การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนนาเดื่อพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22

Main Article Content

กิตติภพ สารโพคา
วันเพ็ญ นันทะศรี
พรเทพ เสถียรนพเก้า

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                 การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน ตามเกณฑ์ 80/80 2) ตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน โดยจำแนกเป็นเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจต่อจิตสาธารณะของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ศึกษาพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนหลังใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาเดื่อพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยหลักสูตรฝึกอบรม มีดัชนีความสอดคล้อง 1.00 และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด แบบทดสอบความรู้มีค่าความยากตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.67 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.60 และ


ค่าความเชื่อมั่น 0.79 แบบประเมินพฤติกรรมจิตสาธารณะมีดัชนีความสอดคล้อง 1.00 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมมีดัชนีความสอดคล้อง 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t


                 ผลการวิจัยพบว่า


  1. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) เนื้อหาสาระ 4) กิจกรรมฝึกอบรม และ 5) การวัดและประเมินผล และหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน มีประสิทธิภาพ 87.56/89.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

  2. ผลการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน เป็นดังนี้

                           2.1 ความรู้ความเข้าใจหลังการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


                           2.2 พฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนหลังใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด


                           2.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะอยู่ในระดับมากที่สุด


คำสำคัญ:  หลักสูตรฝึกอบรม, การพัฒนาหลักสูตร, จิตสาธารณะ

Article Details

How to Cite
สารโพคา ก., นันทะศรี ว., & เสถียรนพเก้า พ. (2021). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนนาเดื่อพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 16(1), 51–68. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/249737
บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรง พิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ. (2551). การถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารของกลุ่มเยาวชนในจิตสำนึกสาธารณะ.
รายงานผลการวิจัยโครงการวิจัยชุด “การสื่อสารจิตสำนึกสาธารณะ”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย์
เกียรติศักดิ์ แสงอรุณ. (2551). แนวทางการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะสำหรับเยาวชนไทย: กรณีศึกษากลุ่มและ
เครือข่ายเยาวชนที่ทำงานด้านจิตสำนึกสาธารณะ.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒน
ศึกษา, คณะครุศาสตร์,จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ฆนัท ธาตุทอง. (2550). เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.
เจษฎา หนูรุ่น. (2551). ปัจจัยจิตลักษณะที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3
โรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชา
การวิจัยและสถิติทางการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เจนต์จุฬา คำดี. (2553). ผลของการใช้โปรแกรมสถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านพระบาทท่าเรือ.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษาและ
การ ให้คำปรึกษา). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ถ่ายเอกสาร.
จิราภรณ์ เกตุแก้ว. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษา คณะครุ
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไชยา ยิ้มวิไล. (2550, 15 มิถุนายน). สำนึกสาธารณะ. มติชนสุดสัปดาห์, หน้า 27.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552 ก). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ: วี พรินท์.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นนทวัฒน์ สุขผล. (2556). เทคนิคการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผล. กรุงเทพฯ: เอกซ์เปอร์เน็ท.
ภัคนุช หมากฝิ่น; และคณะ.(2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.
วารสาร สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
มณฑลีเนื้อทอง. (2556). การหล่อหลอมจิตอาสาผ่านการอบรมขัดเกลาทางสังคมในครอบครัว. วิทยานิพนธ์
ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วารุณี อัศวโภคิน. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของบุคลากรสาย
สนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา ดุษฎีบัณฑิต
(สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัชรียา เขียนนอก. (2554). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาและการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิจิตร อาวะกุล. (2550). การฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์9119 เทนนิคพริ้นติ้ง.
สุจิตรา ธนานันท์. (2552). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็ม เพรส.
สมคิด บางโม. (2553). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ: ทวิทยพัฒน์.
สมชาย สังข์สี. (2550). หลักสูตรการฝึกอบรมการพัฒนามาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียนในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุไรวรรณ คุ้มวงษ์. (2551). จิตสาธารณะของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์
เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมตามโครงการพระราชดำริ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย).
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
Saylor , J.Galen , Alexander , William M. and Lewis , Arthur J. (1981). Curriculum Planing for
Better Teaching and Learning. New York : Holt Rinehart and Winston.
Taba, Hilda. (1962). Curriculum development theory and practice. New York : Brace &
World.
Tyler, Ralph W. (1970). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago :
University of Chicago Press.