วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - เมษายน 2560

 

ท่านสมาชิกและผู้อ่านที่เคารพทุกท่าน

          ก้าวเข้าสู่ปีที่ 14 ของวารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีนี้เป็นปีที่วารสารฯ มีการปรับปรุงรูปแบบอีกครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) รวมถึงการเข้าสู่ระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ THAIJO (Thai Journals Online System) ซึ่งจะทำให้บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฯ ถูกสืบค้นได้ง่ายและขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น

         บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ประกอบไปด้วยบทความด้านภาษา วรรณกรรม และคติชนวิทยา รวมถึงด้านการเรียนการสอนภาษา อันได้แก่ บทความเรื่อง วิเคราะห์คำศัพท์เขมรจากพจนานุกรมเขมร ฉบับพุทธศาสนบัณฑิตย์ พ.ศ. 2512 ที่พ้องกับคำศัพท์ไทย การศึกษาคุณค่าของภูมินามในตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย การศึกษาเปรียบเทียบความเปรียบ “ไซ่ฮั่น” ฉบับภาษาจีนกับฉบับแปลภาษาไทย สง่างามในความอ่อนน้อม : การนำเสนอตัวละครเอกหญิงในงานวรรณกรรมไทย บทสู่ขวัญหลวงของลาวกับอีสาน : โครงสร้างทางวรรณกรรมและบทบาทหน้าที่ อาร์คีไทพ์   ครูบาอาจารย์ : การศึกษาบทบาทของครูบาอาจารย์ในระบอบประเพณีฮินดูในการพัฒนาจิตวิญญาณของศิษย์ การเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในระดับอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และความเชื่อในการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา

          นอกจากนี้ยังนำเสนอบทแนะนำหนังสือเรื่อง “ปัญจตันตระ ชุดนิทานเอกอมตะของโลก เล่ม 1  การแตกมิตร และ เล่ม 2 การผูกมิตร” โดย อาจารย์อรจิรา อัจฉริยไพบูลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร   

          ท้ายนี้ คณะผู้จัดทำขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจส่งบทความเข้ารับการพิจารณา เพื่อลงตีพิมพ์กับวาสารฯ หากมีข้อแนะนำหรือติชมประการใด คณะผู้จัดทำยินดีน้อมรับและปรับปรุงเพื่อให้วารสารมีมาตรฐานดียิ่งขึ้นต่อไป 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์

                             บรรณาธิการ

เผยแพร่แล้ว: 2019-02-12

บทสู่ขวัญหลวงของลาวกับอีสาน : โครงสร้างทางวรรณกรรมและบทบาทหน้าที่

สายหยุด  บัวทุม, กาญจนา  วิชญาปกรณ์, ประจักษ์  สายแสง

29-46

การศึกษาเปรียบเทียบความเปรียบ “ไซ่ฮั่น” ฉบับภาษาจีน กับฉบับแปลภาษาไทย

Liu Jian Lu, พัชรินทร์  อนันต์ศิริว, ภูริวรรณ  วรานุสาสน์

73-82