เทคนิคการดีดซึงล้านนา

Main Article Content

ขรรค์เพชร คำสัตย์
คมกริช การินทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง เทคนิคการดีดซึงล้านนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคในการดีดซึงล้านนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ บุคลากรผู้ให้ข้อมูล คือ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน จังหวัดละ 2 คน รวม 16 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์


ผลการวิจัยพบว่า ซึงล้านนาแบ่งตามการตั้งระดับเสียงมีอยู่ 2 ประเภท คือ ซึงลูกสามและซึงลูกสี่ ใช้โน้ตตัวอักษรไทยแทนระดับเสียงในการฝึกดีดซึง เพลงที่ใช้ในการฝึกดีดซึงมีค่าการกระจาย 46 เพลง บทเพลงที่มีค่าความถี่มากที่สุดใน 10 ลำดับ ได้แก่ 1) เพลงล่องแม่ปิง 2) เพลงปุ๋มเป้ง 3) เพลงสร้อยเวียงพิงค์ 4) เพลงกุหลาบเชียงใหม่ 5) เพลงปั่นฝ้าย 6) เพลงหมู่เฮาจาวเหนือ 7) เพลงฤๅษีหลงถ้ำ 8) เพลงซออื่อ 9) เพลงซอพม่า 10) เพลงปราสาทไหว เทคนิคการปฏิบัติดีดซึงประกอบด้วย สะบัด, รัว, ไม้ดีดเดี่ยว, ไม้ดีดคู่, ลูกกระทบ, และ รูดสายซึง

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิจชัย ส่องเนตร. (2545). กระบวนการเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้านวงสะล้อ ซอ ปิน ของครูศิลปินในอำเภอเมืองจังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

จีรศักดิ์ ธนูมาศ. (4 ธันวาคม 2559). สัมภาษณ์.

แถม กลิ่นฟุ้ง. (2548). สภาพการบริหารจัดการ การเรียนการสอนดนตรีพื้นเมือง วงสะล้อซอซึงของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

นันธิดา จันทรางศุ. (2551). การศึกษาดนตรี : จากทศวรรษ 2500 ถึงปัจจุบัน. ใน โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่สาขาดนตรี. นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปรเมศวร์ สรรพศรี. (2555). เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ : การสืบทอดภูมิปัญญาการสร้างสะล้อและซึง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์. (2544). ดนตรีวิจักษ์. กรุงเทพฯ: จงเจริญการพิมพ์.

พัฒนา สุขเกษม. (7 ธันวาคม 2559). สัมภาษณ์.

ภานุทัต อภิชนาธง. (9 ตุลาคม 2559). สัมภาษณ์.

ยงยุทธ ธีรศิลป, และทวีศักดิ์ ปิ่นทอง. (2535). ดนตรีพื้นบ้านล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: กลางเวียงการพิมพ์.

ยุทธพร นาคสุข. (2550). พิณและสะล้อเมืองน่าน. ใน ดนตรีไทยอุดมศึกษาเทิดไท้ 80 พรรษา มหาราชัน. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคคีตะ-ดุริยางค์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้ง.

วิรัตน์ พรหมนวล. (11 ธันวาคม 2559). สัมภาษณ์.

วิศาลทัศน์ รัตนมงคลเกษม. (10 ธันวาคม 2559). สัมภาษณ์.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2545). ประวัติศาสตร์โบราณคดีของล้านนาประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

สมถวิล พูลทาจักร. (2538). การใช้ชุดฝึกทักษะการเล่นดนตรีไทยจะเข้ สําหรับนักเรียนประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2557). ประวัติศาสตร์ล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์.

สุพินดา ณ มหาไชย. (2559). นโยบายเด็กไทยเล่นดนตรีไทยเป็น 1 ชนิด. สืบค้น 9 ตุลาคม 2559, จาก http://www.nationtv.tv/main/content/378514874/.

อำนาจ บุญอนนท์. (2554). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ดนตรีล้านนาในเขตวัฒนธรรมน่าน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.