แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีอ่างเก็บน้ำห้วยระไซร์ ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีอ่างเก็บน้ำห้วยระไซร์ ตำบสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวทางน้ำ 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมและความสำเร็จของผู้ประกอบการในการจัดการท่องเที่ยวทางน้ำ 3) หาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการวิจัยแบบผสม ในวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ประกอบการ จำนวน 60 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการท่องเที่ยวจำนวน 12 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) แหล่งท่องเที่ยวมีสิ่งดึงดูดใจ มีความสะดวกในการเดินทาง มีสิ่งอำนวย ความสะดวก มีกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลาย แต่ยังขาดความพร้อมด้านบริการที่พัก สำหรับการประเมินระดับศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว พบว่า ผู้ประกอบการมีศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว ทางน้ำในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) การมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวพบว่า ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจและได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการจัดการท่องเที่ยวแต่ยังมีปัญหาเรื่องความสม่ำเสมอของจำนวนนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำจากผู้เกี่ยวข้อง มี 4 ประเด็น คือ ควรพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยว การบริหารจัดการ การบริการการท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วม เพื่อให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อคนในชุมชน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เพื่อให้การท่องเที่ยวเกิดความยั่งยืนต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2566 - 2570). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
เฉลิมพล จตุพร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวและและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2565). การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวและโรงแรมอย่างยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นุชประวีณ์ ลิขิตศรัณย์ และคณะ. (2562). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพิจิตร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 14(1), 28-41.
เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ. (2556). การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ และคณะ. (2551). ปัจจัยด้านการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวทางน้ำของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์ แอนด์ดี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ราตรี จุลคีรี. (2560). เครือข่ายผู้บริโภค: การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งและรู้จักสิทธิในกิจการกระจายเสียง และโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: สำานักงาน กสทช.
วรัญญา มหาวนากูล และ นภสร ประสงค์ศักดิ์. (2023). การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวอย่างไรในเชิงพื้นที่. คอลัมน์แจงสี่เบี้ย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ No.9/2023-13 Jun 2023. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/QhcbV (สิงหาคม. 2565)
วิไลลักษณ์ รักบำรุง. (2565). อิทธิพลของมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการจัดการแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. 6(1), 91-109.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2562). การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและการบริการของประเทศไทย: รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2542). การดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเพื่อการรักษาระบบนิเวศ. กรุงเทพมหานคร:
Shirley Eber .1993. Beyond the Green Horizon: Principles for Sustainable Tourism. WWF :UKอ้างถึงในบุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. 2548. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวธุรกิจที่ไม่มีวันตายของประเทศ ไทย กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ซี.พี. บุ๊ค สแตนดาร์ด.