บทบาทหน้าที่ทางคติชนจากเรื่องเล่าผ่านสื่อออนไลน์ในรั้วมหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

ภาคภูมิ สุขเจริญ
สุวรรณี ทองรอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประเภทของความเชื่อและวิเคราะห์บทบาทหน้าที่จากเรื่องเล่าของมหาวิทยาลัยนเรศวรจากสื่อออนไลน์ที่ส่งต่อผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตต่างๆ ปรากฏเรื่องเล่า (ไม่ซ้ำหรือคล้ายคลึงกัน)จำนวน 19 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า ปรากฏความเชื่อจำนวน 5 ประเภท ได้แก่ 1) ความเชื่อเกี่ยวกับฤกษ์ยาม นิมิตความฝัน การประกอบพิธีต่าง ๆ เพื่อเป็นสิริมงคล 2) ความเชื่ออันเนื่องมาแต่ศาสนา 3) ความเชื่อเรื่องเคล็ดและการแก้เคล็ด 4) ความเชื่อเกี่ยวกับนรก สวรรค์ ชาติ ภพ 5) ความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์ และภูตผี และบทบาทหน้าที่ที่ปรากฏในเรื่องเล่า ปรากฏ 4 บทบาทหน้าที่หลัก ได้แก่ 1) บทบาทหน้าที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้สนใจ 2) บทบาทหน้าที่กำหนดพฤติกรรมทางกาย 3) บทบาทหน้าที่กำหนดพฤติกรรมทางใจ และ 4) บทบาทหน้าที่บันทึกสถานที่ เรื่องราวและเหตุการณ์ โดยบทบาทหน้าที่กำหนดพฤติกรรมมีความสอดคล้องสัมพันธ์และส่งผลซึ่งกันและกันกล่าวคือเมื่อกำหนดพฤติกรรมทางกายในรูปแบบข้อปฏิบัติ การตักเตือนแล้ว ส่งผลต่อจิตใจในการอยู่ร่วมกันอีกด้วย

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

จิราภรณ์ ภัทราภานุภัทร. (2528). สถานภาพคติความเชื่อของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพร ไข่มุกข์. (2566). การบูรณาการภูมิปัญญาพื้นบ้านไทยเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะในสถานการณ์การเกิดโรคอุบัติใหม่ (โควิด-19). วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 14(1), 14-42.

เดือน คำดี. (2541). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธวัช ปุณโณทก. (2525). วรรณกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ภัทรธรณ์ แสนพินิจ, และ สมพรนุช ตันศรีสุข. (2565). การสร้างสรรค์เรื่องเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่และบทบาทในบริบทสังคมพุทธศาสนาไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 48(2), 153-166.

เมธินี ไชยพังยาง. (2555). พฤติกรรมการใช้บริการเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ www.facebook.com กรณีศึกษา ผู้สื่อข่าวออนไลน์ (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เรื่อง ผี ผี. (2557, 20 กุมภาพันธ์).ตำนานผีในมหาวิทยาลัย. สืบค้น 10 กันยายน 2565, จาก https://www.facebook.com/ReuxngPhiPhi/posts/428938960520925/

สมาชิกหมายเลข 1773181. (2557, 26 ธันวาคม). เรื่องเล่าจากหอใน. สืบค้น 4 กันยายน 2565, จาก https://pantip.com/topic/33030951?fbclid=IwAR3_q8kkUAal5bAoxXbwAuG8RP8Agu9kEAQShx6F7yFEy15Ik-hnvbosCfE

เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยาร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หมีงงในพงหญ้า. [นามแฝง]. (2552, 25 ธันวาคม). เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้น 14 กันยายน 2565, จาก http://www.sookjai.com/index.php?topic=371.0;wap2(1/1)

Admin. (2559, 9 มิถุนายน). น่ากลัว อ่านแล้วหลอน! ตำนานที่ถูกเล่าขาน ม.นเรศวร. สืบค้น 14 กันยายน 2565, จาก https://campus.campus-star.com/actale/14402.html/amp

Loychine. (2557, 26 ธันวาคม). อีกเรื่องเล่า...จากลูกพระนเรศ. สืบค้น 26 สิงหาคม 2565, จาก https://pantip.com/topic/33024231

Natchaphon B. (2563, 7 กรกฎาคม). "ห้องนี้เต็มแล้ว" เปิดความหมายป้ายหน้าห้องหลอนๆ ความเชื่อหอพักนักศึกษาไทย. สืบค้น 1 กันยายน 2565, จาก https://www.sanook.com/campus/1395997/

NU Smart boy. (2564, 25 มิถุนายน). NU SMART fun fact: ลูบเกียร์หน้าคณะวิศวะ. สืบค้น 2 ธันวาคม 2565, จาก https://www.facebook.com/NUsmartboys/posts/nu-smart-fun-fact-ลูบเกียร์หน้าคณะวิศวะ-%EF%B8%8Fสำหรับใครที่อยากให้หนุ่ม-สาวคณะวิศวะเป็/337345944645170/

Verawat. (2553, 13 สิงหาคม). ผี ม.นเรศวร. สืบค้น 24 สิงหาคม 2565, จาก https://verawat.wordpress.com/2010/08/13/ผี-ม-นเรศวร/