การแบ่งวรรณะด้านวิถีชีวิตจากวรรณกรรมของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้ศึกษาการแบ่งวรรณะด้านวิถีชีวิตจากการประมวลวรรณกรรมทั้งบันเทิงคดีและสารคดีของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จำนวน 10 เรื่อง การศึกษาทำให้ทราบว่า การประกอบอาชีพ ที่อยู่อาศัย ภาชนะ พาหนะ และการแต่งกาย ล้วนเป็นเครื่องแบ่งแยกกลุ่มชนต่าง ๆ ในสมัยโบราณ การประกอบอาชีพได้สะท้อนการแบ่งวรรณะใน สังคมญี่ปุ่นช่วงก่อนจะมีการปฏิรูป ที่อยู่อาศัยช่วยบ่งบอกฐานะของบุคคลในยุโรปยุคกลาง ประเทศเคนยาสมัยที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รวมถึงสังคมจีน ไทย และขอมสมัยโบราณ ภาชนะที่ใช้ทำให้ทราบบรรดาศักดิ์และฐานะทางเศรษฐกิจของชาวไทยและขอม ส่วนการแต่งกายทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างเด็กชายในวรรณะพราหมณ์กษัตริย์และไวศยะของอินเดีย สตรีชั้นสูงกับสามัญชนสมัยราชวงศ์ได้เข็งของจีน ชาวยิวกับชาวตะวันตกในยุโรป ยุคกลาง และกลุ่มโจริกับคนทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
คึกฤทธิ์ ขาวละมัย. (2550). การศึกษาวิถีชีวิตของควาญช้างในวังช้างอยุธยา แล เพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2504). โครงกระดูกในตู้. พระนคร: ชัยฤทธิ์.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2543). ขุนช้างขุนแผน ฉบับอ่านใหม่. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2544). นิกายเซน. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2545ก). ยิว (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2545ข). สงครามผิว. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2548). ฝรั่งศักดินา. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2553). สามนคร. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2554). สี่แผ่นดิน (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2555). ซูสีไทเฮา. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2556ก). ถกเขมร. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2556ข). ธรรมแห่งอริยะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2557). เรื่องของลัทธิและนิกาย. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2561ก). ฉากญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2561ข). พม่าเสียเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว., และ พุทธทาสภิกขุ. (2556). วิวาทะ (ความเห็นไม่ตรงกัน) ระหว่าง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กับ ท่านพุทธทาสภิกขุ ในเรื่อง “จิตว่าง”. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
จิตร ภูมิศักดิ์. (2543). โฉมหน้าศักดินาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
เจือง ถิ หั่ง. (2566). การสวมรองเท้าจากมุมมองคติชนวิทยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 15(2), 1-30.
ชิศากัญญ์ เล่าชู. (2558). วิถีชีวิตกับการประกันชีวิตของคนไทย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประเวท แดงดา. (2554). คึกฤทธิ์ ที่สุดของความเป็นไทย. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
'รงค์ วงษ์สวรรค์ กับเพื่อนหนุ่ม. (ม.ป.ป.). คึกฤทธิ์แสบสันต์. กรุงเทพฯ: สุนทรกิจการพิมพ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
รุสตั้ม หวันสู. (2563). ระบบวรรณะของชาวมุสลิมในอินเดีย. วารสารปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา, 16(1), 159-198.
วิลาศ มณีวัต. (2538). คึกฤทธิ์ลาโลก. กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์.
สมหวัง แก้วสุฟอง. (2561). การดำรงอยู่ของระบบวรรณะในสังคมอินเดีย. วารสารปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา, 14(1), 115-134.
อนาคาริกะ เตวิชโช, และ ปกรณ์ สิงห์สุริยา. (2554). บทสังเคราะห์เรื่อง “พระพุทธศาสนากับระบบวรรณะ”. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 18(1), 67-84.