กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อสื่ออุดมการณ์การเมืองในการ์ตูนตลกรายสัปดาห์

Main Article Content

สุพรรษา  ภักตรนิกร

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาเพื่อสื่ออุดมการณ์การเมืองในนิตยสารการ์ตูนตลกรายสัปดาห์  คือ นิตยสาร ขายหัวเราะ และ มหาสนุก ที่พิมพ์เผยแพร่ในช่วงปีพ.ศ  2558-2559  โดยเลือกศึกษาจากการ์ตูนช่องจำนวน 15 เรื่อง  แนวคิดที่ใช้คือแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ร่วมกับแนวคิดศาสตร์แห่งเรื่องเล่า


           ผลการวิจัยพบว่าอุดมการณ์การเมืองประกอบไปด้วยอุดมการณ์ย่อย  3 ชุด คือ รัฐที่พึงประสงค์สำหรับประชาชน  รัฐที่ไม่พึงประสงค์สำหรับประชาชน  และการต่อต้านรัฐบาลทหาร  โดยมีกลวิธีทางภาษาคือการใช้สหบท    มูลบท คำ  ประโยค  น้ำเสียง  โครงเรื่อง  และการสื่อสารด้วยภาพ  อุดมการณ์เหล่านี้มีความสัมพันธ์กับอุดมการณ์การเมืองในสังคมไทย

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biography

สุพรรษา  ภักตรนิกร, อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

อาจารย์สุพรรษา  ภักตรนิกร

ศศ.ม. (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

E-Mail:  supansa.ph@udru.ac.th

References

กาญจนา เจริญเกียรติบวร. (2548). การวิเคราะห์วาทกรรมเรื่องตลกภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2545). อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทีมข่าวอาชญากรรม. (2556). จ่าเฉย...เดอะซีรีส์: รายงาน. (คมชัดลึกออนไลน์). http://www.komchadluek.net/news/crime/ 170949, 20 กุมภาพันธ์ 2561.

นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 1 ว่าด้วยวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: อ่าน.

ภาวดี สายสุวรรณ. (2551). ค่านิยมที่สะท้อนในมุขตลกในการ์ตูนช่องของไทย. วารสารดำรงวิชาการ, 9(2), 137-162.

รินคำ. (2559). อุตสาห ‘ขำ’ บก.วิธิต-พิมพ์พิชา อุตสาหจิต. นิตยสารออล, 11(6), 23-29.

ลินิน แสงพัฒนะ. (2557). สัมพันธบทของตัวละครนางเอกในสื่อละครโทรทัศน์ กรณีศึกษาละครโทรทัศน์เรื่องแรงเงา. ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรพงศ์ ไชยฤกษ์. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์: มุมมองใหม่ในการวิจัยทางภาษาไทย.วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 8(1), 135-162.

ศิริพร ภักดีผาสุก. (2549). อารมณ์ขันในการ์ตูนการเมืองไทย. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 23, 86-43.

Eagleton, Terry. (1996). Literary Theory An Introduction. Oxford: Blackwell Publishers.

Fairclough, Norman. (1992). Discourse and social change. Cambridge: Polity.

Fairclough, Norman. (1995). Media Discourse. London: Arnold.

Halliday, Michael. (1978). Language as Social Semiotic. London: Edward Arnold.

_______________. (1994). An Introduction to Functional Grammar, second edition. London: Edward Arnold.

Halmari, Helena. (1999). Discourse of dealth: The Function of the Local Newspaper Coverage of Huntsville, Texas Executions.In J. Verschueren (ed.), Language and Ideology: Selected Papers from the 6th International Pragmatics Conference. Antwerp, International Pragmatics Association, Vol.1, 179-205.

Kayode Samuel, Ariyo. (2017). Satirizing the Nigerian Climate: Multimodal Discourse Analysis of Selected Political Cartoons from TELL Newsmagazine, Asian Research Journal of Arts & Social Sciences, 3(4), 1-10.

van Dijk,Teun A. (1998). Ideology: A Multidisciplinary Approach. London: Sage.

______________. (2006). Discourse and Manipulation. Discourse and Society, 17(2), 359-383.

______________. (2009). Critical Discourse Studies: A Sociocognitive Approach. Cambridge: Cambridge University Press.

Wolfreys, Julian. (2004). Critical Keywords in Literary and Cultural Theory. Hampshire: Palgrave Macmillan.