การประยุกต์ใช้การสอนออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้น

Main Article Content

คชาภัช หลิมเจริญ
เปรมวดี ณ นครพนม

บทคัดย่อ

การประยุกต์ใช้การสอนออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่น โดยใช้การประยุกต์ใช้การสอนออนไลน์กับการเรียนการสอนออนไลน์ปกติ ระหว่างก่อนและหลังเรียนของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง และเพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดกิจกรรมที่ประยุกต์ขึ้นในรูปแบบออนไลน์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ ได้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิชาเอกภาษาญี่ปุ่น จำนวน 112 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 56 คน กลุ่มทดลอง 56 คน เครื่องมือในการรวบรวมในครั้งนี้คือ แผนการจัดกิจกรรม การประยุกต์ใช้การสอนออนไลน์แบบทดสอบวัดความสามารถภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐาน โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบก่อนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบแบบที (-test independent Sample) และวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน แบบสอบถาม

ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการประยุกต์ใช้การสอนออนไลน์และแผนการจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ปกติ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และเมื่อเปรียบเทียบความสามารถหลังเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 05 และนักศึกษามีระดับความพึงพอใจต่อแผนการจัดกิจกรรมที่ใช้การประยุกต์ใช้การสอนออนไลน์ อยู่ในระดับสูง

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

เจริญ ภูวิจิตร์. (2560). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. สืบค้น 25 มกราคม 2565, จาก https://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20210827.pdf

จตุพล ดวงจิตร (2564). การประยุกต์ใช้การสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการจัดเรียนการสอนผ่านแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(3), 1-10.

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์:วิถีที่เป็นไปทางการศึกษา. สืบค้น 25 มกราคม 2565, จาก https://slc.mbu.ac.th/wp-content/uploads/2020/06/การจัดการเรียนรู้ออนไลน์-ดร.จักรกฤษณ์-โพด.pdf

ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัย ราชภัฎนครราชสีมา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 4(1), 652-666.

ธนะวัฒน์ วรรณประภา. (2560). สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 14-15.

วรางคณา โตโพธิ์ไทย. (2564). สื่อสังคมเพื่อการศึกษา. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 16(20), 1-15.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และ จรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.

สุขนิษฐ์ สังขสูตร, และ จอมเดช ตรีเมฆ. (2564). การศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของมหาวิทยาลัยรังสิต. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจําปี 2564 ครั้งที่ 11 (น. 1). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

สุนันทา สุดใจ, และ นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์. (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สืบเสาะแบบเปิดโดยใช้การ์ดเกมดิจิทัล เรื่อง การสังเคราะห์โปรตีน ที่มีต่อแรงจูงใจในการเรียนรู้ชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44(4), 68-83.

Bawane, J. & Spector, M. J. (2009). Prioritization of online instructor roles: implications for competency-based teacher education programs. Distance Education, 30(3), 383-397.

Rissho University. (2020). Onrain jugyō ni ittei no kyōiku kōka ~ Taimen jugyō ji no sukoa to hikaku bunseki "Ondemando haishingata" wa ōhaba ni sukoa jōshō ~ [A certain educational effect of online classes - Comparative analysis with scores during face-to-face classes "On-demand delivery type" significantly increases scores -]. Retrieved August 11, 2023, จาก https://www.u-presscenter.jp/article/post-44395.html

Tajima, K. (2018). The beneficial effects of manga and anime on Japanese teaching and learning: a study with interviews from Thai college students analyzed according to the SCAT. STOU Education Journal, 11(1), 61-78.