การศึกษาปัญหาการออกเสียงพยางค์เสียงเบาในภาษาจีนกลางของนักศึกษา หลักสูตรภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Main Article Content

ณพล ม่วงงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการออกเสียงพยางค์เสียงเบาในภาษาจีนกลางของนักศึกษาหลักสูตรภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้วิจัยได้สร้างแบบทดสอบการออกเสียงพยางค์เสียงเบา โดยอ้างอิงจากทฤษฎีหลักการออกเสียงพยางค์เสียงเบา《汉语普通话语图解课本》และการสอบวัดระดับมาตรฐานภาษาจีนกลาง《普通话水平测试》หรือ (Putonɡhua Shuipinɡ Ceshi; PSC) โดยคำศัพท์ที่เลือกใช้ในการทดสอบครั้งนี้อ้างอิงจากหนังสือรวมคำศัพท์ที่จำเป็นต้องออกเสียงพยางค์เสียงเบา (必读轻声)《普通话水平测试用普通话词语表》และคำศัพท์ที่มักพบบ่อยในการสอบวัดระดับภาษาจีน ( HSK ) ระดับ 1 - 6 มาใช้ในการทดสอบ โดยแบบทดสอบนี้เป็นการทดสอบการอ่านออกเสียงคำสองพยางค์ (双音节) เรียงจากพยางค์เสียงที่หนึ่ง สอง สามและสี่ตามด้วยพยางค์เสียงเบา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มตามระดับความสามารถทางภาษา การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยครั้งนี้ใช้ทฤษฎี Interlanguage Theory (中介理论)  ของ L.Selinkerและหลัก Error analysis (误差分析) ของ S.P.Corder มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา และนำผลการทดสอบการอ่านออกเสียงพยางค์เสียงเบาของกลุ่มตัวอย่างมาหาค่าร้อยละ


            จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าการออกเสียงพยางค์เสียงเบา (轻声) ของนักศึกษามีปัญหาการออกเสียงพยางค์เสียงเบาที่คล้ายคลึงกัน คือ มีปัญหาการออกเสียงพยางค์เสียงที่สอง + พยางค์เสียงเบามากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาอันดับสองคือ เสียงพยางค์เสียงที่สาม + พยางค์เสียงเบา อันดับสามคือ พยางค์เสียงที่สี่ + พยางค์เสียงเบาและออกเสียงผิดน้อยที่สุดคือ เสียงพยางค์เสียงที่หนึ่ง + พยางค์เสียงเบา จากการศึกษาและการสังเกตด้านการออกสียงพบว่านักศึกษามีการออกเสียงพยางค์เสียงเบาได้ยาวและช้ากว่าปกติ และไม่สามารถแยกแยะการออกเสียงเบาได้ ซึ่งทำให้การออกเสียงพยางค์เสียงเบาในภาษาจีนมีความผิดพลาดอย่างเห็นได้ชัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขียน ธีระวิทย์ และคณะ.(2551). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับประถมและมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตุลยนุสรญ์ สุภาษา และฉีเสวียหง .(2560). การศึกษาปัญหาการออกเสียงภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจวิทยาลัย นานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8, (1) 115-124.
พิชัย แก้วบุตร และธีระพงศ์ แก้วมณี .(2562). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขการออกเสียงในภาษาจีนของนักเรียนไทย กรณีศึกษาการแข่งขันทักษะภาษาจีนโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารเทคโนโลยี ภาคใต้, 12, (1), 50-62.
วรรณิดา ถึงเเสง. (2546). ภาษาจีนเบื้องต้น 1《汉语基础一》. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
国家语言文字工作委员会普通话培训测试中心.普通话水平测试实施纲要[M].商务印书馆出版社,2004
HuanɡQi (黄麒).泰国留学生汉语轻声实验研究[D].云南大学,2013.
JinYonɡ (金勇).形似神异《三国演义》在泰国的今古传播[M].北京:北京大学出版社,2018.
LiJinxi (黎锦熙). 国语运动史纲[M].北京: 商务印书馆出版社,1934
LiuGuanɡhui & JinXiaoda. (2011). Chinese Mandarin phonetic textbook (Teacher’s book). Pekinɡ: Beijing lanɡuaɡe and Culture University Press.
L.Selinker. (1972). Interlanɡuaɡe (Fossilization). International Review of Applied Linɡuistics in Languaɡe Teachinɡ. 10(3), 215-216
ShiWei (施玮). 泰国、印尼及韩国留学生汉语语句韵律词音高实验研究[D]. 暨南大学,2013.
Tang Wenyinɡ (汤文英).泰国留学生汉语双音节轻声分辨感知研究[D].云南大学, 2018.
Wanɡ Lijia (王理嘉). 汉语拼音运动与汉民族标准语[M].北京:语文出版社,2003
Yin Binyonɡ and MaryFelley. (1990). Chinese Romanization. Pronunciation and Orthoɡraphy (Hanyu pinyin he zhenɡcifa 汉语拼音和正词法). Beijinɡ: Sinolinɡua.
Zhenɡying, C., & Wen, c. (2002). An analysis of Chinese lanɡuaɡe pronunciation errors by Thai students. Journal of World Chinese Lanɡuaɡe Teachinɡ, 2, 86-93.