การแปลคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาตามเส้นทางท่องเที่ยว 8 พระธาตุประจำวันเกิดในจังหวัดนครพนม ภายใต้ทฤษฎีการแปลของโมนา เบเคอร์

Main Article Content

ปรียากร บุญธรรม
ปวีณา แพงสอน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาตามเส้นทางท่องเที่ยว 8 พระธาตุประจำวันเกิดในจังหวัดนครพนม 2) ศึกษากลวิธีการแปลคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาภายใต้ทฤษฎีการแปลของโมนา เบเคอร์ (Mona baker) จากการลงพื้น 8 พระธาตุประจำวันเกิด รวบรวมคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาได้ 156 คำ และผลการวิจัยพบว่า ภายใต้ทฤษฎีการแปลของโมนา เบเคอร์ กลวิธีที่ถูกนำมาแก้ปัญหาการแปลคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) การแปลคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่ใช้ 1 กลวิธีต่อ 1 คำศัพท์ 2) การแปลคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่ใช้ 2 กลวิธีต่อ 1 คำศัพท์ และ 3) การแปลคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่ใช้ 3 กลวิธีต่อ 1 คำศัพท์ จากการวิจัยพบว่า รูปแบบที่ 1 เป็นการแปลที่ผู้รับสารเข้าใจความหมายภาษาต้นฉบับกับภาษาฉบับแปลได้ชัดเจนและตรงกันมากที่สุด ส่วนรูปแบบที่ 2 และ 3 เป็นการแก้ปัญหาของคำศัพท์ที่ระดับคำของภาษาต้นฉบับกับภาษาฉบับแปลไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่มีหลายพยางค์ วิธีการแก้ปัญหาคือ การผนวก 2 กลวิธีการแปลเข้าด้วยกันเพื่อถ่ายทอดความหมายให้ชัดเจน หรือผนวก 3 กลวิธีการแปลเข้าด้วยกัน โดยผู้แปลเริ่มจากรูปแบบที่ 1ไปสู่รูปแบบที่ 2 และนำไปสู่รูปแบบที่ 3 เพื่อถ่ายทอดความหมายของคำศัพท์ในภาษาต้นฉบับกับภาษาฉบับแปลให้ตรงกันมากที่สุด

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

คณะการท่องเที่ยวอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2564). ตลาดนักท่องเที่ยวจีน. สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://shorturl.asia/jJp6K.

ชาติภร เมืองโคตร. (2552). การศึกษาเชิงวิเคราะห์กลวิธีการแปลที่ใช้ในการแปลบทบรรยายไทยของภาพยนตร์ตลก. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47: สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (น. 63-71). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ถ้ำนาคี นครพนม ท่องเที่ยวสายมู ดันรายได้จังหวัดพุ่งกว่าพันล้าน. (2566, 6 มกราคม). ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้น 20 มีนาคม 2566, จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-1168640

พุทธมนต์ กัญจนบุศย์. (2558). การแปลหนังสือและวิเคราะห์การแก้ปัญหาการแปลตามกลวิธีของโมนา เบเคอร์: กรณีศึกษาจากหนังสือ “ทำอย่างไรจะปราศจากโรคและชะลอความชรา” ของ ศนพ. เฉก ธนะสิริ (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร. (2563, 7 กุมภาพันธ์). นักท่องเที่ยวจีนกลุ่ม 'FIT' ทำไมถึงสำคัญกับการท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/865242

Baker, M. (1992). In other words: A coursebook on translation. London: Routledge.

Hans, V. (1996). A skopos theory of translation. Heidelberg: TextCon Text.

Newmark, P. (1988). A textbook of translation (Vol. 66). New York: Prentice Hall.

Wang, L. (1980). Studies of the history of the Chinese language (Vol. 2). Beijing: Zhong Hua Book Company.