รูปแบบการบริหารจัดการที่สาธารณะประโยชน์แบบมีส่วนร่วม ตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

บัญชา นวนสาย
เทพพร โลมารักษ์
อาลัย จันทร์พาณิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหา วิเคราะห์และวางแผนการใช้ประโยชน์และศึกษารูปแบบการจัดการพื้นที่สาธารณะประโยชน์แบบมีส่วนร่วม ของตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนได้ใช้การระดมสมองผ่านการประชุมแบบมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน โดยเริ่มจากการค้นหาศักยภาพคนในชุมชนและจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนรักถิ่น ซึ่งใช้รูปแบบการจัดการกลุ่ม ด้วยหลัก 5 ก และมีพหุพาคี เข้าร่วมในการสร้างกลไกเพื่อความยั่งยืน จากการระดมสมองและประชาคมพบปัญหาร่วมของชุมชนที่สำคัญคือการบุกรุกพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีผู้เข้าใช้ประโยชน์จำนวน 75 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 176 ไร่ กลุ่มฯได้ใช้แนวทางแก้ไขปัญหาโดยการประชุมกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งยึดหลักธรรมมาภิบาลและการมีส่วนร่วม ส่งผลให้มีการคืนพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ส่วนรวม จำนวน 17 ราย ได้พื้นที่เพื่อการทำนาแปลงรวม 15 ไร่ มีการจัดสรรพื้นที่เพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจสวนฝรั่ง 1 ไร่ ปลูกมะพร้าว 1 ไร่ 2 งาน และ ปลูกไผ่ 2 ไร่  กลุ่มฯได้ร่วมสร้างแผนการพัฒนาและบริหารพื้นที่สาธารณะประโยชน์ โดยมีมติเห็นชอบจากที่ประชุมโดยพร้อมเพียง ซึ่งแผนการพัฒนามีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นคง ยั่งยืน ในการใช้ทรัพยากรของชุมชน ซึ่งจะได้ดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามบริบทและศักยภาพของชุมชนต่อไป

Article Details

How to Cite
นวนสาย บ., โลมารักษ์ เ., & จันทร์พาณิชย์ อ. (2021). รูปแบบการบริหารจัดการที่สาธารณะประโยชน์แบบมีส่วนร่วม ตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 16(1), 119–130. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/251950
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2553). ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครอง
ป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน.
นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ . (2558). ความขัดแย้งระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับหน่วยงานภาครัฐในการใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งสระจังหวัดพัทลุง. Kasetsart Journal of Social Sciences
37.กรุงเทพ . หน้า 139.
พินิจ ลาภธนานนท์ . (2560). การผสมผสานวิถีปฏิบัติและประเพณีทางพุทธศาสนาในพื้นที่ชายแดน
ไทย-เมียนมา :การส่งเสริมประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในบริบทสังคม
พหุวัฒนธรรมวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (ฉบับพิเศษ) เมษายน-มิถุนายน. กรุงเทพฯ .
ไพฑูรย์ สร้อยสด.(2557). ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการที่ดินโดยองค์การชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
เพื่อความมั่นคงในการดำเนินชีวิต : กรณีศึกษา ชุมชนเก้าบาตร บ้านลำนางรอง ตำบลลำ
นางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายวิจัย
เพื่อท้องถิ่น.
มนตรี แดงศรี และคณะ.(2554). โครงการศึกษาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ทางกฎหมายขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการที่ดิน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่าย
วิจัยเพื่อท้องถิ่น.
ศยามล ไกรยูรวงศ์ และคณะ (2549), ข้อพิพาทและความขัดแย้งปัญหาที่ดินในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สมาพร ศิริลาภ. (2556) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน : กรณีศึกษาป่า
ชุมชนดงผักข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา
สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.