เม่งเล่กุน : วิเคราะห์บทบาทผู้หญิงที่ปรากฏในวรรณกรรมแปลพงศาวดารจีนเรื่อง ง่วนเฉียว

Main Article Content

พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์

บทคัดย่อ

            งานวิจัยฉบับนี้มุ่งวิเคราะห์บทบาทผู้หญิง ซึ่งเป็นตัวละครเอกที่ปรากฏในวรรณกรรมแปลพงศาวดารจีนเรื่องง่วนเฉียว ผลการวิจัยพบว่า ถ้าผู้หญิงจีนในสมัยก่อนได้ศึกษาเล่าเรียนดังเช่นผู้ชายจีน เธอก็สามารถใช้สติปัญญาและความรู้ที่ร่ำเรียนมาทำงานราชการจนกระทั่งประสบความสำเร็จมีความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน 


           นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวจีนในสมัยก่อน  ที่ยึดหลักสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมตามคำสอนของขงจื่อนักปราชญ์จีนในยุคโบราณ ที่แบ่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็น  5  ประเภท คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตรธิดา ระหว่างสามีกับภรรยา  ระหว่างพี่กับน้อง  ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง  ระหว่างเพื่อนกับเพื่อน ส่วนเนื้อหาในเรื่องง่วนเฉียวมีความสัมพันธ์ที่ปรากฏชัดเจน 3 ประเภทคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตรี บุตรีกตัญญูต่อบิดา ความสัมพันธ์ระหว่างสามีกับภรรยา  ภรรยารักสามีอย่างมั่นคง  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา  ตัวละครเอกหญิงเมื่อเป็นขุนนางก็ไม่ทำตนเสมอฮ่องเต้  ไม่ใกล้ชิดกับฮ่องเต้จนเกินความจำเป็น  ทำงานราชการอย่างซื่อสัตย์  ตรงไปตรงมาและจงรักภักดีต่อฮ่องเต้  ความสัมพันธ์ดังที่กล่าวมานี้สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าทั้งบุคคลทั้งสองฝ่ายต่างปฏิบัติต่อกันอย่างมีคุณธรรมตามหลักความสัมพันธ์ 5 ประการของขงจื่อจะช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข 

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biography

พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์, อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์  อนันต์ศิริวัฒน์

ศศ.ด. (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-Mail:  [email protected]

References

เฉลิมศักดิ์ น้อยศรี. (2551). บทบาทของผู้หญิงในสามก๊ก : วิเคราะห์เรื่องเชิงวรรณกรรม. วารสารวิจัยรามคำแหง ปีที่ 11(พิเศษ). 107-108.

พรพิไล ถมังรักษสัตว์. (2539). ปรัชญาผู้หญิง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒิชัย มูลศิลป์ และ จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ (แปลและเรียบเรียง). (2533). วจนะขงจื๊อ. กรุงเทพฯ: บริษัทต้นอ้อ จำกัด.

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2543). ตำนานสามก๊ก ในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน). กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.

สุพัตรา สุภาพ. (2545). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุวรรณา สถาอานันท์ (บรรณาธิการ). (2547). ความเรียงใหม่รื้อสร้างปรัชญาตะวันออก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

องค์การค้าของคุรุสภา. (2514). ง่วนเฉียว. (เล่ม 1 – 5) กรุงเทพฯ: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์.

อัษมา มหาพสุธานนท์. (2553). ความเป็นหญิงจีนในนวนิยายของนักเขียนสตรีจีนยุคหลังเหมา. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารียา หุตินทะ. (2551). แนวคิดเรื่องกุลสตรีในนวนิยายของนักเขียนสตรีเขมร. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.