การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการจำหน่ายผลผลิตยางพาราในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ภัทรพงศ์ วงศ์สุวัฒน์
วัชรวี จันทรประกายกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการจำหน่ายผลผลิตยางพาราของเกษตรกรชาวสวนยาง และเพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการจำหน่ายผลผลิตยางพาราในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยการสำรวจภาคสนาม (Field Survey) การสัมภาษณ์ชิงลึก (In-depth Interview) และการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) จากเกษตรกรชาวสวนยาง กลุ่มเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร  ผู้รวบรวมยางในท้องถิ่น พ่อค้าคนกลาง ตลาดกลางยางพารา และโรงงานแปรรูปยาง รวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ โดยการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการค้นคว้าทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจำหน่ายผลผลิตยางพาราของเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ มีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ ได้แก่ น้ำยางสด ยางก้อนถ้วย และยางแผ่นดิบ ประกอบด้วย 9 ทางเลือก โดยรูปแบบและทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตยางพาราที่ได้รับผลกำไรมากที่สุด คือ การจำหน่ายยางแผ่นดิบผ่านตลาดกลางยางพารา แล้วให้โรงงานยางแผ่นรมควันเข้ามาประมูลยาง ส่วนรูปแบบและทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตยางพาราที่ได้รับผลกำไรน้อยที่สุด คือ การจำหน่ายยางก้อนถ้วยผ่านกลุ่มหรือสถาบันเกษตรกร แล้วกลุ่มหรือสถาบันเกษตรกรนำยางก้อนถ้วยไปขายต่อให้กับโรงงานผลิตยางแท่ง STR20 ทั้งนี้เกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 45.72 เลือกจำหน่ายผลผลิตในรูปแบบที่ได้ผลกำไรน้อยที่สุด และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการจำหน่ายผลผลิตยางพาราของเกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ ความสะดวกสบายในการนำยางไปขาย คือ ระยะทางใกล้กับจุดรับซื้อ คิดเป็นร้อยละ 40.54 (1.61 คะแนน) รองลงมา คือ ราคามีความเป็นธรรมหรือราคาสูงกว่าที่อื่น คิดเป็นร้อยละ 34.18 (1.36 คะแนน) และเครื่องชั่งน้ำหนักได้มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 21.35 (0.85 คะแนน)

Article Details

How to Cite
วงศ์สุวัฒน์ ภ., & จันทรประกายกุล ว. (2019). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการจำหน่ายผลผลิตยางพาราในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 14(2), 74–84. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/190236
บท
บทความวิจัย

References

การยางแห่งประเทศไทย. (2561). โครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ. ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
เศรษฐกิจยาง.
การยางแห่งประเทศไทย. (2560). มาตรการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ. ออนไลน์. www.rubber.co.th
การยางแห่งประเทศไทย. (2562). สรุปสถิติราคายาง. ออนไลน์. ออนไลน์. www.rubber.co.th
การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดบุรีรัมย์. (2561). สรุปพื้นที่ปลูกยางพาราจังหวัดบุรีรัมย์.
ฐานเศรษฐกิจ. (2561). “กฤษฎา” แถลงเปิดปมยางทำไมตกต่ำ งัดสารพัดวิธีช่วยดันราคา. ออนไลน์.
https://www.thansettakij.com/content/349817.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). อุตสาหกรรมยางพาราไทย. ออนไลน์.https://www.bot.or.th/
Thai/MonetaryPolicy/Southern/DocLib/MiniSymposium_rubber_final.pdf
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่กรีดได้ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ปี2559.
ออนไลน์. https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/production/pararubber.pdf
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd ed. Harper and Row,
New York. 919 p.