การรำในพิธีแย่งศพของชาวมอญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา การสืบทอด และองค์ประกอบการรำในพิธีแย่งศพของชาวมอญคณะรำหมู่บ้านวังกะ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ แล้วนำผลมาวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีคติชนวิทยา และแนวคิดนายประดิษฐ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนด
ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นมาของการรำในพิธีแย่งศพของชาวมอญที่อพยพหนีภัยสงครามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งอาจมีนักแสดงเข้ามาด้วย เป็นการแสดงที่สืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นโดยการจำและประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการเคารพสักการะผู้ตายและส่งผู้ตายขึ้นสู่สวรรค์หรือภพภูมิที่ดีผ่านพิธีกรรม การสืบทอดของคณะรำหมู่บ้านวังกะมี นายศักดา แสงสว่าง เป็นหัวหน้าคณะ ได้รับการถ่ายทอดรูปแบบการรำในพิธีแย่งศพของชาวมอญ จากนายแจจีน ไม่มีนามสกุล (ผู้ก่อตั้งคณะรหมู่บ้านวังกะ) และนายมาน ปุณณการีผู้เป็นบิดา ซึ่งในยุคนั้นเป็นการรำโดยใช้ผู้ชายรำเพียงอย่างเดียว เนื่องจากหมู่บ้านวังกะมีประชากรที่เป็นผู้หญิง ค่อนข้างน้อย ต่อมาในยุคของนายศักดา นางแวะ แสงสว่าง (ภรรยานายศักดา) ได้พัฒนารูปแบบของการรำโดยนำ ผู้หญิงที่มีความสนใจเข้ามาร่วมแสดงในพิธีแย่งศพ และได้ต่อท่ารำตามรูปแบบที่สืบทอดมาจากประเทศเมียนมาร์ที่มีผู้ชายทำหน้าที่แบกปราสาทพร้อมเคลื่อนไหวเท้าไปในทิศทางเดียวกันไปมาคล้ายการยื้อแย่งศพ และร้องเพลงไว้อาลัยแด่พระสงฆ์มอญที่มรณภาพ ส่วนผู้หญิงเคลื่อนไหวเท้าไปในทิศทางเดียวกันกับผู้ชายพร้อมทำท่ารำตามทำนองเพลง มีกระบวนการรำทั้งหมด 39 ท่า 28 เพลง ในพิธีแย่งศพจะเริ่มต้นด้วยการไหว้ครูก่อนเริ่มรำ และเริ่มรำประกอบการร้องและการบรรเลงดนตรี มีผู้ชายจำนวน 32 คน ผู้หญิง 32 คน โดยบูรณาการองค์ความรู้หลากหลายแขนงเป็นองค์ประกอบการรำในพิธีแย่งศพของชาวมอญ ประกอบด้วย สถาปัตยกรรม จิตรกรรม วรรณกรรม คีตกรรมและนาฏกรรมพื้นบ้าน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กฤษณา ปุณณการี. สัมภาษณ์. 25 พฤษภาคม 2566.
ขนิษฐา จิตชินะกุล. (2545). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ณฤดล เผือกอำไพ. (2558). การศึกษา ลึ่ฮเติ่น ดนตรีในพิธี ว่อน ไว่ะ ซ่าง ชาวมอญบ้านวังกะตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
พระมหาสุชาติ สิริปญฺโญ ป.ธ.9. สัมภาษณ์. 11 มิถุนายน 2565.
ศักดา แสงสว่าง. สัมภาษณ์. 25 พฤษภาคม 2566.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.