ผลกระทบของการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร ด้านการบัญชี การเงิน และพัสดุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

อัจฉรียา พัฒนสระคู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงาน แรงจูงใจในการทำงาน และทดสอบผลกระทบของการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีต่อแรงจูงใจในงานของบุคลากรด้านการบัญชี การเงิน และพัสดุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรด้านการบัญชี การเงิน และพัสดุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 133 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรด้านการบัญชี การเงิน และพัสดุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านเกณฑ์การประเมินที่สัมพันธ์กับงาน ด้านความคาดหวังจากการปฏิบัติงาน ด้านการติดต่อสื่อสารที่เปิดเผย และด้านพนักงานเข้าถึงการประเมิน และมีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับแรงจูงใจในงานโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสวัสดิการและประโยชน์ตอบแทน ด้านความกระตือรือร้นในการทำงาน ด้านความรู้สึกมั่นคงในงาน และด้านโอกาสในการพัฒนาตนเอง การวิเคราะห์ทดสอบผลกระทบ พบว่า           1) การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการติดต่อสื่อสารที่เปิดเผย มีผลกระทบเชิงบวกกับแรงจูงใจในการทำงานโดยรวม (b3 = 0.432, P< 0.01) 2) การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านความคาดหวังจากการปฏิบัติงานมีผลกระทบเชิงบวกกับแรงจูงใจในการทำงานโดยรวม (b2 = 0.375, P<0.01) และ 3) การประเมินผล         การปฏิบัติงาน ด้านพนักงานเข้าถึงการประเมิน มีผลกระทบเชิงบวกกับแรงจูงใจในการทำงานโดยรวม (b4 = 0.295, P< 0.01) โดยตัวแปรทั้งหมดมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ ร้อยละ 57.50 (R2 = 0.575)

Article Details

How to Cite
พัฒนสระคู อ. (2019). ผลกระทบของการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร ด้านการบัญชี การเงิน และพัสดุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 14(1), 129–142. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/165850
บท
บทความวิจัย

References

ธงชัย สันติวงษ์. (2539). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ธนวรรธ ตั้งสิททรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ : บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ระเบียบวิธีวิจัย : แนวปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : ยูแอนด์ไอ
อินเตอร์ มีเดีย.
ผุสดี รุมาคม. (2548). การประเมินการปฏิบัติงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
ยศนันท์ อ่อนสันทัด. (2560). ความพึงพอใจและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรม
ระดับ 4 ดาวในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, ปทุมธานี:
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วาสนา จันทร์แสงสว่าง. (2549). ทัศนคติข้าราชการต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษา
สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน. ปัญหาพิเศษ รป.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา
วิภาพร กันพิพิธ. (2555). ผลกระทบของการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีต่อแรงจูงใจในการทำงาน
ของผู้สอบบัญชีในสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาสารคาม
: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุนิสา แพทวีทรัพย์. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษา
โรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ ภ.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร
สุมินทร เบ้าธรรม. (2558). วิจัยทางการบัญชี. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
อมร โททำ. (2551). ผลกระทบของความยุติธรรมในองค์กรที่มีต่อแรงจูงใจในการทำงาน
และเจตนาในการลาออกจากงานของนักบัญชีธุรกิจอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทย.
วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อลงกรณ์ มีสุทธา และสมิต สัชฌุกร. (2553). การประเมินผลการปฏิบัติงาน. พิมพ์ครั้งที่ 17
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
Apak, S., & Gumuş, S. (2015). A research about the effect of the leadership qualities of public
administrators on the motivation of the employees. Procedia-Social and Behavioral
Sciences, 210, 368-377.
Black, K. (2006). Business Statistics For Contemporary Decision Making.
4th ed. USA : John Wiley & Sons.
Gopalan, V., Bakar, J. A. A., Zulkifli, A. N., Alwi, A., & Mat, R. C. (2017, October). A review of the
motivation theories in learning. In AIP Conference Proceedings (Vol. 1891, No. 1, p.
020043). AIP Publishing.
Najafi, L., Hamidi, Y., Ghiasi, M., Shahhoseini, R., & Emami, H. (2011). Performance evaluation
and its effects on employees' job motivation in Hamedan City health
centers. Australian Journal of Basic and Applied Sciences, 5(12), 1761-1765.
Xavier, J. V. (2015). A Study on the Effectiveness of Performance Appraisal System and its
Influence with the Socio-Demographic Factors of the Employees of a Manufacturing
Industry in Tamil Nadu. International Journal of Research in Management &
Business Studies, 2.
Kumar, M. (2017). A Research Paper on “Employee’s Performance Appraisal System and its
Implication for Individual and Organizational Growth. International Journal of
Enhanced Research in Management & Computer Applications, 6(1) 7-13
Gopalan, V., Bakar, J. A. A., Zulkifli, A. N., Alwi, A., & Mat, R. C. (2017, October). A review of the
motivation theories in learning. In AIP Conference Proceedings (Vol. 1891, No. 1, p.
020043). AIP Publishing.