รูปแบบการสูญเสียความหมายในการแปลคำนามนับได้และนับไม่ได้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยบูรพา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสูญเสียความหมายในการแปลคำนามภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบทดสอบการแปลจากตัวอย่างจำนวน 230 คน ทั้งหมดเป็นนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยบูรพา ผลการศึกษาพบว่า ข้อผิดพลาดในการแปลคำนามซึ่งทำให้ความหมายของต้นฉบับสูญเสียไปมี 5 รูปแบบได้แก่ 1. การไม่ถ่ายทอดความหมายคำนาม 2. การถ่ายทอดความหมายคำนามด้วยกริยาวลี 3. การถ่ายทอดความหมายคำนามที่แตกต่างจากข้อมูลทางไวยากรณ์ประจำคำ 4. การถ่ายทอดความหมายคำนามตรงตามข้อมูลทางไวยากรณ์ประจำคำ แต่ความหมายประจำคำไม่ตรงตามต้นฉบับ 5. การถ่ายทอดความหมายคำนามด้วยการทับศัพท์หรือการถ่ายเสียง ผลการวิจัยช่วยให้ผู้แปลตระหนักรู้การหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านี้ และเป็นแนวทางไปสู่การหากลวิธีการแปลคำนามที่ถูกต้องเหมาะสมในบริบทอื่น ๆ ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
ณัฐมา พงศ์ไพโรจน์, และ ปรีมา มัลลิกะมาส. (2547). อิทธิพลของภาษาอังกฤษในบทแปลภาษาไทย. วารสารอักษรศาสตร์, 33(1), 69-110.
ดวงตา สุพล. (2545). ทฤษฎีและกลวิธีการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญรัตน์ ปาณะกุล. (2562). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการแปลของผู้สอบคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลภาษาอังกฤษ-ไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 38(2), 39-56.
วรนาถ วิมลเฉลา. (2543). คู่มือสอนแปล (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมภพ ใหญ่โสมานัง. (2563). ความเข้าใจโครงสร้างและไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่ส่งผลต่อการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยบูรพา [รายงานการวิจัย]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สัญฉวี สายบัว. (2540). หลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพรรณี ปิ่นมณี. (2548). การแปลขั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพรรณี ปิ่นมณี. (2555). แปลผิด-แปลถูก คัมภีร์การแปลยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพรรณี อาศัยราช, ทัศนีย์ จันติยะ, และ จิราภรณ์ กาแก้ว. (2560). ปัญหาและกลวิธีการแปลบทความทางการศึกษาจากภาษาอังกฤษเป็นไทยของนิสิตสาขาภาษาอังกฤษศึกษา. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 1(1), 71-85.
Chaiyo, P. (2020). Errors in translating articles from English into Thai: Translation process or grammatical knowledge. International Journal of Scientific and Research Publications, 10(7), 725-731.
Pojprasat, S. (2007). An analysis of translation errors made by Mattayomsuksa 6 students (Unpublished Master’s Thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University.