เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความที่นำส่งต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดๆ มาก่อน รวมทั้งไม่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นอีกนับจากวันที่ได้ส่งมายังกองบรรณาธิการวารสาร
  • บทความที่นำส่งต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานผู้อื่น หากเกิดกรณีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนใดส่วนหนึ่งในบทความ ผู้เขียนและผู้เขียนร่วมจะต้องรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว
  • บทความที่ส่งจะผ่านการตรวจสอบการคัดลอก (plagiarism) ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ กรณีพบว่าค่าการคัดลอกเกิน 15% ทางวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธรับบทความโดยไม่นำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเบื้องต้นต่อไป
  • ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องทางไวยากรณ์และการใช้ภาษาอังกฤษ พร้อมมีการรับรองการตรวจสอบภาษาโดยผู้เชียวชาญ (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เอกสารดาวน์โหลด)
  • บทความที่มาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ต้องได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (IRB) เรียบร้อยแล้ว โดยแนบเอกสารรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาพร้อมกับบทความ
  • บทความที่ส่งต้องเป็นไปตามรูปแบบของวารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กรณีที่บทความไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด ทางวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธรับบทความโดยไม่นำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเบื้องต้นต่อไป (ดาวน์โหลด template ได้ที่เอกสารดาวน์โหลด)
  • แบบฟอร์มนำส่งบทความตีพิมพ์ต้องระบุข้อมูลของผู้เขียนทุกคน ได้แก่ ชื่อ-สกุล หน่วยงานที่สังกัด อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้สะดวก โดยดำเนินการอัปโหลดมาพร้อมกับไฟล์บทความ (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เอกสารดาวน์โหลด)

การส่งบทความ:

ดำเนินการส่งบทความผ่านระบบ ThaiJo เท่านั้น  โดยมีเอกสารที่ต้องอัปโหลด ดังนี้

  1. ไฟล์บทความ (Word และ PDF)
  2. แบบฟอร์มนำส่งบทความ
  3. แบบฟอร์มรับรองการตรวจภาษา
  4. เอกสารรับรองจริยธรรมในมนุษย์ (IRB)

 

การพิจารณาบทความ:

วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวารสารที่มีการประเมินบทความก่อนตีพิมพ์ (refereed journal) ทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ประเมินที่เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ทั้งนี้ผู้ประเมินจะไม่เห็นชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนจะบทความไม่ทราบผู้ประเมิน (double blind review)

* กระบวนการพิจารณา: Article Workflow

 

การเตรียมต้นฉบับ:

ความยาวไม่ควรเกิน 15 หน้ากระดาษ B5 ขนาดกระดาษกว้าง 18.2 ซม. ความสูง 25.7 ซม.  (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว  ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบบน 3 ซม. ขอบซ้ายและขวา 2 ซม. และขอบล่าง 2 ซม. บทความที่เขียนด้วยภาษาไทยและภาษาไทยที่มีภาษาอังกฤษผสม ให้ใช้ตัวอักษร “Cordia New ขนาด 14” โดยกำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 ส่วนบทความภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร “Cordia New ขนาด 14” โดยกำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 โดยเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า

            รายการ
            ชื่อบทความ
            ชื่อผู้แต่ง
            บทคัดย่อ
            เนื้อหาบทคัดย่อ
            หัวข้อแบ่งตอน
            หัวข้อย่อย
            บทความ
            การเน้นความในบทความ
            ข้อความในตาราง
            ข้อความอ้างอิง
            เอกสารอ้างอิง

ลักษณะตัวอักษร
หนา
หนา
หนา
ปกติ
หนา
หนา
ปกติ
หนา
ปกติ
เอียง
หนา

รูปแบบการพิมพ์
กลางหน้ากระดาษ
ชิดขวา
ชิดซ้าย
-
ชิดซ้าย
ใช้หมายเลขกำกับ
-
-
-
-
กลางหน้ากระดาษ

ขนาดตัวอักษร
18
14
14
13
14
14
14
14
13
14
14

หมายเหตุ: หากในต้นฉบับมีการใช้ภาษาอื่น ๆ นอกเหนือจากภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กำหนดให้ใช้รูปแบบตัวอักษร ดังนี้

 

รูปแบบและภาษา:

ผู้เขียนบทความควรใช้รูปแบบการเขียนบทความและสำนวนภาษาเหมาะสมกับลักษณะของบทความทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป มีการตรวจทานต้นฉบับแล้วเป็นอย่างดีทั้งรูปแบบและการสะกด

 

บทคัดย่อ:

ผู้เขียนบทความต้องแนบบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งสรุปสาระสำคัญของบทความ โดยแยกหน้าต่างหากไม่รวบอยู่ในบทความ  บทคัดย่อไม่เกิน 10 บรรทัด สำหรับบทคัดย่อภาษาไทย และไม่เกิน 200 คำ สำหรับบทความภาษาอังกฤษ  หรือบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษรวมกันไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ  สำหรับบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องทางไวยากรณ์และการใช้ภาษาเอง สำหรับบทความที่เขียนด้วยภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้แนบบทคัดย่อภาษาไทย  ส่วน abstract สามารถใช้ภาษาที่เขียนบทความได้  แต่ผู้เขียนต้องรับผิดชอบความถูกต้องของภาษาเอง

 

คำสำคัญ:

ผู้เขียนต้องกำหนดคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน 3 ถึง 5 คำ สำหรับบทความด้วย โดยเรียงคำสำคัญตามระดับความเกี่ยวพันกับบทความ

 

บทความจากวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของการศึกษา:

ให้ระบุข้อความไว้ที่เชิงอรรถ เช่น

  • บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง "...."
  • บทความนี้ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์เรื่อง "..."
  • บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา "..."

พร้อมระบุปริญญา สาขาวิชา สถาบัน และปี

 

การอ้างอิง:

แหล่งข้อมูลทั้งหมดที่อ้างอิงในบทความต้องปรากฏตามลำดับตัวอักษร ก-ฮ ตามด้วย A-Z ในรายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ โดยบทความที่ได้รับการตอบรับตีพิมพ์ในวารสารฯ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2568) เป็นต้นไป และบทความที่ส่งเข้ามาตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบการอ้างอิง APA (7th ed.) ระบบเดียวกันทั้งเรื่อง ทั้งนี้ ผู้เขียนบทความต้องรับผิดชอบความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด

* ดูรูปแบบการอ้างอิงและตัวอย่าง: APA 6th Ed. | APA 7th Ed.