การศึกษาเปรียบเทียบความเปรียบ “ไซ่ฮั่น” ฉบับภาษาจีน กับฉบับแปลภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้สำนวนภาษาความเปรียบของวรรณกรรมเรื่องไซ่ฮั่นฉบับภาษาจีนกับฉบับแปลภาษาไทย ถึงความคล้ายคลึงหรือแตกต่างระหว่างความเปรียบของวรรณกรรมทั้งสองภาษา
ผลการศึกษาพบว่า ความเปรียบ ’เหมือน’ และความเปรียบ ’เป็น’ ที่ปรากฏในวรรณกรรมแปลพงศาวดารจีนเรื่องซีฮั่นเหยี่ยนอี้ (西汉演义 xi han yan yi) เป็นฉบับภาษาไทย สรุปได้ว่ามีวิธีการแปล 2 ประเภท ได้แก่ 1. การแปลที่ผู้เรียบเรียงเป็นฉบับภาษาไทยตัดข้อความการเปรียบเทียบในต้นฉบับภาษาจีนออก ทั้งนี้อาจเพราะเป็นข้อความนั้นไม่สำคัญ หรือเข้าใจยาก เป็นสิ่งที่คนไทยไม่รู้จัก ไม่เคยพบ เพราะสะท้อนแนวคิดด้านวัฒนธรรมที่ต่างไปจากของไทย 2. การแปลเป็นฉบับภาษาไทยโดยผู้เรียบเรียงเพิ่มเติมการเปรียบเทียบทั้งๆ ที่ฉบับภาษาจีนไม่มีการเปรียบเทียบ
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน