: A Case Study of Film Titles. Taiwan Journal of Linguistics, 17(1), 1-47.

Worldwide Box Office. (2019). BoxOfficeMojo by IMDbPro. Retrieved January 20, 2020 from https://www.boxofficemojo.com/year/world/2019/