วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU <p>วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น<strong> </strong>เป็นวารสารวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่มุ่งเน้นการเผยแพร่ความรู้และทักษะใหม่ๆ ที่มีลักษณะสร้างสรรค์มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ที่เกี่ยวกับมนุษย์ สังคม ศิลปะวัฒนวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้ความรู้สู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่ๆ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ การค้นหาองค์ความรู้ใหม่ หรือพิสูจน์ความรู้เดิม โดยสื่อให้เห็นถึงเทคนิควิธี หรือกิจกรรมที่เกิดจากการคิดค้นขึ้นใหม่ หรือการนำสิ่งที่มีอยู่มาดัดแปลง ปรับปรุงให้ดีขึ้น </p> <p>ขอบเขตเนื้อหาในบทความที่สามารถนำมาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมีความครอบคลุมในเนื้อหาของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องดังนี้ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา จิตวิทยา การศึกษา รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ การพัฒนาชุมชน วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ การบริหาร การจัดการทรัพยากร การท่องเที่ยว การตลาด นิเทศศาสตร์</p> th-TH <p>เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง</p> <p>บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น</p> [email protected] (อาจารย์ ดร.เชาวลิต สิมสวย) [email protected] (มานะ สลุบพล) Thu, 08 Feb 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/272210 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาและวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยนี้ศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึก สนทนากลุ่ม การเดินสำรวจ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การจัดเวทีร่วมกับชุมชน ผลการศึกษา พบว่า ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาและวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 6 สถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดป่าเขาน้อย ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ วนอุทยานเขากระโดง พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 วัดบ้านหนองโพรงและศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ ซึ่งนักท่องเที่ยวสนใจศึกษาคุณค่างทางประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และประเพณีท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ทั้ง 6 สถานที่ เริ่มต้นจาก จุดที่ 1 ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ จุดที่ 2 ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ จุดที่ 3 วัดบ้านหนองโพรง จุดที่ 4 พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 จุดที่ 5 วนอุทยานเขากระโดง และจุดที่ 6 วัดป่าเขาน้อย สถานที่ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมทั้ง 6 แห่ง มีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองไม่เกิน 10 กิโลเมตร นับมีความเหมาะสมสำหรับการนักท่องเที่ยวที่สนใจศึกษาเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ขณะเดียวกันยังสามารถเยี่ยมชมสนามฟุตบอลช้างอารีน่า และสนามแข่งรถอินเตอร์เนชั่นนอล เซอร์กิจ อีกด้วย</p> วิศวมาศ ปาลสาร Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/272210 Thu, 08 Feb 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสื่อความจริงเสมือนเพื่อชุบชีวิตภาพสลักทับหลัง ในปราสาทหินพนมรุ้ง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/273469 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อความจริงเสมือนเพื่อชุบชีวิตภาพสลักทับหลังในปราสาทหินพนมรุ้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดรหัสลวดลายของภาพสลักทับหลังปราสาทหินพนมรุ้ง <br>2) ออกแบบและพัฒนาสื่อความจริงเสมือนให้ผสานเข้ากับภาพสลักทับหลังปราสาทหินพนมรุ้ง<br>และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างหลังการใช้สื่อความจริงเสมือน การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน โดยเริ่มต้นจากการวิจัยเชิงคุณภาพนำเข้าสู่การวิจัยเชิงการออกแบบ <br>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ปราสาทหินพนมรุ้งมีภาพสลักทับหลังรอบนอก จำนวนทั้งหมด 33 ชิ้น แบ่งเป็นทับหลังที่มีลวดลายภาพสลัก จำนวน 14 ชิ้น และไม่ปรากฏลวดลายภาพสลักใดๆ เลย จำนวน 19 ชิ้น ในการวิจัยครั้งนี้ได้มุ่งศึกษาวิเคราะห์ทับหลังหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์เพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อสภาพความชำรุดเสียหายที่มีรายละเอียดซับซ้อน ประกอบด้วย 11 ส่วน ได้แก่ 1) พระนารายณ์ 2) พระลักษมี 3) พระพรหม 4) พญาอนัตนาคราช 5) มกร 