แนวทางการพัฒนาเพิ่มทักษะองค์ความรู้สู่การเป็นนักพัฒนาอัจฉริยะ (Smart Developer) ของนักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Main Article Content

อุทิศ ทาหอม
สุจิตรา ยางนอก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มทักษะทางการพัฒนาเพิ่มทักษะองค์ความรู้สู่การเป็นนักพัฒนาอัจฉริยะของนักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาศักยภาพให้กับนักศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมให้กลายเป็นนักพัฒนาอัจฉริยะ (Smart Developer) ได้แก่ 1.ต้องทำงานอย่างเป็นระบบ 2. สร้างความเชื่อมั่นให้ชุมชน 3. ทำงานกับพื้นที่ 4. มีบทบาทรับผิดชอบต่อสังคม 5. เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ 6. พัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง 7. มีการศึกษาที่ดีทั้งในระบบและนอกระบบ 8. มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล 9. มีทักษะความฉลาดทางอารมณ์ 10. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 11. ทำงานให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม มีบุคลิกภาพที่ดี 12. ประเมินศักยภาพการทำงานของตนเองอยู่เสมอ 13. มีทักษะความสามารถในการเขียนรายงานที่ดีมีประสิทธิภาพ ทั้ง 13 ทักษะมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาบัณฑิตให้ตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นให้คนไทยมีทักษะความรู้ความสามารถที่รอบด้าน มีวิจารณญาณ ความคิดสร้างสรรค์ แก้ไปปัญหาแบบมีเหตุและผล มีจิตบริการ ตลอดจนทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข

Article Details

How to Cite
ทาหอม อ., & ยางนอก ส. (2019). แนวทางการพัฒนาเพิ่มทักษะองค์ความรู้สู่การเป็นนักพัฒนาอัจฉริยะ (Smart Developer) ของนักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 14(2), 85–98. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/209698
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2559). การเขียนบทความวิจัยเพื่อสังคม.สถาบันคลังสมองของชาติ. กรุงเทพฯ :
สำนักงานกองทุนสนับสุนนการวิจัย (สกว.).
จารุนันท์ อิทธิอาวัชกุล. (2554). บริหารคนเหนือตำรา. กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจ Bizbook.
จุฑาทิพย์ ศิริพงษ์, 2560. ขอนแก่นสมาร์ซิตี้. วารสารเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. 13 (49) ; 29-31.
ณงลักษณ์ จารุวัฒน์ และนุชนาฏ เนตรประเสริญศรี. (2555). 100 ไอเดียการสร้างนวัตกรรม.
กรุงเทพฯ : เนชั่นบุ๊คส์.
ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2554). ชุมชนศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
นพรัตน์มีศรี และอมรินทร์ เทวตา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้และความคิด
สร้างสรรค์ของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal,
Silpakorn University. 11 (2); 21-34.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2560). กลยุทธ์การวางแผนและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.
ปราโมทย์ ธรรมรัตน์. (2562). คลังความรู้โลก จากเอกสารสิทธิบัตรนานาชาติ. จดหมายข่าวประชาคม
วิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). 24 (144) ; 40-45.
พร้อมบุญ พานิชภักดิ์. (2550). พัฒนาในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
จำกัด.
ภัทรพร เล้าวงค์ และคณะ. (2560). ศักยภาพคนไทยเพื่ออนาคตประเทศไทย. วารสารเศรษฐกิจและ
สังคม. 54 (2) ; 21-27.
วิจารณ์ พาณิช. (2556). การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สุนทรชัย ชอบยศ. (2562). การบริหารจัดการเครือข่ายภาคสาธารณะ. ขอนแก่น : ขอนแก่น.
เสรี พงศ์พิศ. (2552). ยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พลังปัญญา.