นโยบายวารสาร

1. ประเภทของบทความที่นำเสนอเพื่อตีพิมพ์ ต้องเป็นบทความวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเขียนได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องเขียนตามรูปแบบของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น และต้องผ่านกระบวนการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องก่อน ทั้งนี้บทความที่ตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อนหรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาจากวารสารอื่นๆ หากพบว่าผู้เขียนส่งตีพิมพ์หรือเผยแพร่บทความในที่อื่นๆ กองบรรณาธิการถือว่าเป็นการกระทำคัดลอกผลงานตนเอง (Self Plagiarism) ซึ่งกองบรรณาธิการจะระงับการตีพิมพ์และแจ้งต้นสังกัดของผู้เขียนต่อไป
3. บทความที่ตีพิมพ์/เผยแพร่ทุกบทความต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Peer Review) ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ ซึ่งทั้งผู้ประเมินบทความและผู้แต่งจะไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน (Double-blind Peer Review) โดยบทความที่ลงตีพิมพ์ได้นั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) อย่างน้อย 2 ใน 3 ท่าน
4.บทความที่จะตีพิมพ์/เผยแพร่ หากเป็นเรื่องที่เข้าข่ายได้รับการพิจารณาในจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ต้องแนบเอกสารการอนุญาตหรือรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาด้วยก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) อ่านต่อไป
5. อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 3,000 บาทต่อ 1 บทความ โดยให้ชำระหลังจากผู้นิพนธ์ได้จัดเตรียมต้นฉบับและรายละเอียดอื่น ๆ ตามข้อกำหนดของวารสารเรียบร้อยแล้ว หรือ ภายหลังกองบรรณาธิการพิจารณาเห็นชอบ ก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ทั้ง 3 ท่าน

ขอบเขตเนื้อหา

   เนื้อหาในบทความที่สามารถนำมาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมีความครอบคลุมในเนื้อหาของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องดังนี้ มานุษยวิทยา  สังคมวิทยา  จิตวิทยา  การศึกษา  รัฐศาสตร์  นิติศาสตร์  สถาปัตยกรรมศาสตร์ การพัฒนาชุมชน  วัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ประวัติศาสตร์  การบริหาร  การจัดการทรัพยากร  การท่องเที่ยว การตลาด นิเทศศาสตร์