6) หน้ากาล 7) ครุฑยุดนาค 8) นกหัสดีลิงค์คาบช้าง 9) นกแก้วคู่ 10) ลิงอุ้มลูก และ 11) ลายก้านขด ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ราย ร่วมตรวจสอบและปรับแก้ไขผลงานจนมีข้อสรุปในทิศทางเดียวกันว่า ผลงานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นได้เผยให้เห็นถึงสภาพความสมบูรณ์ทางศิลปะที่แฝงอยู่ในทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ โดยมีความสอดคล้องกับภาพถ่ายและหลักฐานต่างๆ ที่มีการสำรวจสืบค้นไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จึงนำเข้าสู่ขั้นตอนการพัฒนาสื่อความจริงเสมือนและนำไปใช้เผยแพร่แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมปราสาทหินพนมรุ้งด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 40 ราย ให้ใช้งานสื่อความจริงเสมือนและตอบแบบประเมิน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จึงบ่งชี้ได้ว่าสื่อความจริงเสมือนที่พัฒนาขึ้นนี้ช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นและเข้าใจสภาพความสมบูรณ์ของทับหลังก่อนการชำรุดเสียหาย และเพิ่มความแปลกใหม่ให้กับวิธีการศึกษาข้อมูลภาพสลักทับหลังในปราสาทหินพนมรุ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> จิรายุฑ ประเสริฐศรี, ประภาส ไชยเขตร Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/273469 Thu, 08 Feb 2024 00:00:00 +0700 นวัตกรรมการบริหารจัดการเกษตรแปลงรวมในพื้นที่สาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/273513 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นวัตกรรมการบริหารจัดการเกษตรแปลงรวมในพื้นที่สาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการบูรณาการความร่วมมือการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยโมเดลเกษตรแปลงรวมแก้จน ซึ่งดำเนินการในพื้นที่การวิจัยที่ผ่านการสอบทานในระบบ PPP Connect&nbsp; เป็นตำบลที่มีครัวเรือนคนจนอยู่มากที่สุด 5 ลำดับแรกของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ โดยใช้ประชากรกลุ่มอยู่ยากและอยู่พอได้ ที่ไม่มีที่ดินทำกิน มีทักษะการทำเกษตร และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ &nbsp;จำนวน 200 ครัวเรือน ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการบริหารพื้นที่สาธารณะสู่เกษตรแปลงรวมแก้จน มี 2 รูปแบบ คือ การใช้พื้นที่สาธารณะส่วนรวมของชุมชน และการใช้พื้นที่ครัวเรือนของคนจน ดำเนินกิจกรรมเกษตรแปลงรวม ด้วยการบูรณาการการทำงานแบบมีส่วนร่วมใช้กลไกความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชนและภาคประชาสังคม โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นตัวกลางประสานงาน ผ่านการใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมกับศักยภาพบริบทของชุมชนท้องถิ่นและครัวเรือนยากจน ด้วยกระบวนการพัฒนา 10 ขั้นตอน สามารถยกระดับทุนดำรงชีพ 5 ด้าน ให้กับครัวเรือนคนจนกลุ่มเป้าหมาย ให้ดีขึ้นดังนี้ 1.ด้านทุนมนุษย์ สามารถพัฒนาความรู้และทักษะอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนยากจนอย่างต่อเนื่องด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย 2.ด้านทุนทางสังคม เกิดการรวมกลุ่มสมาชิก มีกฎ กติกา ข้อบังคับ กิจกรรมร่วมกันทำให้ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข 3.ด้านทุนทางเศรษฐกิจสามารถลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้มีค่าเฉลี่ยรวม&nbsp; 39.53 บาทต่อวัน และมีอาชีพเสริมต่อเนื่องจากภาคเกษตรหลายอาชีพ 4.ด้านทุนทรัพยากรธรรมชาติ ได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะ จำนวน 8 ไร่ 1 งาน และใช้แหล่งน้ำของชุมชนเพื่อปลูกพืชผักและพัฒนาสิ่งแวดล้อม เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มคุณค่าของทรัพยกรในชุมชน&nbsp; 5.ด้านทุนทางกายภาพ ครัวเรือนคนจนมีที่ดินทำกินเพิ่มขึ้น ครัวเรือนละ 1 แปลง เพื่อปลูกพืช ผัก อาหารปลอดภัย เป็นการลดรายจ่ายและสร้างรายได้ให้กับ จึงเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้พื้นที่สาธารณะ สร้างอาชีพ อาหารปลอดภัย และเกิดสังคมเกื้อกูลที่ยั่งยืน</p> อาจารย์บัญชา นวนสาย, อาจารย์ ดร.เอกพล แสงศรี; ผศ.ดร.เทพพร โลมารักษ์, ผศ.ดร.