วารสารฉบับนี้เป็นการก้าวเข้าสู่ปีที่ 16 ของวารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในปีนี้วารสารฯ พร้อมใช้ระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Thai Journals Online System) ThaiJo 2.0 อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการควบคุมคุณภาพวารสารไทยของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้รวบรวมผลงานทางด้านภาษาและการเรียนการสอนภาษา ทั้งที่เป็นบทความวิจัยและบทความวิชาการ โดยบทความภาษาไทยประกอบไปด้วย 1) กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อสื่ออุดมการณ์การเมืองในการ์ตูนตลกรายสัปดาห์ 2) การวิเคราะห์นิทานคำสอนของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างนิทานของวลาดิมิร์ พรอพพ์ 3) การศึกษาภาษาภาพพจน์ในพาดหัวหลักภาษาอังกฤษของสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณาอาหารจานด่วนแบบตะวันตกที่ปรากฏทางเว็บไซต์กูเกิ้ลอิมเมจ และ 4) เม่งเล่กุน: วิเคราะห์บทบาทผู้หญิงที่ปรากฏในวรรณกรรมแปลพงศาวดารจีนเรื่องง่วนเฉียว ส่วนบทความภาษาอังกฤษ ได้แก่ 1) Developing English Speaking for Presentation based on Genre Approach for Thai High-School Learner 2) Thai Business Students’ Writing Strategies with Emphasizing on Writing Proficiency and Field of Study และ 3) S & P or (Reading Suriyan Panlay’s Young Adult Criticism on Intertextuality)
นอกจากนี้ยังเสนอบทแนะนำหนังสือเรื่อง POPEYE ของ นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ หนังสือที่สะท้อนวัฒนธรรมและความคิดของคนในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กวินธร เสถียร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ท้ายนี้ คณะผู้จัดทำวารสารวารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการก้าวเข้าสู่ปีที่ 16 จะเป็นก้าวที่สำคัญ และเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของสายมนุษยศาสตร์อย่างมีคุณภาพต่อไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์
บรรณาธิการ
เผยแพร่แล้ว: 2019-05-29