https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/issue/feed วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น 2024-06-20T14:10:41+07:00 อาจารย์ ดร.เชาวลิต สิมสวย chaowalit.ss@bru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น<strong> </strong>เป็นวารสารวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่มุ่งเน้นการเผยแพร่ความรู้และทักษะใหม่ๆ ที่มีลักษณะสร้างสรรค์มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ที่เกี่ยวกับมนุษย์ สังคม ศิลปะวัฒนวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้ความรู้สู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่ๆ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ การค้นหาองค์ความรู้ใหม่ หรือพิสูจน์ความรู้เดิม โดยสื่อให้เห็นถึงเทคนิควิธี หรือกิจกรรมที่เกิดจากการคิดค้นขึ้นใหม่ หรือการนำสิ่งที่มีอยู่มาดัดแปลง ปรับปรุงให้ดีขึ้น </p> <p>ขอบเขตเนื้อหาในบทความที่สามารถนำมาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมีความครอบคลุมในเนื้อหาของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องดังนี้ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา จิตวิทยา การศึกษา รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ การพัฒนาชุมชน วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ การบริหาร การจัดการทรัพยากร การท่องเที่ยว การตลาด นิเทศศาสตร์</p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/275009 การพัฒนากลไกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี 2024-03-12T13:25:32+07:00 นงคาร แสงโชติ narak200721@gmail.com <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อพัฒนากลไกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)&nbsp; เก็บข้อมูลสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม การลงพื้นที่ภาคสนาม จัดเวทีร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า เกิดพัฒนากลไกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี 3 ประการ ได้แก่ 1. พัฒนากลไกด้านบุคคล ฝึกอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ให้กับพ่อแม่อาสา&nbsp; คือ คนที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครในการดูแล ติดตามเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในตำบลเหล่าเสือโก้ก ได้แก่ คัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) ข้าราชครูการเกษียณ ครูศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ เป็นต้น 2. เกิดพัฒนากลไกสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย 3 ภาคส่วน ได้แก่ 1. ภาครัฐ คือ เทศบาลตำบลเหล่าเสือโก้ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเป้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สาธารณสุขอำเภอเหล่าเสือโก้ก โรงพยาบาลเหล่าเสือโก้ก &nbsp;ศูนย์อนามัยที่ 10 2. ภาคประชาสังคม คือ มูลนิธิประชาสังคม 3. ภาคประชาชน ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน 3. เกิดพัฒนากลไกด้านการจัดการ 2 ประการ ได้แก่ 1. เกิดคณะทำงานเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2. ธรรมนูญสุขภาพชุมชน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้ถือได้ว่าเป็นการกระจายอำนาจไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มอำนาจให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและบริหารจัดการทรัพยากรของตนเอง ส่งเสริมกระจายอำนาจไปยังหน่วยงานระดับตำบลทำให้การบริการและการพัฒนาเป็นไปอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ตอบสนองความต้องการของประชาชนทำให้งานบริการและการพัฒนามีประสิทธิภาพมากขึ้น&nbsp;&nbsp;</p> 2024-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/275210 การสร้างมูลค่าและคุณค่าของเศษวัสดุจากป่าชุมชนตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 2024-03-12T15:35:58+07:00 ธัญรัศม์ ยุทธสารเสนีย์ thanyarat11y@gmail.com สรรเพชร เพียรจัด sanped.pj@bru.ac.th อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา udompong.ks@bru.ac.th ผกามาศ บุตรสาลี pakamart.bs@bru.