บทสู่ขวัญหลวงของลาวกับอีสาน : โครงสร้างทางวรรณกรรมและบทบาทหน้าที่

Main Article Content

สายหยุด  บัวทุม
กาญจนา  วิชญาปกรณ์
ประจักษ์  สายแสง

บทคัดย่อ

           บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง  “เปรียบเทียบบทสู่ขวัญลาวกับบทสู่ขวัญอีสาน :  โครงสร้างทางวรรณกรรมและบทบาทหน้าที่”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทสู่ขวัญหลวงของลาวกับบทสู่ขวัญหลวงอีสาน  ผลการวิจัยพบว่า  บทสู่ขวัญหลวงหรือสู่ขวัญใหญ่เป็นบทสู่ขวัญประเภทหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมสู่ขวัญสำหรับผู้อาวุโสที่ชุมชนให้ความเคารพนับถือ  ซึ่งจะไม่ใช้กับบุคคลธรรมดาทั่วไป  บทสู่ขวัญหลวงของลาวและอีสานจัดเป็นวรรณกรรมประยุกต์ที่มีฉันทลักษณ์แบบร่ายยาว  มีโครงสร้างเนื้อหาประกอบด้วย  1)บทชุมนุมเทวดา  2)บทประณามหรือบทไหว้  3)บทเกริ่นหรืออารัมภบท  4)บทเชิญขวัญหรือเรียกขวัญ  5)บทปลอบขวัญ 6)บทปัดเคราะห์   7)บทให้พร และยังพบตัวบทลักษณะเป็นบทขู่ขวัญในโครงสร้างบทสู่ขวัญหลวงของอีสาน  1 บท  ด้านการใช้ภาษามีความโดดเด่นในเรื่องการใช้ภาษาบาลี-สันสกฤต  ปะปนอยู่ในตัวบท  ไม่ว่าจะเป็นตอนต้น ตอนจบ และแทรกในตัวบทเพื่อสร้างแรงศรัทธา มุ่งให้เกิดความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมอันจะส่งผลดีทางด้านจิตใจแก่  ผู้เจ็บป่วย  นอกจากนั้นบทสู่ขวัญหลวงของลาวและอีสานยังเป็นวรรณกรรมที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการถ่ายทอดความเชื่อเรื่องขวัญ  พิธีกรรมการสู่ขวัญ  และมีบทบาทหน้าที่ในการสะท้อนสภาพสังคมของลาวและอีสานในด้านต่าง ๆ  เช่น  วิถีชีวิตความเป็นอยู่  ความเชื่อ  และการจัดระเบียบสังคมในระบบเครือญาติ

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biographies

สายหยุด  บัวทุม

อาจารย์สายหยุด  บัวทุม

นิสิตปริญญาเอก หลักสูตรศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-Mail:  [email protected]

กาญจนา  วิชญาปกรณ์

รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา  วิชญาปกรณ์

ศศ.ด. (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย  คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-Mail:  [email protected]

ประจักษ์  สายแสง

รองศาสตราจารย์ประจักษ์  สายแสง

Ed.D.(Higher Education Administration) Indiana University, USA

อาจารย์ประจำภาควิชาคติชนวิทยา ปรัชญา และศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-Mail:  [email protected]