การวิเคราะห์นิทานคำสอนของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างนิทานของวลาดิมิร์ พรอพพ์

Main Article Content

ณัฐกาล เกาศล

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิเคราะห์นิทานคำสอนตามทฤษฎีรูปแบบนิยมของวลาดิมิร์  พรอพพ์ (Vladimir Propp)จากนิทานคำสอนของภาคกลางและนิทานคำสอนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่ามีโครงสร้างที่เหมือนกันคือ    ตัวละครเอก 2 ตัวละครจะแสดงพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกันระหว่างความดีและความชั่ว ในตอนท้ายของเรื่องคนดีจะได้รับผลตอบแทนที่ดี และคนชั่วได้รับผลตอบแทนในทางร้าย  นอกจากนี้ยังพบแบบเรื่องที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของตัวละครที่แสดงออกมาซ้ำ ๆ กัน ในนิทานคำสอนของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำแนกได้จำนวน        4 แบบเรื่อง และพบพฤติกรรมของตัวละครในนิทานคำสอนที่แตกต่างจากการจำแนกของพรอพพ์ จำนวน 15 พฤติกรรม  นอกจากนี้นิทานคำสอนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะเด่นคือการกำหนดเนื้อเรื่องให้ตัวเอกเป็นแม่สามีกับลูกสะใภ้ เพื่อสอนให้กระทำความดีต่อแม่สามีตามฮีตคองของคนอีสาน

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biography

ณัฐกาล เกาศล, อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ดร.ณัฐกาล  เกาศล

ปร.ด. (ไทยศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

E-Mail:    [email protected]

References

ณัฐกานต์ เกาศล. (2545). การเปรียบเทียบนิทานคำสอนของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิไลวรรณ วงษ์ฉาย. (2539). การวิเคราะห์โครงสร้างของนิทานเรื่องสัตว์ภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธวัช ปุณโณทก. (2544). นิทานพื้นบ้าน. หนังสือชุดภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพ: อักษรเจริญทัศน์.

ศิราพร ณ ถลาง. (2544). ไวยากรณ์ของนิทาน. การศึกษานิทานเชิงโครงสร้าง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2552). (พิมพ์ครั้งที่ 2). ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำลี รักสุทธิ. (2542). นิทานพื้นบ้านอีสานและตำนานการก่อตั้งจังหวัด. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2543). ทฤษฎีคติชนและวิธีการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

________. (2545). เรื่องเล่าร้อยแก้วของไทย. เอกสารประกอบการศึกษาวิชา เรื่องเล่าร้อยแก้วของไทย (TS 653) ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาไทยศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.