นโยบายการบริหารเมืองต่อการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศของโลก ด้วยนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ดร.สุมน ฤทธิกัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จเชิงคุณภาพของการนำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานครไปปฏิบัติ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งผู้วิจัยได้ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 16 ราย จากผู้บริหารและข้าราชการของสำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 ราย และจากประชาชนในกรุงเทพมหานครที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 ราย วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและข้อเท็จจริง  ผลการวิจัยพบว่า 1) กรุงเทพมหานครประสบความสำเร็จในการนำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติในส่วนของการเพิ่มพื้นที่สีเขียว, นโยบายการสร้างระบบการระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วมและนโยบายด้านการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานของกรุงเทพมหานคร  2) กรุงเทพมหานครประสบปัญหาในการนำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติในส่วนของนโยบายของการลดจำนวนขยะ และการกำจัดขยะ การแปรรูปขยะเป็นพลังงานทดแทน และการส่งเสริม การรณรงค์ให้นำขยะมารีไซเคิล นโยบายฟื้นฟูลำน้ำเจ้าพระยาและคูคลองในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 1,165 แห่งให้กลับคืนสู่สภาพที่ดีดังเดิม อีกทั้งประสบปัญหาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยงาน ทำงานไม่ประสานกัน ต่างคนต่างทำ ปัญหาด้านงบประมาณ แก้ไขปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านบุคลากรที่ขาดความรู้ความสามารถในงานที่แท้จริง ปัญหาการรณรงค์ และประชาสัมพันธ์งานด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร  ที่ตรงประเด็น แต่เน้นการประชาสัมพันธ์ไปในเรื่องการทำงานของทีมบริหารกรุงเทพมหานคร และปัญหาในการรณรงค์ให้ใช้พลังงานทางเลือก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร. (2551). รายงานประจำปี 2551 ของกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : หจก.บางกอกบล็อก.
กังสดาล เชาว์วัฒนกุล. (2547). การสร้างความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับความรู้สึกเป็นตราบาปในกลุ่มผู้หญิงที่มีบุตรยาก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมควบคุมมลพิษ. (2560). เกณฑ์คุณภาพน้ำเพื่อคุ้มครองสัตว์น้ำจืด. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.pedgo.th/Inforservg/std/water06.html#sl, สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2560). ก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.dede.go.th/dede/index.php?id=744, สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561.
กรุงเทพมหานคร. (2560). แผนบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2557-2560. กรุงเทพฯ : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล.
กลุ่มกรีนพีช. (2559). ภาวะโลกร้อน. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/91648/91669, สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2560.
__________. (2559). พิธีสารเกียวโต. (ออนไลน์). สืบค้นจากhttp://www.greenpeace.org/seasia/th/campaings/91648/91669, สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2560.
ชูพันธ์ ชมพูจันทร์. (2559). การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับสภาวะโลกร้อน. (ออนไลน์). สืบค้นจากhttp://www.baanjomyut.com/library/global_community/01_5_3html. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2560.
ธนวัฒน์ วัชรถาวรศักดิ์. (2550). โลกร้อนสุดขั้ววิกฤตอนาคตประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : ฐานบุคส์.
ภาควิชาเคมีพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2558). ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มูลนิธิโลกสีเขียว. (2552). รายงานสถานการณ์โลกร้อน : บทสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ดร. ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล. (ออนไลน์). สืบค้นจากhttp://www.greenwor;d.or.th/global/w/1_global_tanavat.html, สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561.
วรเดช จันทรศร. (2550). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กราฟิค ฟอร์แมท จำกัด.
สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร. (2555). หน้าที่และความรับผิดชอบ. (ออนไลน์). สืบค้นจากhttp://dds.bangkok.go.th, สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2561.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (ออนไลน์). สืบค้นจาก. http://service.nso.go.th/nso/data/data23_22.html, สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2561.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. (2560). แผนบริหารราชการกรุงเทพมหานคร 2555-2560. กรุงเทพฯ : บริษัท สินธุครีเอชั่น จำกัด.
สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. (2552). หนังสือรายงานแผนปฏิบัติการว่าด้วยการลดปัญหาภาวะโลกร้อนของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550-2555. กรุงเทพฯ : เอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร.
_________. (2560). แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2560 ของสำนักสิ่งแวดล้อม. กองนโยบายและแผนงาน กรุงเทพมหานคร.
อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2552). วิกฤติการณ์โลกร้อนเมื่ออุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1 องศา. กรุงเทพฯ : นิตยสารสารคดี.
อัศวิน ขวัญเมือง. (2559). นโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกรุงเทพมหานคร.