แนวคิดการผูกกลอนระนาดเอกในเพลงเชิด ของครูสำราญ เกิดผล ศิลปินแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการผูกกลอนระนาดเอกในเพลงเชิด ของครูสำราญ เกิดผล ศิลปินแห่งชาติ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาจากทางระนาดเอกที่ผู้วิจัยได้สืบทอดโดยตรงจากครูสำราญ เกิดผล จำนวน 4 ตัว อีกทั้งบทสัมภาษณ์ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดการผูกกลอนระนาดเอกของครูสำราญ เกิดผล มีรูปแบบแนวคิดการผูกกลอนเป็นสามระดับ คือ ระดับที่หนึ่ง การรักษาโครงสร้างทำนอง ประกอบด้วย ลูกตก กลุ่มเสียง และทิศทางการเคลื่อนที่ของทำนอง ระดับที่สอง คือ กลวิธีการผูกกลอน ประกอบด้วย 4 วิธีการ คือ 1) ผูกกลอนแบบเรียงลูก 2) ผูกกลอนข้ามเสียงไม่เกินคู่ห้า 3) ผูกกลอนตีได้ทั่วผืน และ 4) ผูกกลอนไม่จนทาง ระดับที่สาม คือ การสร้างสัมผัสทำนองด้วยการ “ซ้ำกระสวนทำนอง” ภายในวรรคและประโยคเพื่อสร้างความสมดุลให้กลอนระนาด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
จรัญ กาญจนประดิษฐ์. (2560). เดี่ยวขลุ่ยเพียงออ เพลงสองชั้น. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2552). องค์ความรู้ศิลปินแห่งชาติ : นายสำราญ เกิดผล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
ณัฐวุฒิ สุธนไพบูลย์. (2560) การจัดการองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาสำนักดนตรีไทยพาทยรัตน์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรชัย ผลนิโครธ. (2561). โหมโรงเย็น: ระนาดเอก ทางครูสำราญ เกิดผล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
พิชิต ชัยเสรี. (2559). สังคีตลักษณ์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิษณุ บุญศรีอนันต์. (2551). การศึกษากลอนระนาดเอกและเทคนิคการบรรเลงระนาดเอกเพลงตระในพิธีไหว้ครูดนตรีไทย บรรเลงโดย ครูนัฐพงศ์ โสวัตร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วราห์ เทพณรงค์. (2560). โน้ตเพลงไทยสำนักพาทยรัตน์ (วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.
วิเชียร เกิดผล. (2563). ศิลปินอาวุโสบ้านพาทยรัตน์. สัมภาษณ์ 23 พฤษภาคม 2563.
สำราญ เกิดผล. (2549). ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์ 18 เมษายน 2549.
อุทัย ศาสตรา. (2553). กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูประสิทธิ์ ถาวร ศิลปินแห่งชาติ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบันฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Samrongthong, B. (1997). Melodic organization and improvisation in Thai music, with special reference to the thaang ranaat eek (Doctoral dissertation). York: University of York.