วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (Journal of Humanities Naresuan University; JHNU) เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ปรัชญาและศาสนา ดนตรีและนาฏศิลป์ โดยมีการประเมินบทความก่อนตีพิมพ์ (refereed journal) โดยผู้ประเมินจำนวน 3 ท่าน ทั้งนี้ ผู้ประเมินไม่เห็นชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบผู้ประเมิน (double blind review) มีกำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ราย 4 เดือน คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม

ขอแจ้งเปลี่ยนแปลง บ.ก. และกอง บ.ก.

2023-09-22

 

เรียน ผู้วิจัยทุกท่าน

วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอแจ้งปรับเปลี่ยนคณะกรรมการจัดทำวารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จากเดิม บรรณาธิการวารสารคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์

เปลี่ยนเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แคทรียา อังทองกำเนิด

ทั้งนี้ ตั้งแต่วารสารฯ ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม 2566) เป็นต้นไป

**ข้อมูลเพิ่มเติม: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/about/editorialTeam

ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 (2023): พฤษภาคม - สิงหาคม 2566

ท่านสมาชิกและผู้อ่านที่เคารพทุกท่าน

วารสารฉบับนี้เป็นฉบับที่ 2 ของปีที่ 20 นำเสนอบทความวิจัยและบทความวิชาการที่หลากหลายทางด้านมนุษยศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นภาษาศาสตร์ วรรณคดี คติชนวิทยา การเรียนการสอนภาษา และดนตรี

วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร รับบทความตีพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ วารสารฉบับนี้มีบทความภาษาอังกฤษจำนวน 2 เรื่อง ประกอบด้วยบทความด้านวรรณคดี คือ In the Postcolonial Mindscape of Stieg Larsson’s The Girl Who Kicked the Hornet’s Nest: An Immigrant’s Story และบทความด้านการเรียนการสอนภาษา คือ A Practical Learning Tool for Traffic Police Officers in Chiang Mai, Thailand ส่วนบทความภาษาไทย ประกอบไปด้วยบทความด้านภาษาศาสตร์ คือ กลวิธีทางภาษากับการนำเสนอภาพ “หญิงร้ายชายเลว” ในรายการพุธทอล์คพุธโทร บทความด้านคติชนวิทยา ได้แก่ “การสาปแช่ง” ในจารึกสุโขทัย และ “คำกลอนการขุดพระ”: เรื่องเล่าเกี่ยวกับการขุดพระกรุ ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาจากวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ที่แต่งในทศวรรษ 2500 บทความด้านวรรณคดี คือ เมื่อคืนได้ตายไปแล้ว: สภาวะสมัยใหม่และภาพตัวแทนของชนบทในเรื่องสั้นไทยและมาเลเซียทศวรรษที่ 2510-2520 บทความด้านการเรียนการสอนภาษา คือ ผลการใช้หนังสือแบบฝึกทักษะความจริงเสริม (Augmented Reality) เรื่องการเขียนตัวอักษรภาษาเกาหลี เพื่อพัฒนาการเขียนตัวอักษรภาษาเกาหลีของผู้เรียนระดับต้น และบทความด้านดนตรี คือ การปรับแต่งคุณภาพเสียงจะเข้ ตามแนวทางของอาจารย์ศิวศิษฏ์ นิลสุวรรณ

คณะผู้จัดทำวารสารฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความวิจัยและบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย และขอขอบพระคุณผู้แต่งทุกท่านที่ส่งบทความเพื่อขอรับพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารฯ หากท่านมีข้อติชมหรือข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามหรือส่งข้อเสนอแนะของท่านมาได้ที่อีเมล humanjournal@hotmail.com


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์
บรรณาธิการ

เผยแพร่แล้ว: 2023-08-31

ดูทุกฉบับ