กลวิธีการแปลบทบรรยายใต้ภาพยนตร์

Main Article Content

โชติกา เศรษฐธัญการ
อัญชลี วงศ์วัฒนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์และนำเสนอกลวิธีการแปลบทบรรยายใต้ภาพยนตร์จากต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นฉบับแปลภาษาไทย ที่แปลโดยนักแปลมืออาชีพ โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบทบรรยายใต้ภาพของภาพยนตร์ภาษาอังกฤษยอดนิยมสูงสุดใน Box Office และวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ การวิเคราะห์กลวิธีการแปลโดยรวม ตามทฤษฎีของ Newmark (1988) และการวิเคราะห์กลวิธีการแปลเฉพาะส่วน ตามทฤษฎีของ Gottlieb (1992) ผลการวิเคราะห์พบว่า นักแปลมืออาชีพเลือกใช้กลวิธีการแปลโดยรวม 7 กลวิธี ได้แก่ การแปลสื่อความ (37%) การแปลแบบถอดความหมาย (29%) การแปลตรงตัว (20%) การไม่แปล (6%) การแปลแบบสำนวน (4.1%) การแปลแบบเสรี (2.3%) และการแปลตามตัวอักษร (1.6%) ตามลำดับ แสดงว่าผู้แปลให้ความสำคัญกับความหมายสื่อสารตามธรรมชาติ มากกว่าความหมายตรงตามต้นฉบับ ส่วนการวิเคราะห์กลวิธีการแปลเฉพาะส่วน พบว่ากลวิธีที่นักแปลเลือกใช้มากที่สุดจากทั้งหมด 19 กลวิธี ได้แก่ การละความ (17.7%) การขยายความ (17.6%) และการถอดความ (14%) ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า ผู้แปลมุ่งแก้ไขปัญหาความไม่กระชับของบทแปลมากที่สุด รองลงมาเพื่อแก้ปัญหาความไม่สมบูรณ์ของบทแปล และเพื่อแก้ปัญหาความแตกต่างกันของโครงสร้างภาษาคู่แปล ในจำนวนกลวิธีการแปลเฉพาะส่วนทั้งหมด 19 กลวิธี มีอยู่ 6 กลวิธีที่ค้นพบใหม่ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ การเปลี่ยนคำ การเทียบคู่ปริบท การเทียบคู่เจตนาสื่อสาร การเทียบคู่ความไม่สุภาพ การเทียบคู่ความสุภาพ และการเทียบคู่กาล

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

โชติกา เศรษฐธัญการ. (2553). กลวิธีการแปลหน่วยสร้างประโยคเน้นส่วนในเนื้อหาที่เป็นวิชาการ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ไทยรัฐออนไลน์. (2559, 25 สิงหาคม). เจ๋งจัด อ.แก๊ป นักแปลซับหนัง แห่งสยามประเทศ. สืบค้น 1 ธันวาคม 2559, จาก http://www.thairath.co.th/content/688808.

วิศรา ทองมาก. (2549). พฤติกรรมการชมภาพยนตร์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2558). เอกสารคำสอน วจีวิภาคและวากยสัมพันธ์ ภาษาศาสตร์ในแนวหน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษา. พิษณุโลก: ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Armellino, E. (2008). Translating Culture-Bound Elements in Subtitling—An Example of Interlinguistic Analysis: a Scene from Scent of a Woman. Translation Journal, 12(2). Retrieved December 15, 2017, from http://translationjournal.net/journal/44culturebound.htm.

Box Office Mojo. (February 13, 2018). Thailand Yearly Box Office. Retrieved February 13, 2018, from http://www.boxofficemojo.com/intl/thailand/yearly/.

Brondeel, H. (1994). Teaching Subtitling Routines. Meta: Translators' Journal, 39(1), 26-33. Retrieved December 15, 2017, from http://www.erudit.org/revue/meta/1994/v39/n1/002150ar.pdf.

Chesterman, A. (1997). Memes of Translation: The Spread of Ideas in Translation Theory. Amsterdam: John Benjamins.

Dirks, T. (December 15, 2017). Main Film Genres. Retrieved December 15, 2017 from http://www.filmsite.org/genres.html.

Ghaemi, F., & Benyamin, J. (2011). Strategies Used in the Translation of Interlingual Subtitling. Journal of English Studies, 1(1), 39-49. Retrieved December 15, 2017 from http://jes.srbiau.ac.ir/pdf_5620_75fb637cb8bfcfbe2e2a293a90bba1cb.html.

Givón, T. (1990). Syntax: A Functional Typology Introduction. Amsterdam & Philadelphia: John Benjamins.

Gottlieb, H. (1992). Subtitling: A new university discipline. In C. Dollerup & A. Loddegaard (Eds.), Teaching translation and interpreting: Training, talent, and experience (pp.161-170). Amsterdam & Philadelphia: John Benjamins.

Gottlieb, H. (1995). Establishing a framework for a typology of subtitle reading strategies. Viewers' reaction to deviations from subtitling standards. Communication Audiovisuelle et Transferts Linguistiques - FIT Newsletter, 14(3-4), 388-409.

Gottlieb, H. (2005). Subtitling People: Nine Pedagogical Pillars. In Screen Translation. Eight Studies in Subtitling, Dubbing and Voice-over (pp. 41-52). Copenhagen: Centre for Translation Studies, Institute of English, Germanic & Romance Studies, University of Copenhagen.

Hatim, B., & Mason, I. (1997). The Translator as Communicator. London: Routledge.

Nelmes, J. (2012). Introduction to Film Studies. London: Routledge.

Newmark, P. (1988). A Textbook of Translation. New York: Prentice Hall International.

Taylor, C. (2000). The Subtitling of Film: reaching another community. In E. Ventola (ed.), Discourse and Community; Doing Functional Linguistics. Tübingen: Gunter Narr Verlag. Retrieved December 15, 2017 from http://www.sub2learn.ie/downloads/taylorthe_subtitlingof_film_reaching_another_community.pdf.

Sharif, F. D., & Sohrabi, A. (2015). To What Extent the Strategies that Gottlieb Offered in his Subtitling Typology are Applicable into the Persian-to-English Subtitling?. ELT Voices- International Journal for Teachers of English, 5(3), 73-87.