กระบวนการพัฒนาอาชีพจากภูมิปัญญาศิลปะชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมรเพื่อสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมพร้อมรับการเป็นเมืองสังคมสูงวัย จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

สรรเพชร เพียรจัด

บทคัดย่อ

โครงการเรื่องกระบวนการพัฒนาอาชีพจากภูมิปัญญาศิลปะชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมร เพื่อสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมพร้อมรับการเป็นเมืองสังคมสูงวัยจังหวัดบุรีรัมย์  มีวัตถุประสงค์  1) ศึกษาภูมิปัญญาศิลปะชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) สร้างกระบวนการพัฒนาอาชีพจากภูมิปัญญาศิลปะชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมร 3) สร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมพร้อมรับการเป็นเมืองสังคมสูงวัยจากกระบวนการพัฒนาอาชีพจากภูมิปัญญาศิลปะชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมร ครัวเรือนกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 79 คน


            ผลการดำเนินโครงการ พบว่า มีการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ทุกคนต้องมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการทำงาน ที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล โดยใช้การสร้างตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม และวัดผลการปฏิบัติงานเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดโดยชุมชนกำหนดกระบวนการพัฒนาอาชีพจากภูมิปัญญาศิลปะชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมรเพื่อสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมพร้อมรับการเป็นเมืองสังคมสูงวัยจังหวัดบุรีรัมย์ ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านบวกโดยมีระบบความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้นมีความรักความสามัคคี สามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม เกิดอาชีพปัจจุบันผลิตและขายสินค้า จำนวน 1 อาชีพ คือ อาชีพจากผลิตภัณฑ์การจักสานตะกร้าจากเส้นพลาสติกเกิดรายได้เพิ่มขึ้นในครัวเรือนผู้สูงอายุ ครั้งละ1,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 100 สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน และสามารถลดความเหลื่อมล้ำเป็นการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี เกิดผลกระทบในระดับจังหวัดด้านบวก ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัด เกิดการกระจายรายได้สู่ครัวเรือนผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดวงกมล ภูนวล. (2557). การวิจัยและพัฒนานี้เป็นการพัฒนารปแบบเมืองผู้สูงอายุอยู่สบาย.

วารสารสุขศึกษา, 37(126), 82

ภัทรพล ทศมาศ และคณะ. (2564). นวัตกรรมการเสริมสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมผ่าน

ยุทธศาสตร์ วิชาชีวิตพฤฒพลังเพื่อสร้างสังคมคุณภาพทุกช่วงวัย รองรับสังคมสูงวัยในจังหวัด

บุรีรัมย์. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 6(3), 675-676