คคนางค์ ช่อชู; อาจารย์ ภาวิดา แสนวันดี Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/273513 Thu, 08 Feb 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์แบบ Cluster เพื่อรองรับการตลาดสมัยใหม่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/273953 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพผู้ประกอบการ Cluster ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์2) สร้างกระบวนการพัฒนาผู้ประกอบการ Cluster ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์ให้มีศักยภาพ3) สร้างโอกาศทางธุรกิจการตลาดสมัยใหม่ให้กับ Cluster ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมาย คือ จำนวน 5 ชุมชน ดังนี้ 1) วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ยั่งยืนแบบถาวร 2) กลุ่มวิสาหกิจอาชีพสตรีทอผ้าฝ้ายผ้าไหม (ภูอัคนี) 3) กลุ่มวิสาหกิจการทอผ้าไหมเมืองรุ้งบ้านโคกสะอาด-หนองอ้อยช้าง4) ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์ 5) กลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองม่วง จำนวนทั้งสิ้น 116 คน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการดำเนินโครงการ พบว่า การพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์แบบ Cluster เพื่อรองรับการตลาดสมัยใหม่สามารถแบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1) กลยุทธ์ SO กลยุทธ์การตลาดเชิงรุกโดยเฉพาะเจาะจงการตลาดและการขยายตลาด 1.1) การขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ 1.2) การพัฒนาเครือข่ายร่วมมือคลัสเตอร์ไหมบุรีรัมย์ 2) กลยุทธ์ WO กลยุทธ์การปรับปรุงกระบวนการภายใน2.1) การสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการคลัสเตอร์ไหมจังหวัดบุรีรัมย์ 2.2) การพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ 2.3) การยกระดับคุณภาพไหม 3) กลยุทธ์ ST กลยุทธ์การพัฒนาบุคลากร3.1) การจัดอบรม เชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้ประกอบการและให้คำปรึกษาเชิงลึกให้แก่ผู้ประกอบการ 4) กลยุทธ์ WT กลยุทธ์เชิงรับอุดรอยรั่ว 4.1) กิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการคัสเตอร์ไหมบุรีรัมย์</p> จินตนา วัชรโพธิกร, สรรเพชร เพียรจัด Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/273953 Thu, 08 Feb 2024 00:00:00 +0700 นิตยสารฉลาดซื้อกับบทบาทของระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพต่อผู้บริโภคในประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/273978 <p>งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพจากการถอดบทเรียนโครงการของศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ&nbsp;&nbsp;2) เพื่อศึกษาบทเรียนของระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพที่สามารถแก้ปัญหาและสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้บริโภค 3) เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านสุขภาพของผู้บริโภคที่ส่งผลเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 4) เพื่อพัฒนาแนวทางการสื่อสารและส่งเสริมการตระหนักรู้ของผู้บริโภคในการเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพในประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากสมาชิกนิตยสารฉลาดซื้อ จำนวน 400 คน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสำรวจเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 25 คน ได้แก่ กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องในการผลิตสื่อ กลุ่มผู้บริหารและคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กลุ่มสมาชิกนิตยสารฉลาดซื้อที่เป็นสมาชิกมากกว่า 10 ปี กลุ่มภาคีเครือข่าย และกลุ่มนักวิชาการ ผลการศึกษา พบว่า บทบาทหลักบทบาทของระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพ คือ บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีกระบวนการทำงาน ได้แก่ 1) สำรวจปัญหาและเฝ้าระวัง 2) ทดสอบสินค้าและบริการ 3) การสื่อสารเผยแพร่ข้อมูล และ4) การสร้างเครือข่ายผู้บริโภค และบทเรียนของระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพที่สามารถแก้ปัญหาและสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้บริโภค คือ บทเรียนเรื่องสินค้าและบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน &nbsp;และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านสุขภาพของผู้บริโภคที่ส่งผลเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พบว่า ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านสุขภาพของผู้บริโภคในประเทศไทย ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต มากที่สุด รองลงมา เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ส่วนสื่อที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างเปิดรับข้อมูลระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพของศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ พบว่า สื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด เช่นเดียวกัน รองลงมา สื่อสิ่งพิมพ์ และจากการรับรู้ข้อมูลผลทดสอบสินค้าและบริการ ต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พบว่า สามารถสร้างพฤติกรรมใหม่หลังการรับรู้ข้อมูลผลทดสอบสินค้าและบริการ มากที่สุด รองลงมา ลดพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ และสามารถควบคุมตนเองในการซื้อสินค้าและบริการที่ไม่จำเป็น โดยสมาชิกนิตยสารฉลาดซื้อให้เหตุผลในการติดตามและเป็นสมาชิก เกิดจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการด้านสุขภาพของผู้บริโภค พบว่า เป็นนิตยสารที่ไม่รับโฆษณา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับ 4.04 รองลงมา ข้อมูลผลทดสอบมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ออกแบบนิตยสารได้น่าสนใจ เนื้อหาในนิตยสารทันยุคทันสมัย&nbsp;&nbsp;ใช้เป็นข้อมูลประกอบการเลือกซื้อสินค้าและบริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน อยู่ในระดับ 4.00 เปิดเผยชื่อยี่ห้อสินค้าที่ทดสอบอย่างตรงไปตรงมา มีระดับค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.99 &nbsp;และแนวทางการสื่อสารและส่งเสริมการตระหนักรู้ของผู้บริโภคในการเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพในประเทศไทย พบว่า ต้องมีการกำหนดแนวทางการสื่อสารดังนี้ 1) กำหนดรูปแบบการทำงานภายใต้บทบาทให้ชัดเจน กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร กำหนดกลุ่มเป้าหมายของผู้รับสาร กำหนดรูปแบบของสื่อที่จะเผยแพร่ 2) การใช้เครื่องมือการสื่อสารให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อมวลชน สื่ออินเทอร์เน็ต สื่อเฉพาะกิจ 3) การเลือกวิธีการสื่อสารและเนื้อหาสารให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย 4) การสร้างเครือข่ายผู้บริโภคในการสื่อสาร 5) การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค</p> ปัทมาวดี วงษ์เกิด Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/273978 Thu, 08 Feb 2024 00:00:00 +0700 ขยะมีค่า บ้านน่าอยู่ สู่กองทุนสวัสดิการขยะ การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาบ้านโนนเหลื่อม ต.ภูเเลนคา อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/274020 <div><span lang="TH">การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการขยะด้วยกองทุนสวัสดิการขยะบ้านโนนเหลื่อม ตำบลภูแลนคา อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ใช้วิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม</span>Participatory Action Research(PAR<span lang="TH">) และการวิจัยผ่านการขับเคลื่อนและการประเมินผลโดยใช้กระบวนการ </span>Action Research Evaluation (ARE)<span lang="TH">การติดตามผลลัพธ์แบบเสริมพลังในการดำเนินงานด้วยการใช้บันไดผลลัพธ์และกิจกรรมการมีส่วนร่วมของกลุ่มสมาชิกชุมชนโนนเหลื่อมที่เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ จำนวนครัวเรือน </span>100<span lang="TH">ครัวเรือน โดยใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่ามีปริมาณขยะลดลงเฉลี่ยเท่ากับ </span>7<span lang="TH">.</span>40กิโลกรัมต่อครัวเรือนต่อเดือน มีการดำเนินกิจกรรมดังนี้ การบริจาคขยะกองทุนสวัสดิการ การอบรมการคัดแยกขยะ การจัดการขยะอย่างเหมาะสม และการเรียนรู้จากพื้นที่ต้นแบบบ้านแก้งยาว ตำบลภูแลนคา อำเภอบ้านเขว้าจังหวัดชัยภูมิ เกิดรูปแบบการจัดการขยะด้วยกองทุนสวัสดิการขยะและเกิดข้อบังคับกองทุนสวัสดิการขยะบ้านโนนเหลื่อม ดังนั้นการใช้กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชน ให้ความร่วมมือชุมชนสะอาด น่าอยู่ เกิดความสามัคคีกันดีมากขึ้น อีกทั้งสามารถยกระดับชุมชนที่กำลังพัฒนากองทุนสวัสดิการให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้</div> จันทร์จิรา ตรีเพชร; ปริยกร ชาลีพรม, บุศรา ศรีชัย, นิคม บุญกอบ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/274020 Thu, 08 Feb 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีอ่างเก็บน้ำห้วยระไซร์ ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/274084 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีอ่างเก็บน้ำห้วยระไซร์ ตำบสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวทางน้ำ 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมและความสำเร็จของผู้ประกอบการในการจัดการท่องเที่ยวทางน้ำ 3) หาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการวิจัยแบบผสม ในวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ประกอบการ จำนวน 60 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการท่องเที่ยวจำนวน 12 คน</p> <p><span style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า </span><span style="font-weight: 400;">1) แหล่งท่องเที่ยวมีสิ่งดึงดูดใจ มีความสะดวกในการเดินทาง มีสิ่งอำนวย ความสะดวก มีกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลาย แต่ยังขาดความพร้อมด้านบริการที่พัก </span><span style="font-weight: 400;">สำหรับ</span>การประเมินระดับศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว พบว่า ผู้ประกอบการมีศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว ทางน้ำในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) การมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวพบว่า ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจและได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการจัดการท่องเที่ยวแต่ยังมีปัญหาเรื่องความสม่ำเสมอของจำนวนนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำจากผู้เกี่ยวข้อง มี 4 ประเด็น คือ ควรพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยว การบริหารจัดการ การบริการการท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วม เพื่อให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อคนในชุมชน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เพื่อให้การท่องเที่ยวเกิดความยั่งยืนต่อไป</p> ศิวาพร พยัคฆนันท์, รุจิเรศ รุ่งสว่าง, หทัยชนก รัตนถาวรกิติ, ฐานิดา สิทธิเสือ, คเชนทร์ วัฒนโกศล Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/274084 Thu, 08 Feb 2024 00:00:00 +0700 บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครู ด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัล ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/274160 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ (1) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัล ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัล ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานของครู วุฒิการศึกษาและขนาดโรงเรียนในกลุ่มตัวอย่าง</p> <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ 263 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการวิเคราะห์บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน โดยภาพรวมรายด้าน พบว่า ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ส่วนวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนยุคดิจิทัลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวมไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05</p> ฐาวรดา วิเชียรฉาย; วิรัตน์ มณีพฤกษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/274160 Thu, 08 Feb 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการพัฒนาอาชีพจากภูมิปัญญาศิลปะชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมรเพื่อสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมพร้อมรับการเป็นเมืองสังคมสูงวัย จังหวัดบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/274058 <p>โครงการเรื่องกระบวนการพัฒนาอาชีพจากภูมิปัญญาศิลปะชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมร เพื่อสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมพร้อมรับการเป็นเมืองสังคมสูงวัยจังหวัดบุรีรัมย์&nbsp; มีวัตถุประสงค์ &nbsp;1) ศึกษาภูมิปัญญาศิลปะชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) สร้างกระบวนการพัฒนาอาชีพจากภูมิปัญญาศิลปะชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมร 3) สร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมพร้อมรับการเป็นเมืองสังคมสูงวัยจากกระบวนการพัฒนาอาชีพจากภูมิปัญญาศิลปะชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมร ครัวเรือนกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 79 คน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการดำเนินโครงการ พบว่า มีการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ทุกคนต้องมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการทำงาน ที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล โดยใช้การสร้างตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม และวัดผลการปฏิบัติงานเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดโดยชุมชนกำหนดกระบวนการพัฒนาอาชีพจากภูมิปัญญาศิลปะชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมรเพื่อสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมพร้อมรับการเป็นเมืองสังคมสูงวัยจังหวัดบุรีรัมย์ ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านบวกโดยมีระบบความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้นมีความรักความสามัคคี สามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม เกิดอาชีพปัจจุบันผลิตและขายสินค้า จำนวน 1 อาชีพ คือ อาชีพจากผลิตภัณฑ์การจักสานตะกร้าจากเส้นพลาสติกเกิดรายได้เพิ่มขึ้นในครัวเรือนผู้สูงอายุ ครั้งละ1,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 100 สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน และสามารถลดความเหลื่อมล้ำเป็นการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี เกิดผลกระทบในระดับจังหวัดด้านบวก ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัด เกิดการกระจายรายได้สู่ครัวเรือนผู้สูงอายุ</p> สรรเพชร เพียรจัด Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/274058 Thu, 08 Feb 2024 00:00:00 +0700