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเศษวัสดุในป่าชุมชนตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) การสร้างมูลค่าและคุณค่าจากเศษวัสดุป่าชุมชนตำบลโคกกลาง และ 3) ประเมินมูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชนจากเศษวัสดุในป่าชุมชนตำบลโคกกลาง กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แผนที่แสดงความคิด แบบสอบถาม การสังเกต ประเด็นคำถาม และบัตรคำ การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบเชิงพรรณนา และค่าสถิติ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา&nbsp; พบว่า มีผู้ผลิตงานหัตถกรรมในชุมชน งานทอผ้า งานทอเสื่อ งานไม้ และงานจักสาน จำนวน 181 ทอเสื่อกกมากที่สุด 86 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.51 ผลการสำรวจชนิดพันธุ์พืชและเศษวัสดุในป่าชุมชนตำบลโคกกลาง พบว่า สภาพป่าชุมชนส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ไม่มีต้นไม้ขนาดใหญ่ แต่ละส่วนของป่าจะมีพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกัน พันธุ์ไม้ที่พบ คือ ไม้แดง ไม้พลวง ไม้เต็ง ไม้สะแบง ไม้สะเดา ไม้ประดู่ ไม้มะเหลื่อม และไม้ติ้ว เศษวัสดุในป่าชุมชนโคกกลาง พบว่า ในระยะพื้นที่ประมาณ 1 ไร่จะมีต้นไม้ที่ยืนต้นตายอยู่ประมาณ 2-3 ต้น มีใบไม้ ผลไม้ป่า ดอกไม้ป่า เช่น ดอกมันกลอยแห้ง ผลปอขี้ตุ่น ลูกระเวียง และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้นำวัสดุเหล่านี้ มาสร้างมูลค่าและคุณค่า เพราะไม่กระทบต่อต้นไม้ในป่าชุมชน ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุในป่าชุมชน พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับวัสดุจากป่า คือ กรอบรูป พวงกุญแจ และโมมาย และผลการคัดเลือกแบบ พบว่า พวงกุญแจ แบบที่ 3 มีคะแนนสูงสุด ( =4.63) กรอบรูป แบบที่ 2 มีคะแนนสูงสุด ( =4.62) และโมบาย แบบที่ 2 มีคะแนนสูงสุด ( =4.63) ผลการประเมินมูลค่าและคุณค่าผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุในป่าชุมชนตำบลโคกกลาง พบว่า โมบายได้รับความคิดเห็นถึงมูลค่าและคุณค่าทางด้านจิตใจ มากที่สุด มีคะแนน ( =17.87) รองลงมาคือ พวงกุญแจ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 17.16 และกรอบรูป มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 16.12&nbsp;</p> 2024-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/277137 การประกอบสร้างความเป็นพลเมืองภายใต้แนวคิดหลังสมัยใหม่: ศึกษากรณีไทยพลัดถิ่นในรัฐไทย 2024-04-19T12:21:14+07:00 พศกร โยธินนีรนาท podsakorn.y@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางการจัดการสถานะความเป็นพลเมืองที่เชื่อมโยงกับแนวคิดหลังสมัยใหม่เพื่อเผยให้เห็นรูปแบบการจัดวางความเป็นพลเมืองผ่านกรณีศึกษาคนไทยพลัดถิ่นของรัฐไทย ผ่านระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งประกอบด้วยการวิจัยทางเอกสาร ควบคู่กับการวิจัยสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มกับกรณีศึกษาและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และนำไปสู่การตีความและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะความเป็นพลเมืองเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยกับกระแสอิทธิพลจากภายนอกซึ่งมีบริบททางช่วงเวลาที่ต่างกันโดยชี้ให้เห็นผ่านการปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างของรัฐไทย 3 ช่วงเวลา (2) สถานะบุคคลของคนไทยพลัดถิ่นเป็นการประกอบสร้างความเป็นพลเมืองที่มีลักษณะเฉพาะต่างจากกลุ่มประเภทอื่น ความเป็นพลเมืองคนไทยพลัดถิ่นยังมีผลด้านลบคือ การถูกปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานจากการแขวนสถานะบุคคลไว้ด้วยกระบวนการรับรองความเป็นไทยพลัดถิ่น ตลอดจนบทความนี้มีข้อโต้แย้งว่า ปรากฏการณ์ปัญหาการเข้าถึงสถานะบุคคลของคนไทยพลัดถิ่นเกิดขึ้นจากความพยายามไม่ข้ามผ่านรากฐานวิธีคิดแบบรัฐสมัยใหม่ที่แฝงไปด้วยวาทกรรมความมั่นคงของรัฐไทย นอกจากนี้การวิจัยยังเป็นการเปิดมุมมองโดยมุ่งหวังให้เกิดการทบทวนในกระบวนทัศน์ของภูมิทัศน์ความเป็นพลเมืองที่คำนึงถึงสิทธิความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐานและความยุติธรรมทางสังคม</p> 2024-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/276627 เรือมอัปสรา : อัตลักษณ์นาฏกรรม การสร้างพลังอำนาจละมุน เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ 2024-03-29T15:07:11+07:00 วรุธ วงษ์อิน 65012453014@msu.ac.th ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ pattama@msu.ac.th <p>การวิจัยเรื่อง เรือมอัปสรา : อัตลักษณ์นาฏกรรม การสร้างพลังอำนาจละมุน เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของนาฏกรรมในการแสดง ชุด เรือมอัปสราบุรีรัมย์&nbsp; 2) เพื่อศึกษาการสร้างพลังอำนาจละมุนจากการแสดง ชุด เรือมอัปสราบุรีรัมย์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยและข้อมูลภาคสนาม จากประชากรจำนวน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงจากที่ได้รับการยอมรับ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้รู้ จำนวน 5 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 4 คน และกลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและแบบสังเกต&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์นาฏกรรม เรือมอัปสราบุรีรัมย์ ถูกประกอบสร้างจากโบราณคติ ความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าบนพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ปราสาทพนมรุ้ง โบราณสถานอันยิ่งใหญ่ที่เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของอารยธรรมขอมโบราณ และประเพณีอันดีงามที่ถูกยึดโยงด้วยนาฏกรรมอันทรงคุณค่ามรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับจังหวัดบุรีรัมย์มาอย่างยาวนานและกลายเป็นภาพลักษณ์ของจังหวัดที่สามารถก่อตัวเป็นพลังอำนาจละมุน&nbsp; (Soft power) ที่แทรกซึมเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คน โดยอิทธิพลที่เกิดจาก อัตลักษณ์ทาง “นาฏกรรม”&nbsp; ในด้านสุนทรียศาสตร์ ท่ารำ บทเพลง และเครื่องแต่งกาย สามารถยึดโยงพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและสร้างภาพลักษณ์ของจังหวัดให้กับผู้คนทั่วไปรับรู้และยอมรับในตัวตนของจังหวัดบุรีรัมย์</p> 2024-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/275948 การศึกษาแบบบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน กรณีศึกษาตำบลสี่เหลี่ยม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 2024-03-13T14:31:18+07:00 ทศพร แก้วขวัญไกร keawkaunkhai578@gmail.com รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ rapeepan.pi@bru.ac.th <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นฐานทั่วไป 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลของความยากจน 3) เพื่อหาแนวทางการบูรณาการแก้ไขความยากจน กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย จำนวน 150 ตัวอย่าง มีเครื่องมือในการวิจัยใช้เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทพื้นฐานทั่วไปส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30-39 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ขนาดครอบครัว 4-6 คน มีความยากจนขัดสน มีหนี้ในระบบและนอกระบบ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยากจน เกิดจากภาระหนี้สินสูง รายได้ต่ำ รวมทั้งรับผิดชอบต่อครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ 3) แนวทางการแก้ไขความยากจน เน้นสร้างนิสัยและทัศนคติการพัฒนาตนเอง รัฐบาลมีบทบาทสำคัญช่วยเหลือทั้งภาระหนี้สิน สนับสนุนการศึกษา สุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิต</p> 2024-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/276752 ปูรณะธัญกา : การถอดรหัสหมายจากภาพจำหลักปราสาทหินพนมรุ้ง สู่การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย 2024-04-01T00:31:35+07:00 พีรนันต์ เจือจันทร์ juejun59@gmail.com อุรารมย์ จันทมาลา ourarom02@gmail.com <p>วิทยานิพนธ์เรื่องปูรณะธัญกา : การถอดรหัสหมายจากภาพจำหลักปราสาทหินพนมรุ้งสู่การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาพจำหลัก “พิธีปูรณะธัญกา”ที่มุขซุ้มประตูปราสาทประธานของปราสาทหินพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยจากการศึกษาภาพจำหลัก “พิธีปูรณะธัญกา” ของปราสาทหินพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกต และการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และประชาชนทั่วไป แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการสรุปอภิปรายผลในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า ภาพจำหลักพิธีปูรณะธัญกา หรือ “พิธีหว่านธัญพืชมงคล” คือ พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่จารึกร่องรอยทางคติความเชื่อ ประเพณี วิถีการดำรงชีวิตของผู้คนในยุควัฒนธรรมขอมโบราณ อันเป็นต้นแบบทางความเชื่อของการมีหลักประกันความอุดมสมบูรณ์ในช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลการทำเกษตรกรรมของมนุษย์ไม่ว่ายุคใดสมัยใด นำมาสู่การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยที่แสดงออกถึงรากเหง้าทางวัฒนธรรมและสามารถสะท้อนความเป็นปัจจุบัน โดยการถอดรหัสหมายและตีความหมายจากภาพต้นแบบการเลียนแบบท่าทาง และองค์ประกอบของภาพ ผ่านทฤษฎีการสร้างสรรค์นาฏกรรม 10 ขั้นตอน โดยแบ่งการแสดงออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 มนตราวนัมรุง ช่วงที่ 2 ศรัทธา และช่วงที่ 3 ปูรณะธัญกา อันสะท้อนให้เห็นแนวคิดในการนำหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาประกอบสร้างผสมผสานศาสตร์ทางด้านนาฏกรรม เพื่อให้เกิดต้นทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น เชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวสถานที่เชิงประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดเศรษฐกิจในชุมชนและเป็นการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมความเชื่ออันเป็นปฐมเหตุของพิธีแรกนาขวัญให้คงอยู่คู่ชุมชนสังคม และประเทศชาติสืบไป</p> 2024-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/276982 บทบาทของผู้สูงอายุในการมีส่วนร่วมนโยบายท้องถิ่นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 2024-04-11T09:33:16+07:00 อรรถพจน์ บัวงาม ap1_mpa@hotmail.com สิทธิโชค ลางคุลานนท์ sittichok_ck@hotmail.com นลินา ไชยะ nalina2555@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาบทบาทของผู้สูงอายุในการมีส่วนร่วมนโยบายท้องถิ่นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตในองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค ของผู้สูงอายุในการมีส่วนร่วมนโยบายท้องถิ่นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตในองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราโดยใช้การศึกษาเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) จากการเก็บข้อมูลผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) พบว่า</p> <ol> <li class="show">นโยบายระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับภารกิจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในด้านของการส่งเสริมคุณภาพชีวิต การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทิดทูนพิทักษ์รักษาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งโครงการหลักๆ จะเกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการ การดูแลผู้สูงอายุรวมไปถึงการพัฒนาทางด้านจิตใจ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีการตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพของผู้สูงอายุ โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนในการดำเนินงานและการรายงานผลการดำเนินงาน</li> <li class="show">ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทของผู้สูงอายุที่เข้ามามีส่วนร่วมนโยบายท้องถิ่นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่า 1) เกี่ยวข้องกับปัจจัยของประชากรแฝงคือผู้สูงอายุมิได้อยู่ในพื้นที่ในการให้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ แต่ยังคงมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ 2) ความพร้อมทางด้านฐานะของผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้การมีความพร้อมทางด้านทรัพย์สินไม่ต้องพึ่งพิงหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ 3) ภาวะทางใจที่มีความผูกพันกับถิ่นที่อยู่อาศัย 4) ความพร้อมของสถานที่ในการให้บริการ ที่ยังอาจมีข้อจำกัดของความเพียงพอในการรับบริการของผู้สูงอายุ หรือการจัดทำกิจกรรมที่ต้องอาศัยระยะเวลาต่อเนื่อง ความพร้อมในเชิงสถานที่ 5) ปัจจัยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางที่ไม่สามารถเดินทางมาได้ด้วยตัวเอง ผู้สูงอายุบางรายต้องมีลูกหลานมาส่งต้องมีคนมารับ กลายเป็นประเด็นปัญหาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการกิจกรรมต่างๆ</li> </ol> <p>&nbsp;</p> <h1>คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วม, นโยบายท้องถิ่น</h1> 2024-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/276594 โรงเรียนทางเลือกกับการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนมีชัยพัฒนา 2024-06-04T13:53:48+07:00 ธนากรณ์ ทำทอง tanakon.tha@stu.nida.ac.th สมศักดิ์ สามัคคีธรรม somsak.sa@nida.