การแปรทางศัพท์ในภาษาไทยวนถิ่นเชียงรายตามกลุ่มอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรทางศัพท์ในภาษาไทยวนถิ่นเชียงรายตามกลุ่มอายุ ผู้วิจัยเก็บ ข้อมูลโดยใช้หน่วยอรรถจำนวน 80 หน่วยอรรถในการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษา ผู้บอกภาษาแบ่งเป็น 3 กลุ่มอายุ คือกลุ่มอายุที่ 1 อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มอายุที่ 2 อายุ 35-50 ปี กลุ่มอายุที่ 3 อายุ 15-25 ปี ผลการวิจัยพบว่าการแปร ด้านการใช้ศัพท์พบ 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ 1. ศัพท์ที่ผู้บอกภาษาทุกกลุ่มอายุใช้เหมือนกัน 2. ศัพท์ที่ผู้บอกภาษาสองกลุ่มอายุใช้เหมือนกัน โดยผู้บอกภาษากลุ่มอายุที่ 1 ใช้ศัพท์ไทยวนมากที่สุด ในขณะที่ผู้บอกภาษากลุ่มอายุที่ 3ใช้ศัพท์ไทยวนร่วมกับศัพท์อื่นมากที่สุด ส่วนการแปรด้านรูปศัพท์ พบว่ามีการแปรเสียงพยัญชนะและเสียงสระการยืมศัพท์ การสร้างศัพท์ใหม่ การแปรรูปหน่วยคำ การแปรทางความหมายและการสูญศัพท์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กรรณิการ์ วิมลเกษม. (2555). ภาษาไทยถิ่นเหนือ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: หจก.เชนปริ้นติ้ง.
จำลอง คำบุญชู. (2528). ภาษาถิ่นย่อยของคำเมืองในจังหวัดลำปาง : การศึกษาศัพท์ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปฏิมา ปรมศิริ. (2536). ความเข้มของการใช้ศัพท์คำเมืองในจังหวัดเชียงใหม่: การศึกษาการแปรตามถิ่นที่อยู่. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล. (2555). การแปรและการเปลี่ยนแปลงทางศัพท์และเสียงในภาษาไทถิ่นที่พูดในจังหวัดน่าน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ยุทธพร นาคสุข, และ สมทรง บุรุษพัฒน์. (2561). การแปรด้านศัพท์ตามภูมิภาคของภาษาไทยวนในประเทศไทย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา. วารสารมนุษยศาสตร์, 25(2), 258-290.
ยุพิน เข็มมุกด์, ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์, และอุบลพรรณ วรรณสัย (บ.ก.). (2550). พจนานุกรมภาษาล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
เยาวลักษณ์ อยู่เจริญสุข. (2534). ภาษาถิ่นย่อยของคำเมืองในจังหวัดแพร่: การศึกษาศัพท์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วนิดา สารพร. (2531). วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาไทยวน ตำบลดอนแร่และตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันทนีย์ พันธชาติ. (2526). ภาษาถิ่นย่อยของคำเมือง: การศึกษาศัพท์. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566, 17 มิถุนายน). ไทยวน. ใน ฐานข้อมูลชาติพันธุ์. สืบค้นจาก https://ethnicity.sac.or.th/database-ethnic/180/
สมทรง บุรุษพัฒน์ (2556). โครงการวิจัยย่อยการแปรและการเปลี่ยนแปลงเสียงในภาษาไทยโซ่ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
สำนักงานจังหวัดเชียงราย. (ม.ป.ป.). ประวัติของจังหวัดเชียงราย. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://123.242.164.131/cpwp/?page_id=60
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย. (2564). กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย. สืบค้นจาก https://anyflip.com/pwpje/oeeh/basic
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2557). ประวัติศาสตร์ล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.
สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2560). การแปรการใช้ศัพท์ในภาษาไทดำของคนสามระดับอายุ. วารสารศิลปศาสตร์, 17(1), 55-83.
อภิชิต ศิริชัย. (2559). รู้เรื่องเมืองเชียงราย. เชียงราย: สำนักพิมพ์ล้อล้านนา.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ภาษาศาสตร์สังคม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรนุช นิยมธรรม, วิรัช นิยมธรรม, และ พระอาจารย์อูโกณฑัญญะ. (2537). พจนานุกรมพม่า-ไทย และ ไทย-พม่า. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดลและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2557). คำเรียกชื่อพืชแบบพื้นบ้านไทย: การศึกษาเชิงภาษาศาสตร์พฤษศาสตร์ชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย.
Labov, W. A. (1972). Sociolinguistics Patterns. Pennsylvania: University of Pennsylvania Press.