ความเชื่อในการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา

Main Article Content

ณภัทร  แสนโภชน์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำรวจความเชื่อ (Beliefs) ต่อการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจของนิสิตวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยพะเยากลุ่มที่เคยเรียน (กลุ่มที่ 1) และไม่เคยเรียน (กลุ่มที่ 2) วิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ  โดยใช้แบบสอบถาม ดัดแปลงมาจากแบบสอบถามของ Horwitz ที่เรียกว่า BALLI ใน 5 ด้าน (ความยาก กลยุทธ์   การสื่อสาร ธรรมชาติ แรงจูงใจ  และความถนัด)  ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความเชื่อในการเรียนโดยใช้การทดสอบสถิติ  t - test     ผลการสำรวจพบว่านิสิตกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีความเชื่อในระดับเห็นด้วย ใน 4 ด้าน เรียงค่าร้อยละจากมากไปหาน้อย : ด้าน ความยาก (85.6 และ 84.2) กลยุทธ์การสื่อสาร (80.4 และ 83.4) แรงจูงใจและความคาดหวัง (74.6  และ 78.2)  ธรรมชาติ (70.2 และ76.2)  ส่วนด้าน ความถนัด (59.8 และ 59.4)  นิสิตมีความเชื่อในระดับ เห็นด้วยปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบค่า เฉลี่ยโดยการทดสอบค่า t  พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นด้าน ธรรมชาติจะมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05   


           จากผลการวิเคราะห์ สรุปได้ว่านิสิตทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่มีทัศนคติในเชิงบวกในการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ  เนื่องจากนิสิตได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนวิชานี้  อาจจะเห็นความสำคัญและประโยชน์ในการที่จะนำความรู้   ไปใช้ในการติดต่อ สื่อสาร ในการทำงาน และความเชื่อในด้านนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจของนิสิต

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biography

ณภัทร  แสนโภชน์

อาจารย์ณภัทร  แสนโภชน์

Master of Arts (Cross Cultural) International Communication, Achi University Japan

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

E-Mail: [email protected]