ชื่อธุรกิจการค้าในซอยหัวหิน 72: การศึกษาตามแนวภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์

Main Article Content

รุ่งทิวา สุภานันท์
ฉัตรแก้ว ยุวพรม
อนุสรา ศรีวิระ
ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของป้ายชื่อธุรกิจการค้าในซอยหัวหิน 72 ตามแนว ภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 34 ร้านค้า จากการศึกษาประเภทธุรกิจการค้าพบว่า ธุรกิจการค้าในซอย หัวหิน 72 แบ่งเป็น 11 ประเภท ธุรกิจการค้าที่พบมากที่สุดคือธุรกิจการค้าเกี่ยวกับอาหารพบจำนวน 13 ร้าน ธุรกิจที่พบรองลงมาคือร้านนวด จำนวน 6 ร้าน ร้านเครื่องแต่งกาย จำนวน 5 ร้าน ร้านขายน้ำ จำนวน 2 ร้าน ที่พัก จำนวน 2 ร้าน ในขณะที่ธุรกิจการค้าประเภทร้านของฝาก ร้านกาแฟ ร้านขายอาหารสัตว์ โรงน้ำแข็ง ร้านทอง และร้านขายยาพบน้อยที่สุดประเภทละ 1 ร้านค้า ด้านการวิเคราะห์องค์ประกอบของป้ายธุรกิจการค้าตามกรอบ SPEAKING หรือ ภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ฉาก (Setting) หรือพื้นที่ที่ปรากฏคือซอยหัวหิน 72 เป็นซอยที่ประกอบ ธุรกิจการค้าหลากหลายประเภท มีผู้ใช้บริการหลายเชื้อชาติ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีภาวะพหุภาษา
(Multilingualism)

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กฎกระทรวงกำหนดอัตราภาษีป้าย พ.ศ. 2563. (2563, 3 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนที่ 98 ก. หน้า 18-19. สืบค้นจาก https://www.huatapan.go.th/datacenter/doc_download/a_050221_160936.PDF

กฤตพล วังภูสิต. (2555). ชื่อธุรกิจการค้าในย่านสยามสแควร์: การศึกษาตามเเนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตตินาถ เรขาลิลิต. (2563). การเลือกภาษาของป้ายสาธารณะในมหาวิทยาลัยของไทย กรณีศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เเละมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 27(2), 310-341.

บัญชา จันทราช, ปรีชา ปาโนรัมย์, ธนกร เพชรสินจร, และ ชุมพล รอดแจ่ม. (2561). ธุรกิจนวดแผนไทยและความสำเร็จในการช่วงชิงความได้เปรียบด้านความโดดเด่นทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวในเมืองนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(2), 65-73.

พิชัย แก้วบุตร, และ นพวรรณ เมืองแก้ว. (2563). ป้ายและชื่อธุรกิจการค้าในท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี: การศึกษาตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(2), 225-253.

พิชัย แก้วบุตร. (2563). ความพร้อมด้านภาษาจีนของท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดสุราษฎ์ธานีกับ MICE CITY : การศึกษาตามเเนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(1), 89-102.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ตามนโยบายภาษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561-2564. สืบค้นจาก http://legacy.orst.go.th/wp-content/uploads/2018/11/ร่าง-แผนยุทธศาสตร์นโยบายภาษาชาติ-ส่วน1.pdf

Huebner, T. (2009). A framework for the linguistic analysis of linguistic landscapes. In E. Shohamy & D. Gorter (Eds.). Linguistic landscape: Expanding the scenery (pp. 70-87) New York: Routledge.

Hymes, D. (1974). Foundation in sociolinguistic: An ethnographic approach. Philadelphai: University of Pennsylvania Press.