นาฏยลักษณ์สมัยกรุงศรีอยุธยาสู่การสร้างสรรค์การแสดงชุด “ระบำศรีอโยธยา”

Main Article Content

สุรัตน์ จงดา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานาฏยลักษณ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วนำมาสร้างสรรค์การแสดงชุด “ระบำศรีอโยธยา" โดยผู้วิจัยได้นำทฤษฎีนาฏยประดิษฐ์การคิดสร้างให้เป็นของเก่าแก่ โบราณและดั้งเดิมตามแบบแผนบรรพบุรุษมาเป็นแนวคิด และศึกษานาฏยลักษณ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจากภาพจิตรกรรม หุ่นหลวง สมุดข่อย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อีกทั้งตำราในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ที่ทรงรวบรวมท่ารำที่เคยมีอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาไว้เป็นตำรารำ


ผลการวิจัยพบว่า นาฏยลักษณ์ของท่ารำตัวนางที่ปรากฏในตำรารำนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวตามภาพในตำรารำ ดังนั้นการสร้างสรรค์การแสดงชุดนี้จึงมีลักษณะของโครงสร้างท่ารำ คือ "รำวงแคบ แอ่นตัว เหลี่ยมขากว้าง” ใช้ผู้แสดงหญิงล้วนตามแบบอย่างการแสดงในราชสำนัก จำนวน 4 คน เครื่องแต่งกายออกแบบตามภาพจิตรกรรมในสมุดข่อย สวมศิราภรณ์และเล็บปลอมยาวแบบอย่างหุ่นหลวง ร่ายรำประกอบวงดนตรีปี่พาทย์เครื่องห้า การแสดงแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การออกของเหล่านางฟ้าด้วยเพลงเสมอ ช่วงที่ 2 การรำตีบทตามคำร้องที่บรรยายถึงการจับระบำของเหล่านางฟ้า และช่วงที่ 3 การเข้าด้วยเพลงเชิด ผลจากการสร้างสรรค์นี้จะเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์งาน และต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านนาฏศิลป์ไทยต่อไป

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2540). ตำรารำ. กรุงเทพมหานคร: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

โครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย. (2542). หนังสือสมุดข่อย. กรุงเทพมหานคร: สตาร์ปริ้นท์.

จักรพันธุ์ โปษยกฤต. (2529). หุ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์การพิมพ์.

พีรพงศ์ เสนไสย. (2546). นาฏยประดิษฐ์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภาพประวัติศาสตร์โนรา. (ม.ป.ป.). ภาพจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม จังหวัดเพชรบุรี. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561 จาก http://historynora.blogspot.com/2016/08/blog-post_52.html.

สุภาวดี โพธิเวชกุล. (2559). พัฒนาการแม่บทในนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.