สง่างามในความอ่อนน้อม: การนำเสนอตัวละคนเอกหญิงในงานวรรณกรรมไทย

Main Article Content

กาญจนา วิชญาปกรณ์
ทศพล สุรนัคครินทร์

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การนำเสนอตัวละครหญิงผ่านมุมมองของสตรีนิยมสายวัฒนธรรมในงานวรรณกรรมของไทยจำนวนสามเรื่อง ได้แก่ อิเหนา กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ และสี่แผ่นดิน ถึงแม้ว่าตัวละครหญิงในวรรณกรรมในงานวรรณกรรมเหล่านี้จะถูกนำเสนอให้มีคุณสมบัติตามแบบฉบับของการเป็นผู้หญิงที่ดีในสังคมปิตาธิปไตย ผลของการวิจัยพบว่า ตัวละครหญิงในงานวรรณกรรมทั้งสามเรื่องสามารถเปลี่ยนคุณสมบัติต่างๆ ให้กลายเป็นอำนาจที่ช่วยให้ตนเองได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าจากบุคคลต่างๆที่อยู่รอบข้าง ทั้งในแง่ของความคิด ความรู้สึก อารมณ์ และพฤติกรรม กล่าวคือ ในด้านหนึ่ง วิธีคิดแบบปิตาธิปไตยได้กำหนดมาตราฐานทางด้านความประพฤติของผู้หญิงไว้สูงกว่าผู้ชาย ผู้หญิงถูกคาดหวังให้แสดงออกถึงบทบาททางเพศทั้งในสังคมและในครอบครัว โดยการรักษาสถานะของการเป็นผู้ตามที่ดี มีความนุ่มนวล รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน และเป็นคนขยันขันแข็ง แต่ในอีกด้านหนึ่ง บทบาททางเพศตามแบบฉบับของผู้หญิงดังกล่าวถือได้ว่ามีความสำคัญเทียบเท่ากับบทบาททางเพศของผู้ชาย หากไม่มีผู้หญิงมาเป็นผู้เติมเต็มบทบาททางเพศของภรรยาและมารดาแล้ว ผู้ชายและสมาชิกอื่นๆในครอบครัวคงจะไม่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ดังนั้น การดำเนินบทบาททางเพศตามแบบฉบับของผู้หญิง จึงไม่ควรถูกมองว่าเป็นการถูกลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ แต่เป็นพื้นที่ที่ช่วยให้ผู้หญิงให้ได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าในฐานะปัจเจกบุคคลที่เสียสละเพื่อความสุขของสมาชิกในครอบครัว

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