การตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีของแบบวัดระดับความพร้อมในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีของแบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองจากแนวคิดของกูกิลเอลมิโน ซึ่งได้จำแนกความพร้อมในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองไว้จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย 1) การเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้ 2) มโนคติของตนในด้านการเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ 3) ความคิดริเริ่มและอิสระในการเรียนรู้ 4) ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง 5) ความรักในการเรียนรู้ 6) ความคิดสร้างสรรค์ 7) การมองอนาคตในแง่ดี และ 8) ความสามารถในการใช้ทักษะการศึกษาหาความรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 314 คน ของโรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม คัดเลือกจากประชากรด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองตามแนวคิดของกูกิลเอลมิโน จำนวน 58 ข้อคำถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน


            ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความพร้อมในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองของกูกิลเอลมิโนที่นำมาตรวจสอบมีความตรงเชิงทฤษฎีและสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า Chi-Square เท่ากับ 5.20 (df = 10, p-value = 0.88) ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.01 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 1.00 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.99 และพบว่าองค์ประกอบที่มีน้ำหนักความสำคัญสูงสุด 3 อันดับแรกคือ ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง การเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้ และการมองอนาคตในแง่ดี ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ธัญรัตนศรีสกุล เ. (2019). การตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีของแบบวัดระดับความพร้อมในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 14(1), 100–111. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/186833
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2557). การศึกษาคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค : การวิเคราะห์องค์ประกอบและการวิเคราะห์จำแนก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(1): 650-670.
_______. (2558). การใช้สถิติหลายตัวแปรเพื่อการวิจัย: การออกแบบ การวิเคราะห์ และการตีความหมาย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2552). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปรเกรสซิฟ.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทวัน ชุมตันติ. (2551). ระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองของนิสิตชั้นปีที่ 1 วิชาเอกภาษาอังกฤษ. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 5(2): 97-117.
ปนิดา ทวีชาติ, ประเสริฐ เรือนนะการ, และเชาว์ อินใย. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 23(1): 143-153.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปวิชญา ผาสุข, สุวพร เซ็มเฮง, และละเอียด รักษ์เผ่า. (2555). การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาภาคปกติมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17(1): 143-160.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2552). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฮ้า ออฟ เคอร์มิสท์.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. (2559). การตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีสำหรับโมเดลประเมินประสิทธิภาพการจัด การเรียนการสอนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัย สหวิทยาการไทย. 11(4): 27-33.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รังสรรค์ โฉมยา. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 12(3): 309-317.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2552). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แสงเดือน เจริญฉิม, ทัศนีย์ จันติยะ, สาธิต เจริญฉิม, และอุทัยวรรณ สมัครัฐกิจ. (2555). ความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Fisher, M. King, J. and Tague G. (2001). Development of a Self-Directed Learning Readiness Scale for Nursing Education. Nurse Education Today. 21(1): 516-525.
Garrison, D.R. (1997). Self-Directed Learning: Toward a comprehensive model. Adult Education Quarterly. 1(48): 16-18.
Guglielmino, L.M. (1977). Development of the Self-Directed Learning Readiness Scale. Doctoral Dissertation, University of Georgia.
Hair, J.F., Anderson, R.E., Tatham, R.L., & Black, W.C. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. New Jersey. Pearson Education.
Hiemstra, R. (2004). Self-Directed Learning Lexicon. International Journal of Self-Directed Learning. 1(2): 1-6.
Hinkle, D.E, William, W., and Stephen G.J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. New York: Houghton Mifflin.
Inthachot, M. (2017). Self-Directed Learning Readiness for 21st Century Skills of College Students in Thailand. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Humanities and Social Sciences). 12(1): 205-212.
Knowles, M.S. (1975). Self-Directed Learning: A Guide for Learners and Teachers. Chicago: Association Press.
Rogers, C.R. (1969). Freedom to Learn. Ohio: Charles E. Merrill Publishing Company.