การพัฒนาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนบนดินแดนภูเขาไฟบุรีรัมย์ -

Main Article Content

สรรเพชร เพียรจัด
จารินี ม้าแก้ว

บทคัดย่อ

            โครงการเรื่องการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนบนดินแดนภูเขาไฟบุรีรัมย์มีวัตถุประสงค์                  1) การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานอัตลักษณ์ชุมชนเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 3) การพัฒนาช่องทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้นำและอาสาสมัครในชุมชนเจริญสุข ร่วมเป็นคณะทำงานบริหารจัดการ จำนวนทั้งสิ้น 30 คน                             


            ผลการดำเนินโครงการ พบว่า การพัฒนาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนบนดินแดนภูเขาไฟบุรีรัมย์ เป็นวิธีการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เน้นการ มีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผลประเมินเบื้องต้นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลกตามเกณฑ์ (GSTC)  ที่มีค่ามากที่สุดคือ ด้านการจัดการมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 2.28 กระบวนการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนเจริญสุข มุ่งเน้นการเชื่อมร้อยเครือข่าย ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 1) กระบวนการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ ร่วมประเมิน ทำให้ชุมชนเกิดแผนการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน 1 แผนงาน (บันไดผลลัพธ์ 5 ขั้น) ในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชน 2) การบูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรม                    3) อบรมเชิงปฏิบัติการทำให้อาสาสมัครชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติ และมีทักษะในการปฏิบัติในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และนวัตกรรม 4) การจัดการท่องเที่ยวชุมชน ทำให้เกิดอาชีพรองรับโปรแกรม                  การท่องเที่ยว 3 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมศึกษาฐานเรียนรู้ผ้าภูอัคนี โปรแกรมการ การศึกษาธรรมชาติ            ทางเส้นรถอีแต๊ก  และโปรแกรมการศึกษาธรรมชาติเส้นทางเดินเท้า  5) ช่องทางการทดลองตลาด จำนวน        5 ช่องทาง ได้มีการกำหนดทิศทางและมาตรการส่งเสริม และการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว เกิดกลไกการบริหาร  การจัดการท่องเที่ยวชุมชน เกิดแผนบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน มีหน่วยงานภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินการ 11 หน่วยงาน เกิดการกระจายรายได้เฉลี่ยละ 350 บาท ต่อคนต่อวันของการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์
ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) และแผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564). กรุงเทพฯ. 2560
กิ่งแก้ว บัวเพชร (2549). การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน :
กรณีศึกษาชุมชนคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ตุลย์ ทรงไตรย์. (2552). การพัฒนาเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ เขาพระเจดีย์ บริเวณ
พื้นที่ของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ
20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สืบค้น 20 เมษายน 2562, สืบค้นจาก www.nesdb.go.th/
download/document/SAC/NS_Draftplan-Aug2017.pdf
อรวรรณ เกิดจันทร์. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการ
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศป่าชายเลนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยาลัย
เทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ : นนทบุรี