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มุ่งอธิบายการศึกษาทางเลือกกรณีโรงเรียนมีชัยพัฒนา โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนมีชัยพัฒนาที่เชื่อมโยงกับชุมชนและการพัฒนาชุมชน ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 15 คน ซึ่งมีการกำหนดเงื่อนไขว่าผู้ที่ให้ข้อมูลต้องเป็นบุคคลที่ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติงานของโรงเรียนมีชัยพัฒนาและต้องเป็นผู้ร่วมปฏิบัติงานร่วมกับโรงเรียน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนมีชัยพัฒนาเป็นโรงเรียนทางเลือกที่มุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมควบคู่กับการเรียนการสอนในรูปแบบผสมผสาน (Hybrids) โดยมีหลักสูตรแกนกลางของรัฐ และหลักสูตรเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของผู้เรียน (Life Skill) 3 วิชา ได้แก่ วิชาการเกษตร (Agriculture) วิชาการฝึกเป็นผู้ประกอบการ (Social Entrepreneur) และวิชานักพัฒนาชุมชน (Rural Development) ปัจจุบันหลักสูตรดังกล่าวได้นำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาชุมชนรอบโรงเรียนผ่านโครงการ “การสร้างความมั่นคงด้านอาหารและรายได้สำหรับผู้สูงอายุโดยร่วมกับนักเรียนและเยาวชน” โดยมุ่งเน้นความมั่นคงทางด้านอาหารและรายได้ผู้สูงอายุ ซึ่งนักเรียนโรงเรียนมีชัยพัฒนาได้นำแนวคิดและนวัตกรรมของโรงเรียนมาใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านรายได้ของผู้สูงอายุด้วยการทำเกษตรการปลูกผักในเข่ง ภายใต้แนวคิดการเกษตรที่ใช้น้ำน้อย ใช้พื้นที่น้อย ใช้แรงน้อย และได้ผลผลิตเร็ว โครงการดังกล่าวสามารถทำให้คนในชุมชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการ อาจกล่าวได้ว่าโรงเรียนมีชัยพัฒนาสามารถสร้างแนวทางพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืนบนฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดขึ้นจริงได้</p> 2024-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/277682 การสืบทอดและธำรงรักษาอัตลักษณ์ อาหารพื้นบ้านของชาวไทย เชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ 2024-05-07T14:46:59+07:00 ธัชกร พรมโสภา thatchakorn.pro@swbvc.ac.th กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์ Kamolbhibnat.c@rmutp.ac.th สุชีรา ผ่องใส Sucheera.p@rmutp.ac.th <p>&nbsp;</p> <p>วิทยานิพนธ์เรื่อง การสืบทอดและธำรงรักษาอัตลักษณ์ อาหารพื้นบ้านของชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์อาหารพื้นบ้านที่บริโภค ของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อจัดทำตำรับอาหารพื้นบ้านของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเป็นแนวทางการธำรงรักษาอัตลักษณ์อาหารพื้นบ้านที่บริโภค ดำเนินการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีผู้ให้ข้อหลักสำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ชาวไทยเชื้อสายเขมรที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านปรือเกียน ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 5 ท่าน รวบรวมการสัมภาษณ์ มาปรับเป็นตำรับมาตรฐาน นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่าน ประเมินผล เพื่อให้ได้เป็นตำรับที่มีลักษณะตำรับดั่งเดิมทั้งลักษณะชองอาหารและรสชาติ ผลการวิจัยพบว่า อาหารพื้นบ้านที่บริโภค ของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ มีจำนวนทั้งหมด 9 ตำรับ ได้แก่&nbsp; แกงปูนา (ละแวกะดาม) , แกงกล้วย (ซัลลอเจก) , แกงฮอง , เมี่ยงขนุน , เบาะโดง (น้ำพริกมะพร้าว) , เบาะเจราะมะออม (น้ำพริกผักแขยง) , เบาะอังแกบ (น้ำพริกกบ) , เบาะบายกรีม (ข้าวตู) และอันซอมกะบ็อง (ข้าวต้มด่าง)</p> 2024-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/278096 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับบริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเอกชน ในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม 2024-06-04T10:48:26+07:00 กนกพร กระจ่างแสง kanokporn.kraj@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;การวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับบริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเอกชน ในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม เป็นการศึกษาในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความต้องการใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเอกชนในจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเอกชนในจังหวัดนครปฐม โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลโดยศูนย์ดูแลผู้สุงอายุเอกชนส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง สถานภาพสมรสแล้ว การศึกษาระดับปริญญาตรี อายุระหว่าง 35-40 ปี ครอบครัวหรือผู้ดูแลมีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 30,000-40,000 บาท ความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบ้านพักหรือศูนย์ดูแลผู้สุงอายุอยู่ที่ 15,000-20,000 บาท ต่อเดือน สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านส่วนประสมทางการตลาดมีดังนี้ ด้านบุคลากร การส่งเสริมการตลาด และสถานที่ และยังพบว่าความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลด้านการศึกษา รายได้ของครอบครัว มีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเอกชนที่แตกต่างกัน</p> <p>&nbsp;</p> 2024-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/277282 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ 2024-05-30T09:55:32+07:00 วิชชากร เกิดแสงรัตน์ 630426021009@bru.ac.th นวมินทร์ ประชานันท์ nawamin.pn@bru.ac.th วินิรณี ทัศนะเทพ winiranee.tt@bru.ac.th <p>The purpose of this research were 1) to study the transformational leadership of school administrators under Buriram Secondary Educational Service Area Office, 2) to investigate the student caring and supporting system operation in schools under Buriram Secondary Educational Service Area Office, and 3) to find the relationship between transformational leadership of school administrators and operation student caring and supporting system in schools under Buriram Secondary Educational Service Area Office. The samples were 346 school administrators and teachers, selected by using the table of Krejcie and Morgan, stratified random sampling, and simple random sampling. The research instrument was a 5-point rating scale questionnaire. The transformational leadership of school administrators questionnaire had a reliability of .944 and the student caring and supporting system operation questionnaire has a reliability of .950. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, standard deviation, and the hypothesis was tested by using Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The results of this study were as follows:</p> <ol> <li>The transformational leadership of school administrators under Buriram Secondary Educational Service Area Office both as a whole and each aspect was at a high level.</li> <li>The student caring and supporting system operation in schools under Buriram Secondary Educational Service Area Office both as a whole and each aspect was at a high level.</li> <li>The relationship between transformational leadership of school administrators and student caring and supporting system operation in schools under Buriram Secondary Educational Service Area Office was positive at a quite high level (r<sub>xy</sub> = .776) with statistically significant level of .01.</li> </ol> 2024-06-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น