การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา

Main Article Content

นุชนภางค์ ลิ้มสุชาติ

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายใน ร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์ หลัก 4 ประการ คือ 1) เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา 2) เพื่อออกแบบและสร้างรูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓              (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา ระยะที่ 2 ออกแบบและสร้างรูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา และระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. ผลการสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

  2. PUDTAPOOM MODEL เป็นรูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน ซึ่งมีลักษณะเป็นวงล้อโดยใช้ทุนจิตวิทยาเชิงบวกเป็นหัวใจหลักในกระบวนการของกิจกรรมนิเทศภายใน ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก สำหรับความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา
    1. ผลการประเมินประสิทธิผลรูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

    2. ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ดังนี้
      1. ร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดีขึ้นไป (3) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2561 สูงกว่าปีการศึกษา 2560 ทั้ง 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้

      2. ร้อยละค่าเฉลี่ยผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานผู้เรียนระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านภาษา ด้านการคำนวณ และด้านเหตุผล ในปีการศึกษา 2561 สูงกว่า             ปีการศึกษา 2560

      3. ร้อยละค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในปีการศึกษา 2561 สูงกว่า ปีการศึกษา 2560 แต่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำกว่า



  4. ผลการประเมินรูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลา พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูผู้สอน กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในร่วมกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) จังหวัดยะลาโดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนิดา วิสะมิตนันท์. (2555). กลยุทธ์การบริหารราชการการจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เป็นระบบและเอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สงขลา : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 3.
ทัศณียา บัวภา. (2554). ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธเนศ ขำเกิด. (2556). นิเทศการศึกษา รูปแบบและเทคนิควิธีการนิเทศลักษณะเฉพาะ. วิทยาจารย์, 112(10) : 28 – 30.
ธีระ รุญจำเริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา . พิมพ์ครั้งที่ 4กรุงเทพฯ : แอล.ที.เพรส.
ศิริพัฒน์ หลอดทอง. (2550). การพัฒนาระบบการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านหนองแห้วหนองบัวทอง กิ่งอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาลัยบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
อาภรณ์ รัตน์มณี. (2553). ทำไมระบบการศึกษาไทยจึงพัฒนาช้า . ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557, จาก http://www.mcu.ac.th/ site/articlecontent_desc.php?article_ id=878&articlegroup_id=203
Baughman, J. L. (1974). Beyond Positive Thinking: The Greatest Secret Ever Told. New York :Harper& Row.
English, M. (1992). How to Feel Great About Yourself and Your Life: A Step by Step Guide to Positive Thinking. New York : Amazon.
Luthans, F., Youssef, M.C. and Avolio, J.B. (2007). Positive Psychological Capital: Measurement and Relationship with Performance and Satisfaction. PersonnelPsychology. Vol. 60. pp. 541–572.
Maslows, A.A (1973). Theory of human motivation Psychological Review 50. New York: McGraw-Hill.
Peiffer. (1992). Positive Thinking: Everything You Have Always Known about Positive Thinking but Were Afraid to Put into Practice. Rockport MA: Element.
Scott W. Ventrella. (2002). The Power of Positive Thinking in Business: Ten Traits for Maximum Results. New York: Free Press.