การสานพลังภาคีเครือข่ายสร้างนวัตกรรม พัฒนาการอ่านออกเขียนได้เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาวะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพ ศักยภาพและความต้องการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของโรงเรียน 2) พัฒนาเครื่องมือ คู่มือการจัดการเรียนรู้และประเมินทักษะการอ่านออกเขียนได้ 3) พัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม 4) พัฒนาระบบ กลไกการขับเคลื่อนระดับเครือข่ายโดยโรงเรียนเป้าหมายสามารถยกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่พร้อมขยายผล โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนในจังหวัดน่าน 6 โรงเรียน จังหวัดแพร่ 15 โรงเรียน และจังหวัดอุตรดิตถ์ 6 โรงเรียน รวม 27 โรงเรียน โดยใช้แนวคิดการวิจัยพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาอ่านออกเขียนได้ของโรงเรียน แบบรายงานการผลิต/สร้างสื่อ นวัตกรรม พัฒนาการอ่านออกเขียนได้ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาวะ และแบบประเมินผลการใช้สื่อ นวัตกรรมพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาวะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเบื้องต้น คือ ค่าความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 27 โรงเรียน มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 2,627 คน ก่อนเริ่มโครงการมีนักเรียนอ่านออกเขียนได้ คิดเป็นร้อยละ 78.97 หลังเข้าร่วมโครงการมีนักเรียนอ่านออกเขียนได้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 87.64 ส่วนนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้สูงสุดคือ นักเรียนในจังหวัดอุตรดิตถ์ คิดเป็นร้อยละ 11.64 หลังเข้าร่วมโครงการนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ลดลง เหลือร้อยละ 4.01 2) การสร้างสื่อ นวัตกรรมพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาวะ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายผลิตสื่อประเภทนิทาน/หนังสือเล่มเล็กมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ชุดฝึกการอ่านและแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน ตามลำดับ 3) การใช้สื่อ นวัตกรรมของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายใช้ใน 3 รูปแบบ คือ ใช้ในโรงเรียน ใช้ในครอบครัว และใช้ในชุมชน ส่วนสื่อ นวัตกรรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากนักเรียน ได้แก่ นิทาน/หนังสือเล่มเล็ก รองลงมาได้แก่ หนังสือป๊อปอัพ และสื่อสไลด์ 4) ระบบ กลไก การขับเคลื่อนระดับเครือข่ายในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายมีเครือข่ายหลัก ได้แก่ โรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และมหาวิทยาลัย
คำสำคัญ : สื่อ นวัตกรรม, การอ่านออกเขียนได้, ความรอบรู้สุขภาวะ
Article Details
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
คมกฤษ จันทร์ขจร. (2551). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฐิติยา เนตรวงศ์. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน และทักษะชีวิตด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต สำหรับเด็กปฐมวัย. SDU Res. J. 12(3): Sep-De 20/6.
ทองดี ดวงรัตน์. (2554). การศึกษาความพร้อมในการส่งเสริมการอ่านภาษาไทยของโรงเรียนปริยัติรังสรรค์
จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
เพ็ญนภา คล้ายสิงโต และคณะ. (2560). การพัฒนาการอ่านออกเสียงและการเขียนเชิงวิเคราะห์ภาษาไทย
ผ่านนิทาน ของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน แบ็ตตี้เมน. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา: 24(2) ; กรกฎาคม-ธันวาคม 2560.
ลัดดา เหมทานนท์. (2543). “การเล่านิทาน” ในกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
วิฑูรย์ ทุยาวัด และสุกัญญา เรืองจรูญ. (2560). การพัฒนาการอ่านออกเสียงควบกล้ำภาษาไทยของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามแนวการสอนแบบสมดุลภาษา : วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14(3); กันยายน-ธันวาคม 2560.
สุขเพ็ญ เหรียญเกษมกุล. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงโดยการใช้นิทานของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 2/9 โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม.
สวน เลิศอาวาส. (2542). “เลิศรสบทกวี” ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ (เป็นกรณีพิเศษ)
จัดพิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพนางเช้า เลิศอาวาส. กรุงเทพฯ : เพชรภูมิการพิมพ์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2555. สำนักงานสถิติ
แห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
อารี สันทฉวี. (2550). สอนภาษาไทยแนวสมดุลชั้นอนุบาล 1- ประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ :
สมาคมเพื่อการศึกษาเด็ก.